อิสลามกับดาราศาสตร์ : เราจะรายอวันไหนดี ?


ตำแหน่งของจันทร์เสี้ยวเราสามารถคำนวณหาล่วงหน้าได้ แต่จะกำหนดล่วงหน้าไม่ได้ เพราะท่านนบีบอกให้ดู

ก่อนอื่นขอทำความเข้าใจคำว่า “รายอ” ก่อน คำๆนี้ถ้าเป็นคนไทยมลายูทางภาคใต้จะเข้าใจในความหมายของมันดี แต่คนภาคใต้ตอนบนหรือคนภาคอื่นบางคนอาจจะเข้าใจ บางคนอาจจะไม่รู้ว่ามันคืออะไร แม้กระทั้งคนๆนั้นเป็นคนมุสลิมเองก็ตาม

คำว่ารายอ เป็นคำมลายู มีความหมาย(ตามที่ผมเข้าใจจากประสบการณ์) คือ ใหญ่ มากหรือพลุกพล่าน เช่น ถนนสาธารณะที่มีผู้ใช้เป็นประจำอย่างพลุกพล่านจะเรียกถนนนั้นว่า جالن راي (ญาลันรายอ) มีคำๆหนึ่งเป็นชื่อดอกไม้ประจำชาติของประเทศมาเลเซีย คือ บูงอรายอ หมายถึงดอกชบา ส่วนจะมีความหมายว่าทีเรียกว่ารายอเพราะลักษณะการแผ่ขยายใหญ่ของมันหรือเปล่านั้น อันนี้ผมไม่ได้ศึกษา(ถ้าเปิดดูในพจนานุกรมภาษามลายูแล้วคำว่า รายอ ให้ความหมายว่า ไหญ่ Raya : Besar)

แต่รายอที่ผมยกในหัวข้อนี้ หมายถึง วัน มุสลิมทางใต้จะเรียกว่า ฮารีรายอ هاري راي คือวันเฉลิมฉลองของมุสลิม บ้างก็แปลว่าตรุษ บ้างใช้ทับศัพท์จากคำศัพท์ที่บันทึกไว้ในบทบัญญัติศาสนา คือ อีด หรือ อี๊ด (จะสะกดยังไงก็ออกเสียงไม่ตรงกับภาษาดั้งเดิมของเขา) เขียนด้วยภาษาอาหรับ عيد มาจากรากศัพท์ عاد يعود  แปลว่า กลับ นักวิชาการบางคนให้ความหมายว่า วันที่หวนกลับมาอีกในแต่ละปี

รายงานจากอะนัซ-เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ- ว่า ท่านเราะซูลุลลอฮฺ-ศ็อลลอลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม- ได้เดินทางมาถึงเมืองมะดีนะฮฺ พวกคนมะดีนะฮฺได้มีการละเล่นเฉลิมฉลองกันในสองวัน ท่านก็ถามว่า مَا هَذَانِ الْيَوْمَانِ (นี่สองวันอะไร) พวกเขาก็ตอบว่า “เป็นสองวันที่เราละเล่นกันในสมัยก่อนที่อิสลามจะเข้ามา” ท่านเราะซูลุลลอฮฺ-ศ็อลฯ- ก็ตอบว่า

إِنَّ اللَّهَ قَدْ أَبْدَلَكُمْ بِهِمَا خَيْرًا مِنْهُمَا يَوْمَ الْأَضْحَى وَيَوْمَ الْفِطْرِ

“อัลลอฮฺได้เปลี่ยนสองวันนี้ที่ดีกว่าแก่พวกเจ้า คือ วันอีดอัฎหา และวันอีดฟิฏรฺ”

(บันทึกโดย อะบูดะวูด หะดีษที่ 1134 อัลบานีได้วิเคราะห์แล้วว่าเป็นหะดีษเศาะหีห)

จากหะดีษนี้ทำให้เราเข้าใจได้ว่า ก่อนหน้าที่อิสลามจะเข้ามาในโลกอาหรับนั้น การเฉลิมฉลองด้วยการละเล่นอย่างสนุกสนานนั้นมีอยู่แล้ว และหลังจากอิสลามเข้ามา อิสลามก็ได้กำหนดวันที่ยิ่งใหญ่ที่หวนกลับมาทุกปีนั้นมีอยู่ 2 วัน(เท่านั้น) คือวันอีดอัฎหาและวันอีดฟิฏรฺ

คำถามที่เกิดกับเราต่อไปนี้คือ วันอีดหรือวันที่ยิ่งใหญ่ทั้งสองนั้นเมื่อไร ตรงกับปฏิทินปัจจุบันวันที่เท่าไร ?

  1. วันอีดอัฎหา ในภาษามลายูถิ่นไทยใต้ว่า รายอฮัจญี อยู่ในช่วงการปฏิบัติศาสนกิจของมุสลิมทั่วโลกที่ไปปฏิบัติ ณ เมืองมักกะฮฺ จะตรงกับวันที่ 10 เดือนซูลหิจญะฮฺ ของทุกปี
  2. วันอีดฟิฏรฺ ทางใต้ว่า รายอปอซอ หมายถึงวันเฉลิมฉลองในความสำเร็จที่ได้ถือศีลอดมาตลอดทั้งเดือน นั้นหมายถึงจะเป็นวันที่ 1 ของเดือนเชาวาล คือเดือนที่ถัดจากเดือนเราะมะฎอนที่ต้องถือศีลอดมาทั้งเดือน

ทั้งสองวันจะอ้างวันที่ของเดือนอาหรับ และเดือนอาหรับนี้จะเป็นเดือนทางจันทรคติ จะเริ่มนับวันที่หนึ่งของเดือนคือวันขึ้นหนึ่งค่ำของเดือนนั้น เช่นเดือนเราะมะฎอนจะเริ่มนับวันขึ้นหนึ่งค่ำของเดือนและจะไปสิ้นสุดเมื่อขึ้นค่ำของเดือนถัดไปปรากฏขึ้น

รายงานจาก อะบูฮุร็อยเราะฮฺ ว่า ท่านนบี-ศ็อลฯ- กล่าวว่า ..

" صُومُوا  لِرُؤْيَتِهِ وَأَفْطِرُوا لِرُؤْيَتِهِ فَإِنْ غُمِّيَ عَلَيْكُمْ فَعُدُّوا ثَلاَثِينَ يَوْمًا "

“พวกเจ้าจงถือศีลอดเมื่อเห็นดวงจันทร์ และละศีลอดเมื่อเห็นดวงจันทร์ แต่ถ้าว่าถูกบัง(ด้วยเมฆหมอก) ก็จงนับให้ครบ 30 วัน”  
(บันทึกโดย อัลบุคอรียฺ มุสลิม อันนะซาอี และอัตติรมีซี) 

 จากหะดีษนี้ ซึ่งเป็นหะดีษเศาะหีหฺ(ผู้รายงานตั้งแต่ผู้บันทึกจนถึงท่านนบี-ศ็อลฯ- เป็นผู้ซื่อสัตย์ มีความน่าเชื่อถือ มุสลิมทุกคนจะต้องเชื่อและปฏิบัติตาม) เป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ในการกำหนดวันใหม่ของเดือนใหม่เพื่อถือศีลอดนั้นต้องเริ่มต้นด้วยการดูจันทร์เสี้ยว(หิลาล) และเช่นกันเมื่อต้องการเลิกการถถือศีลอด(เริ่มเข้าเดือนถัดไป)ก็ต้องดูจันทร์เสี้ยว

 

จันทร์เสี้ยวหรือหิลาล(هلال) เกิดขึ้น นั้นหมายถึงวันแรกของเดือนใหม่ได้เกิดขึ้นแล้ว และหิลาลจะเกิดขึ้นนั้นต้อนผ่านการเกิดจันทร์ดับหรือ New Moon (اجتماع)ก่อน

New Moon หรือจันทร์ดับ เป็นตำแหน่งที่ดวงจันทร์อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ หรือดวงจันทร์อยู่หน้าดวงอาทิตย์นั่นเอง ในวันนี้ผู้สังเกตที่อยู่ด้านมืดหรือด้านกลางคืน และด้านกลางวันบนโลกจะมองไม่เห็นดวงจันทร์ เราจึงเรียกว่าคืนเดือนมืด หรือ จันทร์ดับ

 

อัลลอฮฺได้ตรัสในซูเราะฮฺ ยาซีน อายะฮฺที่ 38-39 ว่า

وَالشَّمْسُ تَجْرِي لِمُسْتَقَرٍّ لَّهَا ذَلِكَ تَقْدِيرُ الْعَزِيزِ الْعَلِيمِ

وَالْقَمَرَ قَدَّرْنَاهُ مَنَازِلَ حَتَّى عَادَ كَالْعُرْجُونِ الْقَدِيمِ

[ يس : 39-38 ]

ความว่า “และดวงอาทิตย์โคจรตามวิถีของมัน นั่นคือ การกำหนดของพระผู้ทรงอำนาจ ผู้ทรงรอบรู้ และดวงจันทร์นั้น เราได้กำหนดให้มันโคจรตามตำแหน่ง จนกระทั่งมันได้กลายมาเป็นเช่นกิ่งอินทผลัมแห้ง”

จากอายะหฺนี้ทำให้เราทราบว่าการเดินทางของดวงอาทิตย์นั้นมีแนวทางของมันที่ชัดเจน นั้นหมายถึงมีแนวทางที่มั่นคงชัดเจนและด้วยความเร็วที่คงที่ชัดเจน มนุษย์ที่อัลลอฮฺมอบความเฉลี่ยวฉลาดแก่เขา เขาสามารถที่จะคำนวณได้ว่าเวลาไหนตำแหน่งของดวงจันทร์ควรจะอยู่ ณ ตำแหน่งใด เช่นกันตำแหน่งของจันทร์เสี้ยววันแรกเริ่มนั้นควรจะอยู่ตรงไหน

สำหรับจันทร์เสี้ยวของวันแรกของเดือนเราะมะฎอนนั้นผมได้เขียนแล้วในบันทึกก่อนหน้านี้ ในบันทึกนี้ผมขอพูดถึงจันทร์เสี้ยวที่จะเกิดขึ้นและจะนับเป็นวันแรกของเดือนเชาววาลที่นับเป็นวันรายอปอซอหรือวันอีดฟิฏรฺของปีนี้

เมือง

اجتماع

ดวงอาทิตย์ตกดิน ดวงจันทร์ตกดิน อายุจันทร์ใหม่ จันทร์ค้างฟ้า(นาที) โอกาสเห็นหิลาล
วันที่ 8 กันยายน 2553

ยะหา

17.30 18.18 18.06 0.48 -0.12 X
การาชี 15.30 18.43 18.29 2.48 -0.14 X
มักกะฮฺ 13.30 18.30 18.21 5.01 -0.09 X
ไคโร 12.30 18.09 17.56 5.48 -13.09 X
เคปเทาวน์ 12.30 18.33 18.50 6.05 0.17 X
ทริโปลี 12.30 19.23 19.10 6.54 -13.01 X
ลอนดอน 10.30 18.31 18.03 8.02 -28.26 X
แมกซิโกซิตี 4.30 18.45 18.53 13.48 8.22 X
             
วันที่ 9 กันยายน 2553            
โตเกียว 19.30 17.57 18.05 8.08 22.28 X
บรูไน 18.30 18.23 19.01 23.48 38.04 /
ยะหา 17.30 18.17 18.56 24.48 38.5  /

จากตารางที่ผมได้ค้นคว้ามาและได้นำเสนอมาข้างบนนี้ ทำให้เราพอที่จะคาดเดาได้ว่า วันรายอปอซอของบ้านเรา(ประเทศไทยและภูมิภาค) จะต้องเป็นวันศุกร์ที่ 10 กันยายน 2553 ไม่ว่าคนๆนั้นจะเริ่มถือศีลอดตามประเทศไดก็ตาม 

จากกราฟนี้จะเห็นได้ว่าตอนค่ำของวันที่ 8 กันยายน แม้แต่ทวีปอเมริกาใต้ก็ไม่มีโอกาสที่จะเห็นหิลาลได้ เว้นแต่ทางใต้สุดของทวีปเป็นเพียงพื้นที่เล็กๆ เท่านั้นที่มีโอกาสเห็น

 

ส่วนในตอนค่ำของวันที่ 9 นั้น ประเทศไทยและประเทศในอาเซียน มีโอกาสเห็ สำหรับญี่ปุ่น อังกฤษ(รวมถึงยุโรปทั้งหมด) และแคนาดา ก็ยังไม่มีโอกาสมองเห็น (คงต้องถือศีลอดให้ครบ 30 วันตามที่หะดีษได้บ่งบอกไว้)

หมายเลขบันทึก: 390899เขียนเมื่อ 4 กันยายน 2010 22:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อินชาอัลลอฮฺ ปีนี้ขอดุอาร์ให้ออกอีดพร้อมกัน เพื่อเป็นหนึ่งเดี่ยว

ขอบคุณครับคุณครู...เป็นบทความที่ดีครับ อือตอนนี้ผมกำลังรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับการนับเดือนตามดวงจันทร์ และก็ทฤษฏีการเกิดน้ำขึ้นน้ำลง อันเกิดจากดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ครับ ยังไงอาจารย์ช่วยอธิบายหน่อยได้ไหมครับเรื่องการเกิดน้ำขึ้นน้ำลง และเราสามารถคำนวณมันได้ไหม...

มีคนเคยบอกผมว่า บ้านเราสอนเรื่องการเกิดน้ำขึ้นน้ำลงไม่ละเอียดชัดเจน หรือรู้อย่างกระจ่างเกี่ยวกับมัน

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท