คุ้มครองแรงงานชุมพร
สสค.ชุมพร สสค.ชุมพร สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชุมพร สสค.ชุมพร

สิ่งสำคัญ ที่ทุกคนต้องควรทราบและเข้าใจให้ตรงกัน นั่นคือ นิยามของคำว่า “ค้ำยัน”


ค้ำยัน หมายถึง โครงสร้างชั่วคราวที่รองรับ ยึดโยง หรือเสริมความแข็งแรงของโครงสร้าง นั่งร้าน หรือแบบหล่อคอนกรีต ในระหว่างการก่อสร้าง**ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551

ตามนิยามข้างต้น หากมีการนำวัสดุใด ๆ ก็ตามมาประกอบ ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ตามคำนิยาม ย่อมหมายถึง “ค้ำยัน”นั่นเอง ไม่ว่าหน้างานก่อสร้างจะเรียกว่าอย่างไรก็ตาม

ดังนั้น นายจ้างที่มีการจัดทำและใช้ค้ำยันสำหรับงานก่อสร้าง ต้องมีมาตรการเพื่อดูแลความปลอดภัย ในการทำงานให้แก่ลูกจ้าง โดยต้องปฎิบัติ ดังนี้

     1. ค้ำยันที่นำมาใช้ ต้องได้รับการออกแบบและควบคุมการใช้โดยวิศวกร                                                               

     2. วัสดุที่นำมาใช้ทำค้ำยันต้องมีความมั่นคง แข็งแรง ไม่ผุเปื่อย หรือชำรุด โดยต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในกฎหมายความปลอดภัยในการทำงานฉบับดังกล่าว คือ

  • ค้ำยันที่ทำด้วยหล็ก ต้องสามารถรับ นน. ไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของ นน.บรรทุกใช้งาน

  • กรณีค้ำยันทำด้วยวัสดุอื่นที่ไม่ใช่เหล็ก ต้องสามารถรับ นน. ไม่น้อยกว่า 4 เท่าของ นน.บรรทุกใช้งาน

  • กรณีที่มีที่รองรับค้ำยัน ที่รองรับนั้นต้องสามารถรับ นน. ไม่น้อยกว่า 2  เท่า ของ นน.บรรทุกใช้งาน

  • เหล็กที่ใช้ทำค้ำยัน ต้องมีจุดคลาก(yield point) ไม่น้อยกว่า 2.400 kg/ cm ^ 2    และมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 2 เท่า

  • ไม้ที่ใช้ทำค้ำยัน ต้องมีแรงดัดประลัย (ultimate bending stress) ไม่น้อยกว่า 300kg/ cm ^ 2  และมีค่าความปลอดภัยไม่น้อยกว่า 2 เท่า

    3.  การติดตั้งต้องเป็นไปตามแบบที่วิศวกรกำหนด

    4.  ก่อนการใช้งานต้อง ตรวจสอบข้อต่อ และจุดต่อต่าง ๆ    ของค้ำยัน ให้มั่นคงแข็งแรง 

    5. ต้องมีการยึดโยงหรือตรึงค้ำยันไว้กับพื้นดินหรือส่วนของสิ่งก่อสร้างให้มั่นคง

    6. ต้องมีผู้ควบงานทำหน้าที่ตรวจความปลอดภัยในการทำ งานก่อนเทคอนกรีต และขณะเทคอนกรีตทุกขั้นตอน

         7.  กรณีที่มีการเทคอนกรีตเหนือค้ำยันต้องนำข้อแนะนำของ
วสท. เกี่ยวกับการเทคอนกรีตที่ถูกวิธีมาปฏิบัติด้วย 

         8.
ต้องควบคุมไม่ให้บุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปอยู่ใต้
บริเวณที่มีการเทคอนกรีต

     

 
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มงานพัฒนามาตรฐานแรงงาน สำนักความปลอดภัยแรงงาน โทร 0 2448 9128-39 ต่อ 307 และ 308

คำสำคัญ (Tags): #ค้ำยัน
หมายเลขบันทึก: 389333เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2010 09:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2012 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท