" สื่อพื้นบ้าน.....สร้างสุข" ( ตอนที่ 2 )


เชื่อมใจคนสองวัย

สื่อพื้นบ้าน...สร้างสุข  ( ตอนที่   2)

เชื่อมใจคนสองวัย

" เริ่มที่พ่อ  ก่อที่แม่  แก้ที่เยาวชน" เป็นคำพูดที่กลุ่มชมรมคนฮักสุขภาพได้นำมาเป็นหัวข้อของการเริ่มต้นแบ่งปันความสุข  เมื่อมีเด็กๆ  เข้ามาแวะเวียนในชมรมมากขึ้น  เครื่องดนตรีที่มีอยู่ไม่เพียงพอ  คนนั้นเล่นนิด  คนนี้เล่นหน่อยไม่เป็นเพลง  พ่อใหญ่ แม่ใหญ่ ( ผู้สูงอายุ เป็นคำเรียกของคนเมืองแพร่)    จึงคิดว่าจะหาทุนซื้อเครื่องดนตรีได้ที่ไหนบ้าง  ประจวบกับช่วงนั้น  โรงพยาบาลสองกำลังทำโครงการชีววิถีร่วมกับชมรมอยู่  จึงได้มีคำถามฝากมา  และเป็นโอกาสที่ดีที่ สสส.ได้ให้ทุนอุปถัมกับทางมหาวิทยาลัยมหิดลในการทำโครงการสื่อพื้นบ้านเพื่อสุขภาวะเยาวชน ปีที่ 2  แม่ใหญ่ในชมรมร่างโครงการเข้ามา  โรงพยาบาลช่วยสานต่อส่งโครงการ  และได้รับการคัดเลือกเป็น  1  ใน  20  โครงการทั่วประเทศ

นับแต่นั้นมากิจกรรมที่ได้วางแผนงานไว้ก็เริ่มเดินทาง  ทั้งเล่นดนตรี  ร้องเพลงเก่า  ฟ้อน  ซอ  ค่าว  จ้อย  เต้นรำแบบโบราณ  เด็กๆและชมรมผู้สูงอายุจะมาพบกันทุกวันเสาร์  พ่อใหญ่  แม่ใหญ๋จะคอยดูแลลูกหลาน  นับตั้งแต่การไหว้เมื่อมาพบกันทุกครั้ง     โดยเป็นการสอนผ่านการปฏิบัติ  ผู้สูงอายุจะไหว้กันทุกครั้งเมื่อมาพบกัน  เด็กๆเริ่มทำตาม  เครื่งดนตรีมีครูต้องให้ความรพ  การพูดจาต้องรู้จักคำว่าพี่ น้อง  การพูดจาต้องสุภาพห้ามตะโกนเสียงดัง  มีน้ำใจต่อกัน  แบ่งกันเล่น  แบ่งกันเรียน  ช่วยกันเก็บ  ดูแลผู้สูงอายุ  และต้องช่วยกันทำงาน

แม่ใหญ่จะคอยดูแล  อาหารการกิน  ขนม ผลไม้ ให้ลูกหลานที่มาเรียนพร้อมสอนร้อง สอนรำ  พ่อใหญ่สอนเล่นดนตรี  สอนการซ่อมแซมรักษา  บอกเล่าความเป็นมาในประวัติสื่อพื้นบ้านแต่ละชนิด  ทุกเรื่องราวมีการเติบโตขึ้นที่ละน้อย  ทีละน้อย  พร้อมๆกับความสามารถของเด็กๆในการบรรเลงเพลงผ่านสื่อพื้นแต่ละชนิด  ความรัก  ความห่วงในที่มีต่อกันระหว่างผู้สูงวัยและเด็กค่อยๆเบ่งบานออกมาวันแล้ววันเล่า 

                   

                   

                          

" แต่ก่อนเป็นห่วงลูกสาว  บอกว่าจะไปเรียนพิเศษที่ไหนได้ไปเที่ยวกับเพื่อน  ตอนนี้ไม่ห่วงแล้วรู้ว่ามาอยู่กันที่วัดกับพ่อใหญ่  แม่ใหญ่" 

" แต่ก่อนดื้อ  บอกอะไรไม่ค่อยฟัง เดี๋ยวนี้ว่าง่ายขึ้น ตกเย็นก็ไม่ค่อยออกไปเที่ยวเล่นซึงที่บ้านให้ฟัง" 

 " ตอนนี้แม่ใหญ่ไปตลาด  ละอ่อน (เด็กๆ)มาสวัสดีกัน ดีใจที่สุด "

" แต่ก่อนเหงา  ไม่รู้จะทำอะไร เดี๋ยวนี้รอให้ถึงวันเสาร์จะได้ไปสอนละอ่อนเล่นดนตรี"

" แม่เคยเป็นโรคซึมเศร้า  ต้องไปเอายาที่โรงบาลมากินตลอด  ตอนนี้ไม่ต้องกินแล้ว" 

" แต่ก่อนปวดเข่าเดินไม่ค่อยได้ ได้มาสอนเด้กฟ้อน แข้งขาที่ปวดหายปลิดเลย"

"พ่อใหญ่  แม่ใหญ่ไปไหนกันมาครับ"

" วันนี้หนูอยากินข้าวหมูแดง  ทำให้กินหน่อยนะคะ "

ช่องว่างระหว่างคนสองวัยไร้รอยต่อแล้วในชุมชนนี้

 

ติดตามตอนที่  3  ต่อไป                            พัชรินทร์   เวียงทอง / sha-song

 

หมายเลขบันทึก: 389756เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2010 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับ

แวะมาชมความงดงามของสื่อพื้นบ้านครับ

ผมเคยแวะเวียนไป จ.แพร่ อยู่เรื่อย ๆ ครับ

มีมิตรสหายที่นั่นเยอะพอสมควรครับ

พ่ออุ๊ยแม่ใหญ่มีผู้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมก็หมดห่วงแม้...จากโลกนี้ไป

                                   

ป้าไพก็ร่วมเป็นสมาชิกสื่อพื้นบ้านด้วยเหมือนกัน

อ่านแล้วประทับใจอยากให้มีบรรยากาศอย่างนี้ทุกชุมชน

เป็นเรื่องราวที่ดีมากในสังคมปัจจุบัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท