บทเรียนจากออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์และสหรัฐอเมริกา


บทเรียนความจริงกับดร.จีระ ทางหนังสือพิมพ์แนวหน้า ฉบับวันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม 2553  หน้า 5

ติดตามข้อมูลย้อนหลังได้ที่

http://www.naewna.com/allnews.asp?ID=97

บทเรียนจากออสเตรเลีย,ฟิลิปปินส์ และสหรัฐอเมริกา

 
งบประมาณแผ่นดินผ่านเรียบร้อยไปแล้ว นักการเมืองโดยเฉพาะฝ่ายค้านใช้โอกาสในการหาเสียงและแสดงจุดยืนของการต่อสู้ โยงไปถึงระหว่างรัฐบาลกับเสื้อแดง แต่นายกฯอภิสิทธิ์ก็อนุญาตให้แสดงเต็มที่ มีการถ่ายทอดออกโทรทัศน์

ที่กลัวกันว่ารัฐบาลจะมีเสียงไม่พอแต่พอลงคะแนน เพราะรัฐบาลชนะแบบขาดลอย ไม่ตื่นเต้นแบบสื่อหลายสำนักพยายามจะเขียนให้เกิดความขัดแย้งก่อนลงคะแนน

สัปดาห์นี้ผมจึงเลือกเหตุการณ์ในต่างประเทศ 3 เรื่องที่อาจจะเป็นบทเรียนที่ดีต่อประเทศไทยของเรา

บทเรียนแรกก็คือ เหตุการณ์เลือกตั้งในออสเตรเลีย มี 2 เรื่องที่ผู้อ่านนำมาเป็นบทเรียนได้

เรื่องแรก คือเรื่องความเป็นผู้นำของนายกฯหญิง Gillard ซึ่งสามารถปลดคุณ Rudd ได้ แต่เอาชนะเลือกตั้งไม่ได้ เพราะชาวออสเตรเลีย ไม่ค่อยจะสบายใจกับการปฏิวัติปลดนาย Rudd และขึ้นมาเป็นนายกฯหญิงคนแรก เพราะถูกมองว่าเป็นการเมืองเพื่ออำนาจไม่ใช่การเมืองเพื่อประโยชน์ของประเทศระยะยาว คะแนนนิยมของคุณ Gillard จึงไม่สูงเท่าที่ควร

ส่วนบทเรียนที่สองของการเมืองออสเตรเลียที่น่าสนใจมาก

ผมเรียกว่า เสียงจำนวนน้อยกลับมีคุณค่า คือมีแค่ 3 เสียงแต่ตั้งรัฐบาลได้ เพราะพรรคใหญ่ 2 พรรคคือ พรรคแรงงานกับพรรคเสรีนิยม ไม่ได้คะแนนเสียงข้างมาก ซึ่งแพ้กันแค่ 1 - 2 คะแนน ดังนั้นเสียงแค่ 3 เสียงที่เป็นนักการเมืองอิสระ ก็จะเป็นจุดหักเห ทำให้ 3 คะแนนพรรคใหญ่สามารถตั้งรัฐบาลได้

แสดงให้เห็นว่าการเมืองก็สามารถเกิดช่องว่าง ทำให้คะแนนแค่ 3 เสียงมีคุณค่าอย่างมหาศาลต่อการเมือง และนโยบายบางอย่างที่ไม่ได้รับความสนใจ กลับได้รับความสนใจมากขึ้น นักการเมืองทั้ง 3 ท่าน คือ

* คุณ Tony Windsor

* คุณ Bob Katter

* คุณ Rob Oakeshott

Bob Katter ,Tony Windsor และ Rob Oakeshott ผู้สมัครอิสระที่เป็นตัวสำคัญ
ในการตั้งรัฐบาล ที่ได้รับเลือกมาจากภาคชนบทตอนเหนือของออสเตรเลีย
โดยการต่อรองกับพรรคใหญ่ทั้ง 2 พรรค เพื่อกำหนดนโยบายตามที่ตัวเองต้องการได้


ตำรวจฟิลิปปินส์บุกชิงตัวประกันในรถบัสซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวชาวฮ่องกง เสียชีวิต 9 คน

เป็นผู้สมัครอิสระได้รับเลือกมาจากภาคชนบทตอนเหนือของออสเตรเลีย ตามปกติไม่มีโอกาสได้เข้าเป็นรัฐบาลและก็ไม่สามารถจะกำหนดนโยบายที่ช่วยคนชนบทในออสเตรเลียได้

แต่ครั้งนี้ ทั้ง 3 ท่าน สามารถต่อรองกับพรรคใหญ่ทั้ง 2 พรรคเพื่อกำหนดนโยบายตามที่ตัวเองต้องการ เพราะถ้า 2 พรรคใหญ่ไม่สนใจนโยบายเหล่านนั้นก็ตั้งรัฐบาลไม่ได้

บทเรียนคืออะไร?

สำหรับประเทศไทย รัฐธรรมนูญปี'40 ต้องการให้การเมืองที่มีเสถียรภาพ จึงให้ สส. ทุกคนสังกัดพรรค ทำให้คุณทักษิณใช้ช่องว่าง รวมพรรคได้ มีเสถียรภาพมากเกินไป ทำให้เกิดปัญหามากมายอย่างที่รู้กัน

ขอฝากไปที่คณะของ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ว่ากฎหมายพรรคการเมืองที่กำลังร่าง ปัจจุบันจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนอย่างไร? แต่ในความเห็นของผมน่าจะพัฒนาให้กลุ่มอาชีพต่างๆ เพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะหมายถึงการสมัครเป็นแบบอิสระก็ได้

อย่างในภาคอีสานหรือภาคเหนือในอดีตยังมีนักการเมืองอิสระซึ่งอาจจะช่วยให้เกิดนโยบายที่ช่วยคนต่างจังหวัดอย่างเป็นธรรม ในระยะยาวก็ไม่ใช่แค่ประชานิยมเท่านั้น เช่น นโยบายสิ่งแวดล้อม นโยบายการศึกษาหรือวิทยาศาสตร์และการเกษตร

ปัจจุบัน คงมีคนดีๆ อยากเป็นนักการเมือง แต่สมัครในนามสมาชิกอิสระ ยังทำไม่ได้

พรรคการเมืองของไทยก็เป็นพรรคเฉพาะกิจนอกจากพรรคประชาธิปัตย์ ไม่มีอุดมการณ์อย่างแท้จริง การสมัครอิสระก็อาจจะเป็นทางออกที่น่าพิจารณา ผมจึงฝากให้ ดร.สมบัติ นำไปพิจารณาดูด้วย แทนที่จะดูเฉพาะแบ่งเขตหรือร่วมเขตเท่านั้น

บทเรียนครั้งนี้ของออสเตรเลีย คนไทยน่าจะนำมาวิเคราะห์ว่า เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างไร?

Barack Obama

Hillary

บทเรียนอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การปฏิรูปประเทศไทย คงจะต้องปฏิรูปพฤติกรรมของนักการเมือง และวิธีการเล่นการเมือง ซึ่งปัจจุบันการเมืองไทย ยังติดอยู่กับเงินและอำนาจ ต่อไปน่าจะเริ่มดูว่ามี ความดีหรือปัญญา ได้บ้าง

หรือถ้าความดีและปัญญาเข้าการเมืองไม่ได้ก็ต้องให้เกิดการเมืองภาคประชาชน ซึ่งพอเพียงหรือเปล่า? ช้าไปหรือเปล่าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เช่น จีนหรือเวียดนาม การเมืองของเขานิ่ง นโยบายชัดเจน ไม่เหมือนไทยการเมืองไม่นิ่งแถมนักการเมืองมองอะไรสั้นๆ เท่านั้น

บทเรียนที่ 2 คือ เหตุการณ์ที่ฟิลิปปินส์ ตำรวจบุกรถบัสเพื่อจะเอาตัวประกันชาวฮ่องกงออกมา ตายไป 9 คน ซึ่งเรื่องนี้ต้องยอมรับว่า

* วิธีการของตำรวจฟิลิปปินส์ อ่อนหัดมากเพราะไม่มีความสามารถในการรักษาชีวิตตัวประกันไว้ได้

* ซึ่งถ้าเรื่องนั้นเกิดขึ้นในเมืองไทย ผมเชื่อว่าตำรวจไทยหรือผู้นำไทย น่าจะแก้ได้ดี และตัวประกันปลอดภัย

บทเรียนครั้งนี้ชี้ว่า การตัดสินใช้ไหวพริบในการแก้ปัญหาเป็นเรื่องสำคัญ ตำรวจไทยทำได้ดีกว่า

แต่ไม่ใช่ตำรวจไทย ทำได้ดีทุกเรื่อง การเป็นตำรวจของไทยยังมีปัญหาในเรื่องค่านิยมของการทำงานเพื่อประชาชนการเป็นที่พึ่งของประชาชน โดยเฉพาะถูกมองว่า ตำรวจมะเขือเทศ ตำรวจรับเงินภาษีของประเทศ แต่ทำงานให้นักการเมืองบางกลุ่ม ขาดอุดมการณ์ ขาดจริยธรรม

แต่ การจัดการตัวประกันให้ปลอดภัย ผมรับประกันได้ว่าตำรวจไทย เหนือกว่าฟิลิปปินส์แน่นอน

ส่วนบทเรียนสุดท้าย ของสหรัฐฯก็คือ บทเรียนจากการทำงานของคุณโอบามา

เวลาผ่านไปเร็วมาก คุณโอบามาขณะนี้ ผ่านการเป็นประธานาธิบดีเกือบ 2 ปีแล้ว ครึ่งทางแล้ว แต่มี 3 เรื่องที่อ่อนแอและล้มเหลวมาก

* อัตราการว่างงานในสหรัฐฯไม่กระเตื้องขึ้น แถมในยุคของโอบามาเพิ่ม จาก 8% เป็น 10%

* ต้องการถอนทหารในอิรักโดยเร็ว ปัญหาความปลอดภัย ความมั่นคงในอิรักก็ยังมีปัญหาอยู่ ไม่แน่ใจว่าเป็นนโยบายที่ถูกต้องหรือเปล่า?

* นโยบายเกี่ยวกับอัฟกานิสถาน ยังวุ่นวายไม่จบ ยังขยายวงทหารของอเมริกันและของ NATO ตายเพิ่มขึ้น จะจบอย่างไร? ไม่มีใครรู้

ทั้ง 3 เรื่องนี้ทำให้คนอเมริกันเริ่มเห็นว่าความเป็นผู้นำของโอบามาเก่งตอน หาเสียง แต่ไม่เก่งตอนนำไปปฏิบัติ คะแนนนิยมตกต่ำมาก

บทเรียน คือจะดูผลงานของใครต้องดูนานๆ

ขอให้คำนึงถึงความยั่งยืน มองความสำเร็จในการเอาชนะอุปสรรคสำคัญมาก

ผมคิดว่าถ้าเหตุการณ์เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ คุณโอบามาก็จะเป็นประธานาธิบดีได้แค่สมัยเดียว

และเผลอๆ รัฐมนตรีต่างประเทศคนปัจจุบันของคุณโอบามาคือ คุณ Hillary นี้แหละ อาจจะย้อนกลับมาเป็นประธานาธิบดีคนต่อไปในอนาคต แต่คงจะเป็นสมัยโน้นไม่ใช่อีก 2 ปี ข้างหน้าเพราะเร็วเกินไป

คอยดูกันต่อไปครับ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
[email protected]
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์0-2273-0181
หมายเลขบันทึก: 389345เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2010 10:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท