โครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและควบคุมป้องกันโรคโดยระบบพี่เลี้ยง( 14) ้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นพี่เลี้ยง( 5 )โรงแรมยูนิแลนด์ กอล์ฟแอนด์คันทรีคลับ จังหวัดนครปฐม การจัดประชุมครั้งสุดท้ายของโครงการ


 24-8-53

 

ดิฉันจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาทีมงานในระบบพี่เลี้ยงตามโครงการสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาและควบคุมป้องกันโรคในระบบพี่เลี้ยง ปี 2553 รุ่นที่ 1 ในระหว่างวันที่  23 – 24  สิงหาคม  2553 ณ โรงแรมยูนิแลนด์ กอล์ฟแอนด์คันทรีคลับ  อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐมซึ่งเป็นการจัดครั้งที่4และเป็นครั้งสุดท้ายของงบประมาณปี53ค่ะ 

 วันจันทร์ที่23สิงหาคม 2553   9.00 พิธีเปิดและบรรยายพิเศษเรื่อง นโยบายการพัฒนาบุคลากรของกรมโดย นายแพทย์ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์  นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรคซึ่งมาแทนท่านรองอธิบดี

ท่านผู้ทรงขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้องที่มาร่วมกันสร้างระบบการพัฒนาคนซึ่งเมื่อก่อนได้แต่คิดแต่ไม่มีการดำเนินการ   พูดถึงนโยบายกรมมี4ข้อหลักคือ  ระดับนาๆชาติ เป็นเลิศ  เชื่อถือได้  ปกป้องคุ้มครองประชาชน   มี3M money มีพอเพียง Management มีปัญหาแต่จัดการได้ Manpower กำลังพัฒนา   ขณะนี้อยู่ระหว่างปรับแผนให้มียุทธศาสตร์เป็นตัวนำโดยให้ทุกๆกิจกรรมจะต้องมีการพัฒนาคนซ่อนอยู่โดยเงินจะซ่อนอยู่ในpackageเดียวโดยให้แผนHRDของกองการเจ้าหน้าที่เป็นแกนกลาง รวบรวมและหาวิธีผลักดัน

 9.30 -12.00 น.การอภิปราย เรื่อง การติดตามผลงานความก้าวหน้าในโครงการน้องเลี้ยง โดยนายแพทย์ศุภมิตร  ชุณห์สุทธิวัฒน์  นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ แพทย์หญิงฉายศรี  สุพรศิลป์ชัย นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ นายแพทย์คำนวณ  อึ้งชูศักดิ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ   แพทย์หญิงอัจฉรา   เชาวะวณิข    ผู้จัดการโครงการ Talent Managementเริ่มนำเสนอโดย

นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม จากสคร.8นครสวรรค์เสนอเรื่อง ความก้าวหน้าโครงการวิจัย สถานการณ์ MDR-TB ในประเทศไทยระหว่างปีงบประมาณ 2550-2552 และความก้าวหน้าการพัฒนาไปสู่ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา    คุณหมอเล่าเรื่องผลการวิจัยไปได้ดี   ตัวเองมีการพัฒนาคือเป็นผู้ร่วมวิจัย  เป็นตัวแทนกรมคร.ไปประชุมWHA  เป็นผู้จัดการและวิทยากรหลักสูตร MIFA  ได้อบรมSRRT  ได้อนุมัติบัตรสาขาระบาด เป็นอาจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัย  ได้อบรมJune courseของสำนักระบาด

พี่เลี้ยงพ.ศุภมิตร ชมว่าได้อะไรมากกว่าที่คาด เพิ่มเติมว่าถ้ามีโอกาสถูกเชิญไปสอนก็อย่าหนีเพราะเป็นโอกาส  ให้สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับมหาวิทยาลัยเหมือนที่CDCที่เชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัย Emory ??ดีมาก

พี่เลี้ยงพ.คำนวณ แนะนำว่าการสร้างexpert ต้องมี5บันไดคือ 1 exposure 2 experience 3 connection ดี 4 expert 5 manage เก่ง   พี่เลี้ยงต้องส่งน้องเลี้ยงเข้าสู่วงโคจรเพื่อเป็นexpert

 นายสีใส ยี่สุ่นแสง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการพิเศษ จากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก นำเสนอเรื่อง ความก้าวหน้าของการศึกษาปัญหาสาธารณสุขเรื่องความทันเวลาของการควบคุมโรคไข้เลือดออกตามมาตรฐานของหน่วยงานระดับปฏิบัติการในพื้นที่ สคร.9 พิษณุโลก    รายงานว่าได้ข้อมูลเยอะ กำลังรายงาน  ได้อบรม June course  ได้นำเสนอโครงการที่หลวงพระบางโดยตัดข้อมูลครึ่งปีส่งเป็นposter  มีคนมาให้คำแนะนำเยอะ  ปัญหาของการเก็บข้อมูลปลายปีซึ่งพื้นที่ส่งบ้างไม่ส่งบ้าง   มีการพัฒนาตัวเองโดยเป็นวิทยากร  มีเครือข่ายวิชาการเยอะขึ้น    อยากของบเดินทางไปปรึกษาอาจารย์ที่เป็นพี่เลี้ยงเพราะไม่ได้ตั้งไว้

พี่เลี้ยงชื่นชมและแนะนำเรื่องการศึกษาเพิ่มเติมเช่นภาษาอังกฤษ   ควรเป็นself learning  ไม่ควรเสียเวลาเดินทางมาเรียนส่วนกลาง   มีหลายwebที่สอนภาาษาอังกฤษ

 นางดารณี จุนเจริญวงศา จากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 3 จังหวัดชลบุรี นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการการพัฒนากรอบการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อ โรคเรื้อรัง แบบครอบคลุมเบ็ดเสร็จ (Comprehensive Survillance) เพื่อสนับสนุนการป้องกันควบคุมโรค ระดับเขต กรณีศึกษา โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจขาดเลือดและหลอดเลือดในสมอง   ขณะนี้ยังดำเนินการไม่เสร็จสมบูรณ์ ระยะแรกเจอปัญหาคือ การเฝ้าระวังมีประเด็นย่อยค่อนข้างกว้าง ข้อมูลหาลำบาก แพทย์หญิงฉายศรีได้แนะนำเทคนิคในการค้นหาข้อมูล ปัญหาที่พบคือ ข้อมูลทีได้มาเป็นภาษาอังกฤษทำให้ใช้เวลาในการศึกษาและไม่ได้ทำงาน NCD การเข้าร่วมโครงการทำให้เกิดการพัฒนา 3 ส่วนคือด้านจิตใจ,ความรู้และทักษะ  ในอนาคตอยากทำโครงการให้เสร็จแล้วต่อยอดเช่นการทดลองใช้งานจริง   การเปลี่ยนแปลงตัวเอง ใจท้อบ้างเพราะทำเรื่องที่ไม่ใช่งานในหน้าที่  อบรมในสำนักระบาด3ครั้ง   ร่วมเก็บข้อมูลกับพี่เลี้ยงทำให้มองภาพออกมากขึ้น  ได้ความรู้มากขึ้น เอาเทคนิคจากเพื่อนเช่นคุณสีใสไปใช้

 ความเห็นจากพี่เลี้ยง ให้กำลังใจและชื่นชมในความพยายามซึ่งคล้ายกับคุณโอภาส เสวิกุลที่เป็นท่านทูตแต่ว่างก็เขียนนิยายทำให้ต้องใช้พลังเป้น2เท่าเนื่องจากไม่ใช่งานประจำของคุณดารณี

คุณหมอศุภมิตรอยากให้เมืองไทยเปิดใจกว้างที่ไม่แบ่งของฉันของเธอเยอะเกินไปทำให้บ้านเมืองไม่เจริญ   คนสมัยใหม่ต้องมีความสามารถหลายด้าน  เราเห็นความเสี่ยงอยู่ข้างหน้า  โชคดีที่มีพี่เลี้ยงที่ดี  งานระบาดสามารถทำจากมุมใหนก็ได้

 แพทย์หญิงอรรถยา ลิ้มวัฒนายิ่งยง จากสำนักงานคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติได้นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการการกำหนดทิศทางของแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างระบบบริหารจัดการวัคซีน แพทย์หญิงอรรถยากล่าวว่า โครงการที่ทำไม่ตรงกับงานหลัก แต่ไม่ได้ต่างกันจนเกินไป  ได้นายแพทย์ศุภมิตรช่วย Guide และได้จากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเช่น แพทย์หญิงฉายศรี ปัญหาคือคนในกรมมีความเข้าในในด้าน Policy แตกต่างกัน การทำโครงการเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาคนให้เรียนรู้ อยากให้มี Netwoking ควรมีเวลาในการแลกเปลี่ยนระหว่างพี่เลี้ยงกับน้องเลี้ยงและในการประชุมแต่ละครั้งอาจให้พี่เลี้ยงมาเล่าเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยในการดำเนินงานสักครึ่งชั่วโมง การแนะนำตัวของน้องเลี้ยงว่ามาจากไหน ทำอะไรเพื่อจะได้สอบถามในเรื่องที่เราสนใจ การประชุมวิชาการต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็น กรมควรเปิดโอกาสให้ ส่วนโครงการ Talent  ควรมี Office ประสานงานและกำหนดเวลาในการประชุมทั้งโครงการเพื่อความสะดวกในการจัดตารางงาน 

ความเห็นพี่เลี้ยง พ.ศุภมิตร  กรมทำนโยบายไม่เป็น  มักจะเป็นการทบทวนคู่มือปฏิบัติงาน  กรมมีแต่แนวทางปฏิบัติโดยทำไม่ถึงยุทธศาตร์ซึ่งต้องมาทำเพิ่มเติม   การไปต่างประเทศได้ประโยชน์เยอะเพราะช่วยกระตุ้น  ขณะนี้ถ้ามีโครงการไปมากกว่า1คน ต้องให้ทางภูมิภาคไปด้วย   พ.จรุง ผอ.สำนักวัคซีนให้staffไปประชุมที่เกาหลี  ไปแล้วน้องได้attitudeดีขึ้นมาก     พ.คำนวณ  IHTP เข้มแข็งเรื่องpolicy    พ.ฉายศรี เราอ่อนด้าน policyช่วงบ่ายเป็นการอภิปรายความก้าวหน้าในโครงการของน้องเลี้ยงต่อ โดยเริ่มจาก

นายนัพวุฒิ ชื่นบาล จากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 กรุงเทพฯ นำเสนอโครงการการประเมินความเสี่ยงจากการใช้ก๊าซแอมโมเนียในอุตสาหกรรมผลิตน้ำแข็งเขตกรุงเทพมหานครว่า ในการดำเนินงานโครงการได้มีการ Observe กับทาง กทม.จะทำงานเสร็จประมาณกันยา   ได้ทราบว่าโรงทำน้ำแข็งเสียงดังมากๆ  แรงงานพม่าสื่อสารลำบาก   เริ่ททำช้าเพราะมีภาระงาน   มีพี่เลี้ยงเยอะดี   

 พี่เลี้ยงดร อรพันธ์ ชมน้องเก่งเป็นtalent  พี่ให้แต่กำลังใจและสอนการวิเคราะห์ข้อมูลนพ.โสภณ อยากให้นำระบาดไปใช้เพราะต่างจากโรคอื่นๆ   CDC มีshort course ทำให้รู้จักผู้เชี่ยวชาญมากขึ้น  เคยเรียน occupational epidermology   พ.ศุภมิตร พ.คำนวณ เอาใจช่วย   ต้องมีskill ในการขจัดความเครียด 

นางสาวจีรวรรณ ชงจังหรีด จากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดสระบุรี นำเสนอผลการดำเนินงานโครงการการสำรวจการใช้สารเคมีและเครื่องพ่นสารเคมีสำหรับควบคุมโรคไข้เลือดออกขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ สคร.ที่ 2 จ.สระบุรี ว่าได้มีการวิเคราะห์และเก็บข้อมูลเรียบร้อยแล้วรอการตรวจสอบแล้วจะตีพิมพ์เป็นรูปเล่มเพื่อแจกให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและทำเป็น R2R ลงวารสารสาธารณสุขซึ่งเป็นเงื่อนไขของ สคร.   ได้การประสานกับท้องถิ่น  รู้จักกับพี่ๆที่มาเรียน  ต้องพัฒนาภาษาอังกฤษ

 พี่เลี้ยงอจวันทนีย์ เป็นตัวอย่างที่ดี  งานก้าวหน้า ค้นหาตัวเองเจอ

พ.ศุภมิตร  งานTMยังไม่เข้างานประจำ   สคร.หลายแห่งจิตใจไม่พร้อมที่จะทำ

เรารับFETPจากต่างประเทศโดยให้กลับไปทำโครงการที่บ้าน  ไทยรับมาเรียน   อาจารย์ตามไปเยี่ยมที่บ้าน    เป็นไปได้ไหมที่เราจะให้พี่เลี้ยงไปเยี่ยมที่บ้าน

จากนั้นเป็นการบรรยายเรื่อง โอกาสและความก้าวหน้าของน้องเลี้ยง โดยนายแพทย์ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ท่านได้ให้แนวคิดจากอธิบดีกรมควบคุมโรค (นายแพทย์มานิต ธีระตันติกานนท์) ว่าคนรุ่นใหม่ต้องทำงานใน Paradigm ใหม่ นักวิชาการรุ่นใหม่ต้องทำได้หลายอย่าง และท่านได้ยกตัวอย่างของการพัฒนาตนเองสู่ระดับหัวหน้าโดยสูตรของนายแพทย์คำนวณ (Building Capacity) ดังนี้

 - Exposer Seeking - Experince Gaining - Connection Forming- Expertise Building  - Managing

กรมยังอ่อนเรื่องmanagement  แต่กรมมีหลายหน่วยงานที่มีอะไรดีๆเยอะเช่นกองกามโรค   บางหน่วยงานกรมมีการทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยเช่นภาคใต้  เชียงใหม่ ขอนแก่น   เราทำเพื่อไม่ให้เป็นกบในกะลา

โอกาสสร้างความก้าวหน้าของน้องเลี้ยง ขณะนี้กรมได้เตรียมการดังนี้

  - ด้านวิชาการ มีทุน กพ. ทุน IHPP ส่งคนไปปีละ 10 ทุน เน้นเรื่อง Policy Process ขณะนี้มีคนน้อยกว่าทุน   โครงการสามารถเรียนถึงปริญญาเอก

     - ด้านการบริหาร ส่งเสริมให้พัฒนาเป็นผู้จัดการโครงการ (Program Manager) 

15.00-17.00 น. เป็นการอภิปรายเรื่อง การวางแผนพัฒนาปรับปรุงทีมพี่เลี้ยงในปี 2554 โดยแบ่งผู้เข้าร่วมประชุมเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มน้องเลี้ยงและกลุ่มพี่เลี้ยง โดยให้เวลา 20 นาทีในการปรึกษาหารือเพื่อนำเสนอความคิดเห็น เมื่อปรึกษากันเสร็จแล้วกลุ่มของน้องเลี้ยงโดยนางสาวจีรวรรณ ชงจังหรีด สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 2 จังหวัดสระบุรี ได้เป็นตัวแทนในการนำเสนอบทบาทของพี่เลี้ยงในฝันมีดังนี้

- มีศักยภาพ (ด้านวิชาการ,ด้านบริหาร,มีความเป็นครู) คือต้องอธิบายได้พร้อมที่จะชี้แนะ

- มีเวลาให้น้อง เต็มใจในการเข้าร่วมโครงการ ไม่คาดหวังกับน้องจนเครียด

- พี่เลี้ยงและผู้บริหารควรใส่ Exposure ให้เหมาะและเข้าใจเรื่องTalentในทิศทางเดียวกัน

บทบาทของโครงการ 

                - เปิดโอกาสให้มีพี่เลี้ยงภายนอก

                - โครงการน่าจะเกิดจากความต้องการของพี่เลี้ยงหรือผุ้บริหารโดยให้น้องเลี้ยงมีส่วนร่วมในการดำเนินการ

                - บทบาทของผู้อำนวยการของน้องเลี้ยง ควรมีหน้าที่ทำอะไร

                - การบริหารงบประมาณควรมีความยืดหยุ่นเช่นมีการสำรองเงินให้ยืมก่อนโครงการอนุมัติ

                - ควรกำหนดการเป็นพี่เลี้ยงเป็นงานพิเศษ ที่จะมีแรงจูงใจ

                - ควรสรรหาผู้ที่จะมาเป็นพี่เลี้ยงก่อน จึงค่อยคัดเลือกน้องเลี้ยง

                - พี่เลี้ยงมีส่วนในการเสนอหลักสูตรเพื่อพัฒนาน้องเลี้ยง

                - มีเวลาให้พี่เลี้ยงและน้องเลี้ยงได้ปรึกษาหารือในการประชุมแต่ละครั้ง

                - มีแรงจูงใจให้น้องเลี้ยง เช่นการเรียนต่อ ความก้าวหน้า เพื่อให้น้องเลี้ยงอยู่กับกรม

 

น้องๆคุยกันไปและพิมพ์กันไปด้วยค่ะ  

คุณจีรวรรณนำเสอค่ะ

 

 

พี่ๆฟังค่ะ

                               

น้องๆ อาจารย์วิทยา และคุณหมอศุภมิตร

                                        

คุณหมอโสภณ  อจ.วันทนีย์ ดร.อรพันธ์  คุณหมอไพโรจน์  ฝั่งตรงข้ามกับน้องเลี้ยง

 

พี่เลี้ยงทำกลุ่มโดยเริ่มจากปัญหาและการแก้ไขค่ะ

                                 

คุณหมอโสภณเป็นคนจดและดร.อรพันธ์นำเสนอค่ะ

ปัญหาพี่เลี้ยง1ขาดshared vision ในหมู่พี่เลี้ยง  แก้ไขโดยแลกเปลี่ยนหลังการประชุมกรมหรือทำตามโอกาส   มอบเป็นภารกิจผู้ทรง(ประเมินPMS ) และการกำหนดบทบาทร่วมกันของพี่เลี้ยง

                  2ผู้บริหารไม่เห็นประโยชน์(ระดับผอ.) แก้โดยสร้างความเข้าใจเช่นนำเสนอbest practice   ตัดสินใจเลือกโครงการร่วมกัน คัดเลือกน้องเลี้ยงร่วมกัน

                  3ทักษะพี่เลี้ยง   แก้โดย ลปรร  ดูgap  เพิ่มพี่เลี้ยงให้หลากหลายเพราะแต่ละคนมีนิสัย ความรู้ความสามารถต่างกัน  เอาส่วนดีมาใช้

                    4Commitment

คุณหมอศุภมิตรกล่าวว่าเป็นเรื่องละเอียดอ่อน   งานนี้พัฒนาพี่จะยากกว่าพัฒนาน้อง  โครงการนี้ถ้าเริ่มโดยไม่เป็นโครงการพิเศษอาจจะดีเพราะควรสร้างความเข้าใจร่วมกัน  ให้หน่วยงานเลือกก็จะแก้ปัญหาของน้องๆได้ 

วันอังคารที่  24  สิงหาคม  2553  09.00 – 12.00 น. บรรยาย เรื่อง เขียนบทความอย่างไรให้ถูกใจและได้ประโยชน์ โดยนายแพทย์วิทยา  สวัสดิวุฒิพงศ์   นายแพทย์เชี่ยวชาญฝ่ายเวชกรรมสังคมโรงพยาบาลแม่สอดจังหวัดตาก

อาจารย์วิทยาเป็นแพทย์ที่ได้รางวัลเกี่ยวกับการวิจัยทางชุมชน  มีผลงานวิจัย60กว่าเรื่องที่ตีพิมพ์ทั้งไทยและต่างประเทศ  เป็นศิษย์เก่าของสำนักระบาด  สอนหลักการเขียน  การใช้ภาษาอังกฤษ  ทำอย่างไรจะได้ตีพิมพ์ในวารสารต่างประเทศ  อาจารย์เน้นต้องหาจุดขายให้เจอเพื่อให้วารสารรับตีพิมพ์   ดิฉันถามอาจารย์เรื่องการฝึกเขียนภาษาอังกฤษ  อาจารย์ใช้วิธีรวบรวมประโยคสวยๆจากMMWRในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องของเรา   มีdictที่หาศัพท์ที่คล้ายๆกัน   พอได้ประโยคสวยๆก็จะเป็นfomatของเราและสามารถใช้ไปได้เรื่อยๆโดยcopyของเก่าที่เราเคยทำไว้    อาจารย์ซักน้องเลี้ยงและให้ข้อแนะนำเยอะ  ดิฉันได้ประโยชน์จากการฟังเรื่องนี้มากๆค่ะ   ตั้งใจจำไปสอนลูกสาวของตัวเองเพราะต้องทำวิจัยเพื่อปรับซีของตัวเอง

 13.00 – 16.30 น.อภิปรายปัญหาทั่วไปและตอบโดยแพทย์หญิงอัจฉรา  เชาวะวณิช     ผู้จัดการโครงการ Talent  Manageme นายสุรพล   สงวนโภคัย ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่   นายแพทย์โสภณ    เอี่ยมศิริถาวร นายแพทย์ชำนาญการพิเศษ

เป็นช่วงบ่ายก่อนกลับที่เรามารวบรวมปัญหา   สรุปสิ่งที่ได้และต้องไปปรับปรุงเพราะผอ.กองการเจ้าหน้าที่มานั่งฟัง    คุณหมอโสภณนำแผนของน้องเลี้ยงรุ่น1ในปีที่2ของการพัฒนาว่ามีอะไรบ้าง   ที่มีปัญหาที่ต้องดูแลคือคุณหมอไพโรจน์อยากไปอบรมshort courseที่อังกฤษที่เราต้องไปดูแลเรื่องงบประมาณว่ามีให้หรือไม่ค่ะ

  

หมายเลขบันทึก: 387794เขียนเมื่อ 24 สิงหาคม 2010 16:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

เสียดายจัง ไม่ทราบว่าคุณหมอมานครปฐม โรงแรมยูนิแลนด์ กอล์ฟแอนด์คันทรีคลับ

ขอบคุณอจ.ขจิตที่มาเยี่ยมค่ะ

ขอโทษที่ไม่ได้ไปเยี่ยมเพราะจำไม่ได้ว่าอจ.อยู่ที่นครปฐมค่ะ

ขอบคุณ คุณหมอที่แวะไปทักทาย หายไปนานจริงๆค่ะ ไม่สบายอยู่เป็นนานเลยค่ะ แต่ทั้งนี้ ทั้งนั้น นะคะ จิตนี่สำคัญจริงๆ ไม่มีแรงใจอยากบันทึก เลยหยุด เสียยังงั้นแหละค่ะ งานวิจัยน่าสนุกนะคะ แต่ดิฉันเขียนรายงานไม่เป็น เพราะต้องทำให้ถูกระเบียบวิธี ถ้าทำงานวิจัยเก่ง ก็เพิ่มวิทยฐานะได้เร็วค่ะ

ช่วงนี้ไปทำนา  ส่งภาพนาข้าว มาให้พักสายตาค่ะ จะคอยอ่านธรรมะจากคุณหมอค่ะ

สวัสดีค่ะ

คุณพี่หมอสบายดีนะคะ  ดูคุณพี่สดชื่นมาก ๆ ค่ะ

บันทึกของคุณพี่หมอ อ่านเข้าใจง่ายค่ะ  ด้วยความระลึกถึงเสมอค่ะ

สวัสดีครูเตือนค่ะ

เวลาป่วยก็จะเห็นความอนิจจังของร่างกายเราค่ะ

ขอให้กายป่วยแต่ใจไม่ป่วยนะคะ และขอให้หายเร็วๆค่ะ

หมอป่วยตลอด2ปีที่ผ่านมา อดทน เข้าใจและยอมรับ ทำให้ยังทำงานอยู่ได้ แต่ก็ลดงานลงเพื่อมาเรียนรู้ที่ตัวเรามากขึ้นค่ะ

ขอบคุณที่มาทักทายค่ะ

สวัสดี ครูคิมค่ะ

ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ

มีเวลาก็ติดตามอ่านงานครูคิมบ้าง ต้องขอชื่นชมที่ทำงานยากๆและต้องใช้กำลังใจ แรงกาย แรงใจเยอะค่ะ

ยินดีที่จะช่วยเหลือเรื่องอื่นๆเพราะเห็นประโยชน์ของการพัฒนาการศึกษาและอยากให้น้องๆในชนบทเรามีโอกาสมากขึ้น

อดทนและเชื่อมั่นในสิ่งที่เราทำนะคะ

ให้กำลังใจเสมอค่ะ

  • ครั้งหน้าคุณหมอมา
  • จะพาไปเลี้ยงสเต็กมหาวิทยาลัย
  • อร่อยมากๆๆๆ

ขอบคุณอาจารย์ขจิตค่ะ

หมอเป็นสใภ้เกษตรนะคะ ( วิศวะชลรุ่น18ค่ะ )

เห็นสเต็กแล้วเสียดายเวลาที่ผ่านไปเพราะลืมนึกถึงอาจารย์จริงๆค่ะ

ผมแอบตามท่านอาจารย์ ขจิต ฝอยทอง มาอย่างเงียบ ๆ ครับ ;)

ขอบคุณที่อจ.Wassawat Deemanที่เข้ามาเยี่ยมอย่างเงียบๆค่ะ

จะหาโอกาสแอบไปเยี่ยมอาจารย์นะคะ

สวัสดีครับอาจารย์หมออัจฉราที่เคารพ

กราบขอบพระคุณอาจารย์มากๆที่กรุณาผมเเละบรรดาTalent มาตลอด

ตลอดเวลาที่ได้ทำงานร่วมกับอาจารย์ผมมีความสุข อบอุ่น เเละสบายใจมากๆเลยครับ

อาจารย์ได้ให้ทั้งความรู้ ทักษะชีวิตเเละเล่าประสบการณ์การทำงานต่างๆ

ผมชอบฟังอาจารย์เล่าเรื่องมากครับ สนุกตื่นเต็นน่าติดตามทุกครั้ง

เเละที่สำคัญเสียดายที่อาจารย์จะไม่ได้มาดูงาน talent ต่อ

เเต่ไม่เป็นไร ผมจะติดตามการโพสต์กระทู้ของอาจารย์เป็นระยะๆนะครับ

หากมีสิ่งใดที่ผมจะรับใช้อาจารย์ได้ ยินดีเสมอครับ

หมอไพโรจน์ สคร.8

ดีใจที่คุณหมอไพโรจน์มาเยี่ยมมากๆค่ะ ปีหน้าพี่คงช่วยงานในลักษณะจิตอาสานะคะเพราะพี่มีงานบางส่วนที่เป็นอุปสรรคทำให้ทำงานให้Talent ไม่ได้เต็มที่ค่ะ กรมคงมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่อง HRD มากขึ้นเพราะหลังจากมีโครงการTM ซึ่งจัดประชุมที่ภูเขางามรีสอร์ทและโรงแรมพักพิงอิงทาง ทำให้เกิดคณะกรรมการ HRD ซึ่งคุณหมอคำนวณเป็นประธานค่ะ             พี่พยายามช่วยกรมเท่าที่ทำได้เพื่อตอบแทนคุณค่ะ

ว่างๆจะไปเยี่ยมที่facebookนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท