โทรป่วนพฤติกรรมเปลี่ยน


โทรศัพท์ เด็กและเยาวชน สื่อเพื่อเด็ก

  เยาวชนโรงเรียนหนองบัวฮีวิทยาคม จ.อุบลราชธานี ผุดกิจกรรมรณรงค์จัดสัปดาห์ปิดโทรศัพท์ วอนเพื่อนนักเรียนหยุดฮัลโหลช่วงสอบ พร้อมจัดโซนคุยโทรศัพท์ไว้ให้เฉพาะเท่าที่จำเป็น แต่พอถึงวันสอบห้ามใช้ทันที เล็งต่อยอดเป็นระเบียบโรงเรียนหากผู้บริหารอนุมัติ
     นายคิด แก้วคำชาติ อาสาสมัครผู้ประสานงานโครงการพัฒนาศักยภาพมือปราบไร้สาย โรงเรียนหนองบัวฮีวิทยาคม อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เปิดเผยว่า ได้ร่วมมือกับกลุ่มเยาวชน ซึ่งเป็นผู้นำนักเรียนในโรงเรียนหนองบัวฮีวิทยาคม จัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อให้นักเรียนหยุดใช้โทรศัพท์มือถือในช่วงเตรียมสอบและระหว่างการสอบภาคการศึกษาที่ 1 ระหว่างวันที่ 13-24 กันยายนนี้ ซึ่งถือเป็นสัปดาห์แห่งการปิดโทรศัพท์อย่างจริงจัง โดยเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้นักเรียนทุกชั้นตั้งแต่มัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ร่วมกันปิดโทรศัพท์เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนตั้งใจอ่านหนังสือและจริงจังกับการสอบให้เต็มที่ และเป็นอีกกุศโลบายหนึ่งในการจัดระบบพื้นที่สร้างสรรค์ให้เยาวชนได้รู้เท่าทันตนเอง ทันต่อสถานการณ์สังคมและไม่ตกเป็นทาสโทรศัพท์มือถือจนไร้สติ
     นายคิดกล่าวว่า กิจกรรมสัปดาห์ปิดโทรศัพท์แบ่งออกเป็น 2 ช่วงคือ วันที่ 13-19 กันยายน เป็นสัปดาห์สีส้มคือ เป็นช่วงเตรียมสอบต้องใช้โทรศัพท์อย่างเหมาะสมเท่าที่จำเป็น และโทร.ได้เฉพาะบริเวณพื้นที่ที่โรงเรียนจัดให้เท่านั้น เหมือนจัดโซนสูบบุหรี่ และวันที่ 20-24 กันยายน เป็นสัปดาห์สีแดงคือ ปลอดจากการโทรศัพท์ เพราะเป็นช่วงวันสอบ ก่อนเข้าเขตบริเวณโรงเรียนทุกคนต้องปิดโทรศัพท์ หากจำเป็นต้องโทร.จริงๆ จะให้ใช้โทรศัพท์กลางของทางโรงเรียนที่ห้องประชาสัมพันธ์แทน ทั้งนี้ ได้ติดตั้งป้ายข้อความเผยแพร่แนวคิดรณรงค์ว่า "แค่โทรศัพท์สั่นไหว...อาจทำให้อนาคตสิ้นไร้ความหวัง" "อย่าให้เพชฌฆาตไร้สาย มาทำลายอนาคต" และ "มาร่วมกันหยุดฮัลโหลสักนิด มุ้งเป้าชีวิตสู่ความฝัน"
     "ส่วนมาตรการควบคุมให้นักเรียนปฏิบัติตามกิจกรรมครั้งนี้ หากมีการฝ่าฝืนก็จะเริ่มต้นจากการตักเตือนก่อนแล้วหากพบว่าทำอีกครั้ง ก็จะยึดโทรศัพท์และเรียกผู้ปกครองมารับทราบ เนื่องจากกิจกรรมนี้ได้รับความสนับสนุนจากนายสุรพงษ์ ด้วงทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนหนองบัวฮีวิทยาคม เพื่อเตรียมที่จะผลักดันให้เป็นกฎระเบียบของทางโรงเรียนต่อไปในอนาคต" อาสาสมัครมือปราบไร้สายเผย
     นายคิดบอกอีกว่า สาเหตุที่มีการจัดกิจกรรมรณรงค์หยุดใช้โทรศัพท์ช่วงสอบ เพราะเห็นถึงปัญหาของการใช้โทรศัพท์ในกลุ่มเด็กนักเรียน จากการพูดคุยแลกเปลี่ยนแนวคิดร่วมกับกลุ่มเยาวชนสืบสานภูมิปัญญาหนองบัวฮีก็ทำให้รู้ว่า โทรศัพท์มือถือเป็นอุปสรรคในการอ่านหนังสือสอบ ทำให้บั่นทอนสมาธิในการจดจำและตัดทอนประสิทธิภาพในการสอบ แย่งเวลาการอ่านหนังสือ เพราะเวลานี้หลายคนกำลังหมกมุ่นอยู่กับมือถือรุ่นใหม่ๆ เสียเวลาไปกับการคุยหรือแช้ต แม้แต่ช่วงสอบถ้ามีเสียงโทรศัพท์จากภายนอกดังเข้ามาในห้องก็ทำให้ผู้สอบเสียสมาธิทันที ดังนั้น จึงได้ร่วมกับแกนนำเยาวชนในโรงเรียนประมาณ 50 คน จัดกิจกรรมครั้งนี้ ซึ่งต่อยอดจากการรณรงค์โทร.ป่วน พฤติกรรมเปลี่ยน ต้องการชี้ให้เห็นผลกระทบจากการใช้โทรศัพท์เป็นเวลานานๆ
     "ขณะนี้เด็กนักเรียนมีโทรศัพท์มือถือเกือบทุกคน เพราะหาซื้อได้ง่ายมาก ที่ตั้งโรงเรียนอยู่ใกล้ด่านช่องเม็ก ชายแดนไทย-ลาว ทำให้นักเรียนแห่กันข้ามฝั่งไปลาวเพื่อซื้อโทรศัพท์มือถือหนีภาษีราคาถูกเข้ามาใช้กันเกือบทุกคน ซึ่งเป็นปัญหาเยาวชนไม่ใช่เฉพาะโรงเรียนหนองบัวฮีวิทยาคมเท่านั้น แต่ยังเป็นปัญหาสังคมทั่วประเทศอีกด้วย" นายคิดกล่าว.

จากโครงการเล็กๆ ชื่อโครงการโทรป่วนพฤติกรรมเปลี่ยน ได้รับการสนับสนุนจาก แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชน(สสย.) บริหารแผนโดย มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก(มพด.)

หมายเลขบันทึก: 395183เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2010 14:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2012 13:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สัมมนาสาธารณะ : กลไกปฎิรูปสื่อภาคพลเมือง

วันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553

จัดโดย คณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบสื่อมวลชน ร่วมกับเครือข่ายปฎิรูปสื่อภาคพลเมือง

1. หลักการและเหตุผล

วิกฤติการณ์ของสังคมที่มีความซับซ้อนและสะสมมายาวนาน ส่งผลให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมหลายด้าน จนกระทั่งเกิดความขัดแย้งทางด้านความคิดและการเมืองอย่างรุนแรง ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา จึงมีกระแสการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปประเทศไทยในทุกด้านอย่างจริงจัง และ” การปฏิรูปสื่อ”เป็นเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการให้เกิดผล เพื่อให้สื่อได้ทำบทบาทหน้าที่อย่างเหมาะสมและร่วมนำพาประเทศชาติให้หลุดพ้นวิกฤติและก้าวไปข้างหน้า

ดังที่ทราบกันดีว่า ในอดีตมีความพยายามในการผลักดันการปฏิรูปสื่อมาไม่ต่ำกว่าทศวรรษ มีการปรับปรุงและพัฒนากฏหมายหลายฉบับ มีความพยายามจัดการเรื่องโครงสร้าง ความเป็นเจ้าของสื่อ การพัฒนามาตรฐานจรรยาบรรณ ในสื่อต่างๆ ฯลฯ กระนั้นการปฏิรูปก็ยังไม่สำเร็จตามเป้าหมาย เพราะการปฏิรูปสื่อนั้นต้องดำเนินการร่วมกันทุกฝ่าย และในทุกกระบวนการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการปฏิรูปและการพัฒนาที่ยั่งยืน

จะเห็นว่าในระยะหลังๆ ภาคประชาชนหลายกลุ่ม เริ่มเข้ามามีบทบาทในการเฝ้าระวังตรวจสอบสื่อ แต่ยังสร้างการเปลี่ยนแปลงของสื่อได้ไม่มากนัก เพราะมีอุปสรรคและช่องว่างหลายประการ อาทิ ขาดการยอมรับจากองค์กรสื่อและองค์กรรัฐ ไม่ทันต่อสถานการณ์ของสื่อที่มีความรวดเร็วสูง มีลักษณะต่างคนต่างทำ ฯลฯ ที่สำคัญประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงผลกระทบของสื่อ และไม่เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและตรวจสอบสื่อ

แนวโน้มในอนาคต เทคโนโลยีการสื่อสารจะมีการเติบโตและเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สื่อรูปแบบใหม่ๆจะเข้าถึงชุมชนอย่างกว้างขวาง สื่อจะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นในวิถีชีวิตของผู้คน

ทำอย่างไร ประชาชนจึงจะตระหนักในเรื่องนี้ มีการเรียนรู้เท่าทันสื่อ มีบทบาทมากขึ้นในการตรวจสอบการทำหน้าที่ของสื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากกลไกตามกฏหมาย กลไกการตรวจสอบกันเองของสื่อฯแล้ว กลไกโดยภาคประชาชนจะต้องมีความเข้มแข็ง เป็นระบบ มีความต่อเนื่องยั่งยืน มีการเชื่อมโยงการทำงานจากคณะทำงานหลากหลายสาขา และตรวจสอบสื่อหลากหลายประเภท ที่สำคัญให้มีส่วนร่วมจากภาคประชาชนอย่างกว้างขวาง

2. วัตถุประสงค์

1. เพื่อระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆในการสร้างกลไกเฝ้าระวังและตรวจสอบสื่อโดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม

2. เพื่อระดมความคิดเห็นเรื่องการจัดตั้งองค์กรผู้บริโภคสื่อ บทบาทหน้าที่ โครงสร้าง รูปแบบการทำงาน

3. เพื่อเผยแพร่แนวคิดเรื่องการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการเฝ้าระวังและตรวจสอบสื่อ

3. รูปแบบการจัดงาน

เวทีสัมมนาระดมความคิดเห็นกลุ่มใหญ่และกลุ่มย่อย

4. ผู้เข้าร่วมงาน

ประมาณ 200 คน ประกอบด้วยผู้แทนจากองค์กรและเครือข่ายที่ทำงานด้านการเฝ้าระวังสื่อ การใช้สื่อเพื่อการเรียนรู้ ทั้งส่วนกลางและภูมิภาค นักวิชาการด้านนิเทศศาสตร์ สื่อของรัฐ สื่อภาคธุรกิจ สื่อภาคประชาชน หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง สมาคมวิชาชีพสื่อ ฯลฯ

5. วัน เวลา สถานที่

วันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553 เวลา 09.00- 17.00 น. ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น

ดอนเมือง กรุงเทพฯ

6. ผู้รับผิดชอบโครงการ

คณะทำงานพัฒนากลไกการเฝ้าระวังการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน ใน คณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบสื่อมวลชน(คพส .) ร่วมกับเครือข่ายปฎิรูปสื่อภาคพลเมือง สนับสนุนโดย แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ข้อเสนอแนะในเรื่องยุทธศาสตร์การทำงานเฝ้าระวังสื่อฯ และกลไก /องค์กรผู้บริโภคสื่อ

2 . รูปแบบความร่วมมือและการเชื่อมโยงของเครือข่าย

3. สื่อมวลชนช่วยเผยแพร่แนวคิดเรื่องการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคสื่อในการเฝ้าระวังการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนอย่างกว้างขวาง

สัมมนาสาธารณะ : กลไกปฎิรูปสื่อภาคพลเมือง

วันพุธที่ 6 ตุลาคม 2553

จัดโดย คณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและความรับผิดชอบสื่อมวลชน(คพส.) ร่วมกับเครือข่ายปฎิรูปสื่อภาคพลเมือง

ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ดอนเมือง กรุงเทพฯ

09.00- 09. 35 น. ลงทะเบียน / ชมนิทรรศการ / พร้อมรับประทานอาหารว่าง

09.35 - 09.45 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ของงานพิธีเปิด

โดย คุณมานิจ สุขสมจิตร

ประธานคณะกรรมการพัฒนาส่งเสริมสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชน( คพส.)

09.45 - 09.50 น. วิดีทัศน์ สื่อไทยใน 5 ปี ข้างหน้า

09.50 - 12.00 น. อภิปราย กลไกภาคประชาสังคมในการเฝ้าระวังและตรวจสอบสื่อ

ประเด็น 1. กลไกตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย กฎระเบียบ และจรรยาวิชาชีพ

2. บทเรียนของการขับเคลื่อน กลไกภาคประชาสังคม

3. รูปแบบและกลไกที่อยากให้มีในสังคมไทย

4. การรู้เท่าทันสื่อ

วิทยากร : รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์และสื่อสารสาธารณะ

เพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

คุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

คุณวสันต์ ภัยหลีกลี้ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย*

ดร. เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ประธานสถาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชน

ผู้ดำเนินรายการ : คุณสุวรรณา จิตประภัสสร์ กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

เปิดอภิปรายแลกเปลี่ยนและสรุป

12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-15.00 น. สัมมนากลุ่มย่อย “กลไกภาคประชาสังคมในการเฝ้าระวังและตรวจสอบสื่อ”

ห้องที่ 1 กลไกการสร้างองค์กรและเครือข่ายผู้บริโภคสื่อ

ห้องที่ 2 กลไกการพัฒนากฎหมายและจรรยาวิชาชีพสื่อ

ห้องที่ 3 กลไกการคุ้มครองผู้บริโภคและตรวจสอบสื่อ

ห้องที่ 4 กลไกการรู้เท่าทันสื่อ (Media Literacy)

ห้องที่ 5 กลไกการเฝ้าระวังสื่อ (Media Monitor)

ห้องที่ 6 กลไกการรณรงค์ทางสังคม

15.00 - 15.20 น. พักรับประทานอาหารว่าง

15.20 - 16.20 น. นำเสนอผลการประชุมกลุ่มๆละ 10 นาที

16.20 - 17.00 น. อภิปราย และปิดสัมมนา

โดย รศ. จุมพล รอดคำดี

ประธานคณะทำงานพัฒนากลไกการเฝ้าระวังการทำหน้าที่ของสื่อมวลชน

รายละเอียดห้องสัมมนากลุ่มย่อย

“กลไกภาคประชาสังคมในการเฝ้าระวังและตรวจสอบสื่อ”

เวลา 13.00-15.00 น.

ห้องที่ 1 กลไกการสร้างองค์กรและเครือข่ายผู้บริโภคสื่อ

ประธานกลุ่ม : คุณเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน

วิทยากรหลัก : คุณสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค*

ผู้บันทึกสาระ : คุณโสภิต หวังวัฒนา อุปนายก สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย

ผู้เข้าร่วมหลัก : สภาผู้ชม-ผู้ฟัง / สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม / เครือข่าย

แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน / คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ/

เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ

ผู้รับผิดชอบห้องย่อย : กลุ่ม WE ARE HAPPY

ห้องที่ 2 กลไกการพัฒนากฎหมายและจรรยาวิชาชีพสื่อ

ประธานกลุ่ม : คุณชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ผู้อำนวยการสถาบันอิศรา

วิทยากรหลัก : อ.อิทธิพล ปรีติประสงค์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล

คุณประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม*

คุณสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ

ผู้บันทึกสาระ : คุณสุเทพ วิไลเลิศ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ *

ผู้เข้าร่วมหลัก : เครือข่ายพลเมืองเน็ต / องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน / กรมประชาสัมพันธ์ / กระทรวง

วัฒนธรรม / เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ / สำนักงาน

คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

ผู้รับผิดชอบห้องย่อย : มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก

ห้องที่ 3 กลไกการคุ้มครองผู้บริโภคและตรวจสอบสื่อ

ประธานกลุ่ม : คุณวันชัย วงศ์มีชัย คณะทำงานฯ คพส.

วิทยากรหลัก : คุณอิฐบูรณ์ อ้นวงษา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

ผู้บันทึกสาระ : คุณเสาวนีย์ ฉ่ำเฉลียว มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

ผู้เข้าร่วมหลัก : กลุ่มทนายอาสา มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค / สมาคมเคเบิ้ลทีวี / องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน / เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ / สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค / กลุ่มตาสัปปะรด / นักวิชาการ /สถาบันคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม /คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ

ผู้รับผิดชอบห้องย่อย : มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

ห้องที่ 4 กลไกการรู้เท่าทันสื่อ

ประธานกลุ่ม : คุณนิรันดร์ เยาวภาว์ คณะทำงานฯ คพส.

วิทยากรหลัก : ดร. จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์ คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่*

ผู้บันทึกสาระ : อ.อังคณา พรหมรักษา ที่ปรึกษากลุ่มงานขยายผล

โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม

ผู้เข้าร่วมหลัก : เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ / เครือข่าย Media Monitor / เครือข่ายแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน /เครือข่ายนักวิชาการ

ผู้รับผิดชอบห้องย่อย : เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ

ห้องที่ 5 กลไกการเฝ้าระวังสื่อ

ประธานกลุ่ม : คุณสุวรรณา จิตประภัสสร์ กรรมการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค

วิทยากรหลัก : ดร. เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ประธานสถาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชน *

ผู้บันทึกสาระ : คุณธาม เชื้อสถาปนศิริ

ผู้จัดการกลุ่มงานวิชาการ โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม

ผู้เข้าร่วมหลัก : เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ / สถาบันวิชาการ / กลุ่มที่ทำโพลล์ / ศูนย์วิจัยทางวิชาการและด้านสื่อ / กระทรวงวัฒนธรรม / กลุ่มอย.น้อย / สภาเด็กและเยาวชน / สภาผู้ชม-ผู้ฟัง / โครงการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.)

ผู้รับผิดชอบห้องย่อย : โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม

ห้องที่ 6 กลไกการรณรงค์ทางสังคม

ประธานกลุ่ม : แพทย์หญิงพรรณพิมล หล่อตระกูล ผู้อำนวยการสถาบันราชานุกูล

วิทยากรหลัก : รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ ผู้อำนวยการสำนักรณรงค์และสื่อสารสาธารณะ

เพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

ผู้บันทึกสาระ : คุณโกศล สงเนียม คณะทำงานฯ คพส.

ผู้เข้าร่วมหลัก : เครือข่ายวิทยุชุมชน / เครือข่ายองค์กรงดเหล้า / เครือข่ายพลังบวก / เครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ/ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ / เครือข่ายศิลปิน / คณะทำงานปฎิรูปสื่อ จากกรรมการสมัชชาปฏิรูป

ผู้รับผิดชอบห้องย่อย : มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก

หมายเหตุ : * รายชื่อวิทยากรอยู่ในช่วงประสานงาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท