vanillawara
นางสาว วราภรณ์ (บุ๋ม) ด่านศิริ

What Foxconn needs is “FLOW” ~


FLOW : สภาวะการไหลลื่น จิตวิทยาของการสร้างประสบการณ์ทำงานที่ยอดเยี่ยมที่สุด
สวัสดีค่ะ ท่านผู้อ่านและสมาชิก G2K ทุกท่าน

 

                จากเหตุการณ์การฆ่าตัวตายอย่างต่อเนื่องของพนักงานในบริษัทฟ๊อกซ์คอนน์เป็นรายที่ 12 ภายในปี 2553 นี้ อะไรคือ “คำตอบ” สำหรับปรากฏการณ์นี้

 

                บริษัทฟ๊อกซ์คอนน์ ตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้น ประเทศจีน เป็นโรงงานรับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ ให้กับบริษัทชื่อดังอย่าง Apple, Dell, HP, Sony, Nintendo

 

 

              ตามแหล่งข่าวได้ระบุว่า สาเหตุหลักที่นำไปสู่การปลิดชีพของพนักงานภายในบริษัท เนื่องมาจากสภาพแวดล้อมในการทำงานภายในบริษัทก่อให้เกิดสภาวะหดหู่ มีความกดดันในการทำงาน มีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนาน ให้ค่าแรงต่ำ มีความกดขี่พนักงาน อีกทั้งความกดดันในเรื่องการรักษาความลับของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทใหญ่ๆที่ไม่อาจเปิดเผยให้คนภายนอกรู้ได้ ดังนั้น จึงเกิดปรากฏการณ์การฆ่าตัวตายอย่างต่อเนื่อง ทั้งการกระโดดจากตึกหอพัก การพยายามกรีดข้อมือ เป็นต้น

 

          ถึงแม้ว่าอัตราการฆ่าตัวตายของพนักงานภายในโรงงานจะยังน้อยกว่าอัตราการฆ่าตัวตายของประชากรในประเทศจีน แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่น่าสนใจก็คือ ผู้ที่ฆ่าตัวตายส่วนใหญ่อยู่ในวัยรุ่นอายุไม่เกิน 30 ปี มีความรู้ อีกทั้งเป็นผู้ชายแทบทั้งหมด ในขณะที่ข้อมูลของประเทศจีน คือ ผู้ที่ฆ่าตัวตายส่วนใหญ่จะเป็นผู้หญิง อายุค่อนข้างมาก และมีความยากจนอาศัยอยู่ในชนบท

 

          แนวทางการแก้ไขปัจจุบันที่โรงงานพยายามลดปรากฏการณ์นี้คือ การเพิ่มเงินเดือนให้กับคนงานกว่า 30% แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้บริษัทยังได้ทำการจ้างนักจิตวิทยามาให้คำปรึกษาพนักงาน ทำการจ้างพระเข้ามาเทศน์ให้พนักงานฟังภายในโรงงาน การหยุดงานเพื่อจัดกีฬาสีภายในโรงงาน การให้นักดนตรีมาเล่นดนตรีภายในสายการผลิตเพื่อลดความเครียดให้กับพนักงาน การจ้างนักร้อง แดนเซอร์ และนักออกกำลังกายกว่า 2000 คน เพื่อมาเพิ่มการสันทนาการให้พนักงาน นอกจากนี้ยังได้สร้างกรงเหล็กกั้นหน้าต่างหอพัก เพื่อป้องกันไม่ให้พนักงานกระโดดอีกด้วย

 

 

แต่ทำไม การฆ่าตัวตาย ยังคงเกิดขึ้นอยู่เช่นเคย ?

 

          ฉันสามารถวิเคราะห์ปรากฏการณ์นี้โดยใช้ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องโดยตรงดังนี้ 1. ทฤษฎีสภาวะไหลลื่นในการทำงาน (FLOW) โดย Mihaly Csikszentmihalyi 2. ทฤษฎีรูปแบบความคิด (MENTAL MODEL) โดย Peter Senge 3. ทฤษฎีจุดพลิกผัน (TIPPING POINT) โดย Malcolm Gladwell และ 4. ทฤษฎีจิตวิทยาทางบวก (POSITIVE PSYCHOLOGY)

 

         สำหรับวันนี้ เขียนมาค่อนข้างยาวแล้วค่ะ >< ครั้งหน้าฉันจะมาลงบทวิเคราะห์สถานการณ์ตามทฤษฎีดังกล่าวดูค่ะ อย่างไรก็ตาม ท่านผู้อ่านมีวิธีการใดร่วมกันนำเสนอ Foxconn สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้เต็มที่เลยนะคะ ขอบคุณที่ติดตามอ่านค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 386888เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2010 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

     ผมมองด้วยมุมมองของ มาสโลว์   ครับ  ขั้น 3   ขั้น   4

ขั้น  3    ความรู้สึกโดดเดี่ยว แปลกแยก
ขั้น   4    ความสิ้นหวัง

ขอบคุณสำหรับแนวทางที่อาจารย์เสนอแนะค่ะ

เห็นด้วยมากเลยค่ะ ว่าโรงงานยังขาด 2 ขั้นนี้อย่างมาก :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท