ข้อมูลตำบลบ้านป่า


ข้อมูลตำบล

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญของตำบลบ้านป่า

 

1.       สภาพทั่วไป 

ประวัติความเป็นมา

ตำบลบ้านป่าเป็นตำบลหนึ่งของอำเภอแก่งคอย ในสมัยก่อนยังไม่มีตำบลแต่มีประชาชนซึ่งส่วนมากก็เหมือนกับประชาชนของที่อื่นๆ ในจังหวัดสระบุรี คือ อพยพมาจากเวียงจันทร์และหลวงพระบางในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ และเมื่อประมาณ พ.ศ.2404 ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงมีพระราชดำริให้พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯให้จัดหาก่อตั้งเมืองหลวงสำรอง โดยเพื่อหาเหตุผลทางยุทธศาสตร์และได้เลือกมาก่อสร้างพระบรมราชวังสีทา (ปัจจุบัน คือตำบลสองคอน) และบริเวณเขาคอกเป็นที่ฝึกพลราบและพลช้างรบ (ปัจจุบันอยู่ในตำบลท่าคล้อ)

                ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2408 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งทรงเป็นผู้ให้สร้างพระบรมราชวังสีทาได้เสด็จสวรรคตลงทำให้พระราชวังถูกยุบลงในเวลาต่อมา คือปี พ.ศ.2423 ประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณดังกล่าวได้อพยพแยกย้ายกันออกมาตั้งบ้านเรือนทำมาหากินอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก ในบริเวณตำบลบ้านป่าปัจจุบันก็มีประชาชนตั้งบ้านเรือนกันอยู่เป็นกลุ่มเล็กๆ โดยประชาชนที่อาศัยอยู่ทุกคนนับถือศาสนาพุทธ เมื่ออพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่ก็จะมาสร้างวัด อารามขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมของผู้คนและให้ทุกคนได้ไปร่วมกันในเทศกาล และวันสำคัญต่างๆ ทางศาสนา เช่น วัดบ้านป่าเหนือ (หมู่ที่ 3) ปัจจุบันยังปรากฏซากและโบสถ์เก่าเหลือให้เห็นอยู่ในปัจจุบันในบริเวณพื้นที่ดังกล่าวของหมู่บ้าน ส่วนการปกครองขึ้นกับตำบลของขวาง (ปัจจุบัน คือตำบลตาลเดี่ยว)

                ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯโปรดให้มีการจัดระเบียบการปกครองท้องที่ทั่วราชอาณาจักไทย โดยได้ออกพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ ร.ศ.116 (พ.ศ.2440) อำเภอแก่งคอยได้ยกฐานะเป็นอำเภอและมีตำบล หมู่บ้าน ตำบลบ้านป่า ได้ตั้งเป็นตำบลโดยมีนายสมบูรณ์   ไกรศาสตร์ เป็นกำนันคนแรกของตำบลบ้านป่าอยู่ที่หมู่ที่ 3 (เป็นรุ่นปู่ของปู่ผู้ใหญ่อำนาจ   ไกรศาสตร์) ในสมัยนั้นตำบลบ้านป่าแบ่งการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน แต่ปัจจุบันประชากรมีมากขึ้นจึงแบ่งการปกครองออกเป็น 11 หมู่บ้าน มีกำนันสืบทอดกันมา 10 ท่าน คือ

  1. นายสมบูรณ์                  ไกรศาสตร์            (หมู่ที่ 3)
  2. นายน้อย                        จักรพงศ์                (หมู่ที่ 9)
  3. นายเล็ก                          จิตรสุด                   (หมู่ที่ 8)
  4. นายสมบูรณ์                  พุดซ้อน                 (หมู่ที่ 8)
  5. นายริ้ว                            ขุนวิแจ้ง                (หมู่ที่ 8)
  6. นายศิริ                           สุระมานนนท์      (หมู่ที่ 9)                พ.ศ.2485-2515
  7. นายปิยะ                        ศิริมา                      (หมู่ที่ 8)                พ.ศ.2515-2530
  8. นายวิชัย                         ศิริมา                      (หมู่ที่ 8)                พ.ศ.2530-2540
  9. นายสุรทิน                     ต่อศักดิ์                   (หมู่ที่ 9)                พ.ศ.2540-2546
  10. นายชาลี                         มีชาติ                      (หมู่ที่ 2)                พ.ศ.2546-ปัจจุบัน

 

ที่ตั้งภูมิประเทศ

-          ทิศเหนือ                        เป็นที่ลุ่มสลับกับภูเขาหินปูน และเป็นที่ตั้งของบริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด

-          ทิศใต้                             เป็นที่ราบลุ่ม ลักษณะดินร่วนซุยเหมาะแก่การเพาะปลูก มีการปลูกพืชเพื่อ

จำหน่ายเช่นข้าวโพด         

-          ทิศตะวันออก               เป็นที่ราบสูงติดกับภูเขา ลักษณะของดินเป็นดินเหนียวผสมดินแดง และดิน

ลูกรังมีสภาพเป็นกรดไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก บางพื้นที่มีการเลี้ยงสัตว์

-          ทิศตะวันตก                  เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำป่าสัก ลักษณะดินร่วนซุย มีคุณภาพสูงเหมาะแก่การ

เพาะปลูกมีความชุมชื้นตลอดปี       

 

เนื้อที่ 

                ตำบลบ้านป่า มีพื้นที่ประมาณ 29 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 18,633.50 ไร่

 

อาณาเขตตำบล :

-          ทิศเหนือ                        ติดต่อกับ                ตำบลท่าคล้อ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

-          ทิศใต้                             ติดต่อกับ                ตำบลตาลเดี่ยว อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

-          ทิศตะวันออก               ติดต่อกับ                เทศบาลตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

-          ทิศตะวันตก                  ติดต่อกับ                เทศบาลเมืองแก่งคอย , ตำบลสองคอน ,ตำบลบ้านธาตุ ,

ตำบลท่าตูม อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

 

จำนวนหมู่บ้าน

จำนวนหมู่บ้านมี  11  หมู่  ได้แก่

หมู่ที่  1                   บ้านวังกวาง                         

หมู่ที่  2                   บ้านปางโก

หมู่ที่  3                   บ้านป่าเหนือ

หมู่ที่  4                   บ้านป่าใต้

หมู่ที่  5                   บ้านช่องเหนือ

หมู่ที่  6                   บ้านหนองมะค่า

หมู่ที่  7                   บ้านช่องเหนือ (2)

หมู่ที่  8                   บ้านช่องใต้

หมู่ที่  9                   บ้านแก่งคอยเหนือ

หมู่ที่  10                บ้านป่าเกษม

หมู่ที่  11                บ้านหัวนาเริง 

 

 

 

 

 

 

 

 

ท้องถิ่นในตำบล 

-          จำนวนเทศบาล                            -              แห่ง

-          จำนวนสุขาภิบาล                        -              แห่ง 

 

ประชากร 

                - จำนวนครัวเรือน               จำนวน                   3,849      ครัวเรือน

                - ประชากร                           จำนวน                   9,368      คน

                                                แยกเป็น                 ชาย         4,609      คน

                                                                                หญิง       4,759      คน

                - จำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง

                                เป็นบุคคลที่มีสิทธิ์เลือกตั้งอายุ 15 ปี   7,255  คน           ชาย   3,534   คน  หญิง   3,721   คน

                                เป็นบุคคลที่มีสิทธิ์เลือกตั้งอายุ 18 ปี   6,760  คน           ชาย   3,296   คน  หญิง   3,464   คน

                                เป็นบุคคลที่มีสิทธิ์เลือกตั้งอายุ 20 ปี   6,445  คน           ชาย   3,115   คน  หญิง   3,310   คน

ความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ย 323 คน/ตารางกิโลเมตร

 

  1. 2.       โครงสร้างพื้นฐานของตำบลบ้านป่า 

                2.1  ด้านคมนาคม

                มีทางหลวงแผ่นดินผ่าน 3 สาย คือ

                                - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ)

                                - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3118 เชื่อม ตำบลบ้านป่า กับตำบลตาลเดี่ยว

                                - ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3224 เชื่อมอำเภอแก่งคอย กับตำบลแสลงพัน (อำเภอวังม่วง)

                มีทางรถไฟ 2 สายผ่าน คือ

  1. สายแก่งคอย – อุบลราชธานี
  2. สายแก่งคอย – หนองคาย

                2.2  ด้านไฟฟ้า แสงสว่าง

                                มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน แต่ยังไม่ครบทุกครัวเรือน ครัวเรือนที่มีไฟฟ้าใช้คิดเป็นร้อยละ 99 ครัวเรือน ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้คิดเป็นร้อยละ 1 เนื่องจากบ้านเรือนอยู่ห่างจากชุมชน 

                2.3  แหล่งน้ำธรรมชาติ

                                -  มีลำน้ำ ลำห้วย                  3              แห่ง

                2.4 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น

                                - ประปาหมู่บ้าน                  5              แห่ง

                                - บ่อน้ำตื้น                            10           แห่ง

                                - บ่อบาดาล                           10           แห่ง

                น้ำอุปโภคบริโภค มีประปาใช้ครบทุกหมู่บ้าน แต่ยังไม่ครบทุกครัวเรือน ซึ่งกิจการประปาดำเนินการโดยองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านป่า แหล่งน้ำธรรมชาติที่ใช้ผลิตน้ำประปาและการเกษตร คือ แม่น้ำป่าสัก

2.5 ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

                                พื้นที่มีสภาพที่อุดมด้วยหินปูนและหินเซลล์ ซึ่งเป็นส่วนประกอบในการผลิตปูนซิเมนต์

 

3. ด้านเศรษฐกิจ

                3.1  อาชีพ

                                อาชีพประชากรร้อยละ 85 ของวัยทำงานประกอบอาชีพรับจ้างในโรงงานอุตสาหกรรม

ร้อยละ 5 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 10 ประกอบอาชีพค้าขาย และอื่นๆ ในเขตตำบลบ้านป่ามีโรงงานอุตสาหกรรม 10 แห่ง ปั้มน้ำมัน 7 แห่ง หมู่บ้านจัดสรร 4 แห่ง

                3.2 หน่วยธุรกิจ

                                - ธนาคาร                              -              แห่ง

                                - โรงแรม                               1              แห่ง

                                - ปั๊มน้ำมันและก๊าซ             4              แห่ง

                                - โรงงานอุตสาหกรรม       8              แห่ง

                                - โรงสี                                   -              แห่ง

                                - โรงไฟฟ้า                           1              แห่ง

4. สภาพสังคม

                4.1 การศึกษา

                                - โรงเรียนประถมศึกษา                                     2              แห่ง

                                                1. โรงเรียนบ้านป่าวังกวาง                หมู่ที่ 1

                                                2. โรงเรียนบ้านช่องใต้                      หมู่ที่ 8

                                - โรงเรียนมัธยมศึกษา                                        -              แห่ง

                                - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                                           1              แห่ง

                                - ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน                5              แห่ง

                                - ห้องสมุดประชาชน                                         -              แห่ง

                                - ศูนย์การเรียนชุมชน                                         1              แห่ง

4.2 สถาบันและองค์กรศาสนา

                                - วัด/สำนักสงฆ์                                                   9              แห่ง

                                - มัสยิด                                                                   1              แห่ง

                                - ศาลเจ้า                                                                -              แห่ง

                                - โบสถ์                                                                  1              แห่ง

                4.3 การสาธารณสุข

                                - โรงพยาบาลของรัฐ                                          -              แห่ง

                                - สถานีอนามัย                                                     1              แห่ง

                                - สถานพยาบาลเอกชน                                      -              แห่ง

                                - ร้านขายยาแผนปัจจุบัน                                    -              แห่ง

                                - อัตราการการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100

                4.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

                                - ที่ทำการตำรวจชุมชน                                       -              แห่ง

                                - สถานีดับเพลิง                                                   -              แห่ง

 

5.  ด้านศักยภาพของชุมชน และพื้นที่

1. การรวมของประชาชน

- กลุ่มอาชีพ                                                          7              กลุ่ม

- กลุ่มออมทรัพย์                                                  2              กลุ่ม

- กลุ่มเลี้ยงปลาในกระชัง                                  1              กลุ่ม

2. จุดเด่นของพื้นที่

- สถานที่ท่องเที่ยว

 แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่ที่น่าสนใจในพื้นที่ตำบลบ้านป่า คือ หัวแก่ง ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านป่า อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ลักษณะเป็นเกาะหินใหญ่ เล็ก อยู่กลางแม่น้ำป่าสัก

- โรงแรม/ที่พัก/ร้านอาหาร

โรงแรมที่พัก  มีจำนวน      2              แห่ง คือ

1. หงส์ทองรีสอร์ท

2. โกล์เดนท์อินรีสอร์ท

 

ร้านอาหาร  มีจำนวน          3              แห่ง

1. ร้านครัวไทยปลาเผา

2. ร้านหงส์ทองรีสอร์ท

3. ครัวบ้านสวนกล้วย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อมูล กศน.ตำบลบ้านป่า 

 

                กศน. ตำบลบ้านป่า (ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลบ้านป่า)  จัดตั้งมาตั้งแต่เมื่อ วันที่  26  พฤษภาคม  2542                   สถานที่ตั้ง คือ อบต.บ้านป่าหลังเก่า เลขที่ 1 หมู่ที่ 7 ตำบลบ้านป่า อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

 

แผนที่ตั้ง กศน.ตำบลบ้านป่า 

ทางรถไฟ

 

 

                                                                                 

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

อนามัยเก่าตำบลบ้านป่า

    ไป

     อ.

    วัง

  ม่วง

กศน.ตำบลบ้านป่า

 

                               

 

อนามัยตำบลบ้านป่า

 

อบต.บ้านป่า

โรงไฟฟ้า

ไปอำเภอแก่งคอย

ไปถนนมิตรภาพ

แยกแสลงพัน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                                 

 

 

รายชื่อคณะกรรมการ กศน.ตำบล

 

 

ที่ 

ชื่อ - สกุล

ตำแหน่ง

หมายเหตุ

1

นายชาลี   มีชาติ

ประธานคณะกรรมการ

กำนันตำบลบ้านป่า

2

นางสุดใจ   บุตรสดี

คณะกรรมการ

ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1

3

นายไพโรจน์    วงษาญาณ

คณะกรรมการ

สมาชิก อบต.หมู่ 1

4

นายแดง   ธูปพรมราช

คณะกรรมการ

สมาชิก อบต.หมู่ 2

5

นางวราภรณ์    ครองรักษ์

คณะกรรมการ

ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 3

6

นายเนาวรัตน์    นวลอินทร์

คณะกรรมการ

สมาชิก อบต.หมู่ 3

7

นายสวิง   ชมพู

คณะกรรมการ

ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 4

8

นายไพรศล   สุขสมกลิ่น

คณะกรรมการ

สมาชิก อบต.หมู่ 4

9

นางกำไร   ไก่ฟ้า

คณะกรรมการ

ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5

10

นางปรารมภ์   วงษ์จำปา

คณะกรรมการ

สมาชิก อบต.หมู่ 5

11

นายสุดใจ   วงษ์คำนา

คณะกรรมการ

ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 6

12

นายวิเชียร   กองพรม

คณะกรรมการ

สมาชิก อบต.หมู่ 6

13

นายสวัสดิ์   สารีพันธ์

คณะกรรมการ

ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 7

14

นายสนิท   ทองวิจิตร

คณะกรรมการ

สมาชิก อบต.หมู่ 7

15

นายสงคราม   จันทครอบ

คณะกรรมการ

ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 8

16

นายพงษ์ศักดิ์   ชาลี

คณะกรรมการ

สมาชิก อบต.หมู่ 8

17

นางบุญประเสริฐ   ราศี

คณะกรรมการ

ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 9

18

นายประชา   แสงสว่าง

คณะกรรมการ

สมาชิก อบต.หมู่ 9

19

นายบุญเลิศ   พิมพา

คณะกรรมการ

ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 10

20

นายสมหมาย   โกมารย์

คณะกรรมการ

สมาชิก อบต.หมู่ 10

21

นายวินัย   ประกาสิต

คณะกรรมการ

ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 11

22

นายสำราญ   ทองวิเชียร

คณะกรรมการ

สมาชิก อบต.หมู่ 11

ที่

ชื่อ - สกุล

ตำแหน่ง

หมายเหตุ

23

นางสุมาลี   บัวศรี

คณะกรรมการ

ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 12

24

นางศศิวิมล   ศะศินิล

คณะกรรมการ

สมาชิก อบต.หมู่ 12

25

นายไพฑูรย์   อ่วมเชื้อ

คณะกรรมการ

อาสาสมัคร กศน.

26

นางสุภาพร   ประสิทธิ์

คณะกรรมการและเลขานุการ

หัวหน้า กศน.ตำบลบ้านป่า

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การวิเคราะห์  SWOT  ของ กศน.ตำบลบ้านป่า

 

     จุดแข็ง

 

1.  หน่วยงานภาครัฐและเอกชนมีความพร้อมในการให้การสนับสนุน และร่วมจัดกิจกรรมต่าง ๆ

ของ กศน.และหน่วยงานอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี

2.  ชุมชนให้ความร่วมมือ และมีความเข้าใจในงานของ กศน.เป็นอย่างดี

3.  ศูนย์การเรียนชุมชน สามารถจัดกิจกรรมในพื้นที่ได้อย่างทั่วถึงและมีความหลากหลายทั้ง

การศึกษาขั้นพื้นฐาน,การศึกษาเพื่อพัฒนาอาชีพ  การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต   การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน และการจัดกระบวนการเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

4.  มีการวางแผนการจัดการเรียนรู้ และจัดหาคู่มือนักศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรสถานศึกษา

5.  มีการแสดงผลงานของนักศึกษา ซึ่งเป็นการพัฒนาการเรียนรู้ให้นักศึกษารู้จัก  การอ่าน  คิด 

วิเคราะห์  เขียน ได้อย่างถูกต้อง

6.  มีการจัดทำแผนปฏิบัติการงานกำหนดเป้าหมายทำงานอย่างชัดเจน สำหรับเป็นแนวทางในการ

พัฒนางาน

7.  ผู้บริหารมีความรู้ ประสบการณ์  และให้ความสำคัญกับนโยบาย  จุดเน้น สามารถถ่ายทอด

ความรู้ให้แก่บุคลากร  ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  อย่างมีคุณภาพ

 

    จุดอ่อน

 

1.  ที่ตั้งของ กศน.ตำบลบ้านป่า อยู่ในทำเลที่ไม่เหมาะสม  ไม่สามารถมองเห็นได้อย่างเด่นชัด

2.  บุคลากรขาดมั่นคงในการประกอบอาชีพ ทำให้ขาดขวัญและกำลังใจ

3.  ศูนย์การเรียนยังขาดการสนับสนุนทางการเงิน  บางครั้งไม่สามารถจัดกิจกรรมได้ตามต้องการ

4.  เจ้าหน้าที่ยังขาดความรู้ความชำนาญเฉพาะเรื่อง เฉพาะวิชาที่สอน

 

    โอกาสในการพัฒนา

<

หมายเลขบันทึก: 394501เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2010 15:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:13 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท