ห้องเรียนกระบวนกร AI (ตอนที่ 248) ..".. ฮูปแต้ม AI และลิเกสินไซ... "


Appreciative Inquiry

เร็วๆนี้พึ่งจบวิจัยโครงการ Creative Economy ได้มีโอกาสลงพื้นที่ในภาคอิสาน หนึ่งในโครงการเป้าหมายของเราคือ "ฮูปแต้ม" ครับ...ฮูปแต้มคือ..ภาพจิตรกรรมฝาผนังโบราณในแบบอิสานนั่นเองครับ..ดูรายละเอียดที่นี่ click ผมได้สัมผัสความงดงาม สนุกสนาน กับสีโทนเย็น เห็นกับตาครับ...น่าทึ่ง...ครับ..แต่ถ้าถามคนอิสานมีใครรู้จัก ก็ต้องบอกว่าตอนนี้คนอิสานรอบตัวของผม แทบไม่มีใครเคนเห็นครับ...ไปดูพื้นที่จริงก็ต้องสงสารครับ..ขาดคนเอาใจใส่ ฮูปแต้มเป็นศิลปะควบคู่กับ "สิมอิสาน" โบสถ์แบบอิสานโบราณ หลังเล็กๆ แต่ปัจจุบันโบสถ์ในอิสาน เป็นศิลปะนำเข้าจากภาคกลางครับ...ช่างทำสิมหายไปนานแล้ว..เำพราะวัดรุ่นใหม่ไม่นิยมสร้าง สิมอีกต่อไป.

.........................

......แล้วเราก็มาถึงโครงการว่าจะวางแผนกลยุทธ์อย่างไรให้ฮูปแต้มกลับมาเป็นที่รู้จัก...มีคนดูแล..ได้อย่างไร....

ก็ได้ฟังเรื่องราวจากนักวิ ชาการท่านหนึึ่ง ท่านเป็นอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์...ท่านเล่าว่า...ที่เมืองสาวัตถี..มีสิม และฮูปแต้มที่สวยมากๆ สิบกว่าปีก่อนท่านกับลูกศิษย์ไปศึกษาไว้...ตอนนั้นชาวบ้านไม่มีความรู้เลยว่าภาพที่เขียนในฮูปแต้ม คืออะไร (การอ่านเรื่องราวในฮูปแต้ม ต้องรู้ตำนานก่อน ไม่งั้นงง เพราะรูปบางทีไม่เรียงกันครับ...) พูดง่ายๆ การจะอ่าน จะบรรยายภาพได้คุณต้องรู้ตำนานพระลักษณ์ พระราม (ฉบับอิสาน-ไม่เหมือนภาคกลาง) คุณต้องรู้เรื่องสินไซ..อาจารย์ก็ไม่รู้ทำยังไงศึกษาเสร็จก็ทิ้งหนังสือเรื่องตำนานดังกล่าวไว้สิบเล่ม...

.........

สิบปีผ่านไป ท่านกลับไปอีกครั้ง ปรากฏว่า ต้องแปลกใจครับ..มีชาวบ้านหลายคนกลายเป็นไกด์นำทัวร์ เล่าเรื่องในฮูปแต้มได้เป็นเรื่องเป็นราว แล้วมีหลายคนด้วย...ถามว่าทำไมรู้เรื่องราวดีขนาดนี้...ชาวบ้านบอกอาจารย์ว่า เขาเห็นหนังสือวางไว้สิบเล่ม ไม่มีอะไรทำ เวลามาวัดก็เอามาอ่านกัน...อ่านจนจำได้ พูดได้อย่างที่เห็นนี่แหละ...

...แถมไปเจอคณะลิเกสินไซ...ครับ...เพราะ...หลังจากที่ท่านทิ้งหนังสือไว้ไม่นานอาจารย์ก็มีโอกาสนำเอาคณะลิเกจากมหาสารคาม มาแสดงเรื่องสินไซ ให้ชาวบ้านดู...ไม่นานอีกสองสามปีต่อมา ครูและชาวบ้านก็เกิด "ฮึด" ตั้งคำถามว่า...เรามีสิม มีฮูปแต้มอยู่กับที่บ้านเราเหมือนกัน ทำไมเราไม่ส่งเสริมให้มีลิเกแสดงเรื่องสินไซบ้างล่ะ...ในที่สุดก็เกิดลิเกนักเรียนคณะสินไซ ขึ้นมา...

...........

เห็นอะไรไหมครับ...เรื่องนี้ในทาง AI/OD เราเรียกว่า Institutionalization คือ..เวลาเราไปทำ AI/OD ทีไ่หน อย่าลืมนึกนะครับ...ว่าทำอย่างไรสิ่งที่เราริเริ่มไว้จะมีคนสานต่อ...คิดง่ายๆคือต้องหมั่นคิดครับ..ว่า "ถ้าเราไม่อยู่แล้ว สิ่งดีๆที่เรากับคนในองค์กรที่นั่นสร้างสรรค์ขึ้นมา จะยังคงเติบโตไปได้ (โดยไม่ต้องมีเรา-ผู้เชี่ยวชาญ) ได้อย่างไร" และเรื่องนี้ต้องคิดตั้งแต่เนิ่นๆ...กรณีนี้ หนังสือ 10 เล่มที่อาจารย์กลุ่มนี้ทิ้งไว้...ชาวบ้านก็มาอ่าน...อ่านเสร็จทำให้เกิดความรู้ มีความรู้ก็เกิดอุดมการณ์...ที่สุดกลายเป็นหมู่บ้านที่มีศักยภาพในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมขึ้นมา...กลายเป็นต้นแบบการสร้าง Creative Economy ไปในที่สุด...ด้วยงบประมาณที่ต่ำสุดๆ...

........

ในกลุ่ม AI Thailand เราก็มีการทิ้ง Case Studies ไว้ครับ โดยเฉพาะ cases เด่นๆ ใน www.aithailand.org เกิดอะไรขึ้นเหรอครับ

...ตอนนี้เราได้ชาวเครือข่ายคนหนึ่งที่เรียนจบปริญญาเอก ท่านนี้ศึกษาจาก case และอ่านเอง จนกระทั่งทำ AI ในระดับป.เอกจบ ผมไม่เคยสอนเขาตรงๆ...เขาก็อ่านเอง ศึกษาเอง.จาก web ของผม ดู case study ในไทยประกอบกับของเมืองนอก ครับ.ผมแทบไม่ได้ทำอะไรเลย...นี่ไงครับอำนาจของการทำ Institutionalization.. สร้างบุคลากรชั้นยอดได้เลยครับ...ด้วยงบประมาณที่ดูเหมือนจะแทบไม่ต้องใช้เลย (800 บาท ต่อปี-ค่าwebsite ครับ)..คุ้มสุดคุ้ม..ไม่ต้องสร้างตึก..ห้อง lab ห้องเรียน...คล้ายกับกรณีเมืองสาวัตถี..เลยครับ..

..........

คุณล่ะ คิดอย่างไร

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 397692เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2010 11:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียนท่านอาจารย์Ico64ที่นับถือ

   แสดงว่าคุณยายเดินถุกทางแล้วใช่มั๊ยคะ ที่ชอบอ่าน อ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า และได้รู้สิ่งที่ไม่เคยรู้ สามารถคุยกับคนอื่นรู้เรื่อง และได้นำประโยชน์จากการอ่านไปใช้หลายเรื่องแล้ว อย่างน้อยๆก็คุยกับลูกรู้เรื่อง บางทีลูกก็ถาม "อ้าว นี่แม่เข้าใจมากกว่านุ้กเกอร์อีกนะเนี่ย" แต่ไม่ใช่หรอกค่ะ แค่งูๆปลาๆเอง แล้วนำมาปะติดปะต่อ พอดีตรงจุดที่เราเข้าใจเท่านั้นเอง

การอ่านสร้างโลกครับ คุณยาย..อ่านเยอะๆ ทำเยอะๆครับ ขอบคุณมากๆ ที่แวะมานะครับ...

ถ้าเราไม่อยู่แล้ว สิ่งดีๆที่เรากับคนในองค์กรที่นั่นสร้างสรรค์ขึ้นมา จะยังคงเติบโตไปได้ (โดยไม่ต้องมีเรา-ผู้เชี่ยวชาญ) ได้อย่างไร"

     เป็นคำถามที่โดนใจครับอาจารย์

     สำหรับผมเอง ในตอนนี้ ยังไม่มีคำตอบครับ  แต่จะนำไปเป็นโจทย์ในการทำงานของผมต่อไปครับ

              ขอบคุณคำถามดีๆที่มีมาฝากครับ

เรื่องนี้เรื่องใหญ่มากๆในทาง OD/AI ครับท่านอาจารย์ ผมจะเขียนต่ออีกนะครับ.

..ถึงแนวทาง และที่ทำอยู่จริงๆครับ..

ขอบพระคุณท่านอาจารย์สำหรับข้อคิดเห็นครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท