ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม


เรามีความรู้แบบองค์รวมพอสมควรและที่สำคัญเรามีแพทย์แผนไทย ซึ่งน่าจะเป็นจุดเน้น(ธาตุเจ้าเรื่อนกับการเลือกกินอาหารซึ่ง น่าจะแยกแยะได้ง่ายในแหล่งและประเภทที่ชาวบ้านกินกันทุกวัน)
ดูทั้งหมด

           เราใช้งบประมาณไม่น้อยในการจัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แต่เนื้อหาโดยส่วนใหญ่ของกิจกรรมมักจะมุ่งเน้นไปที่การให้ความรู้(แบบอัดแน่น) เหมือนกับว่าในสมองของประชาชนที่เราเกณฑ์มาไม่มีความรู้ด้านสุขภาพอยู่เลย วันนี้ที่นี่ เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเราเองโดยเราวางแผนการชักชวนกลุ่มเสี่ยงที่ผ่านการคัดกรอง ตามโครงการของ สปสช. ให้เข้ามาร่วมกระบวนการค้นหาแนวทางพัฒนาตนเองโดยมีหลักการว่า เราจะเป็นเพียงผู้จุดประกายและเป็นพี่เลี้ยงในการค้นหาตนเองของกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้

          งานเริ่มด้วยการสำรวจความพร้อมของพวกเราเอง พบว่าเรามีความรู้แบบองค์รวมพอสมควรและที่สำคัญเรามีแพทย์แผนไทย ซึ่งน่าจะเป็นจุดเน้น(ธาตุเจ้าเรื่อนกับการเลือกกินอาหารซึ่ง น่าจะแยกแยะได้ง่ายในแหล่งและประเภทที่ชาวบ้านกินกันทุกวัน)

          สถานที่ใช้ชั้นบนของ รพสต.ซึ่งทะลุเป็นห้องกว้าง อยากให้บรรยากาศสบายสบาย ผ่อนคลาย

          เอกสารจัดทำเป็นสมุดบันทึกขนาด A4 พับครึ่ง 5 แผ่น ใส่ความรู้เรื่องสมุนไพรใกล้ตัว 2-3 ชนิด และภาพการออกกำลังกายที่อยากให้รู้

          ผมอยากรู้ว่าประชาชนในเขตรับผิดชอบของผมส่วนใหญ่กินอะไรในแต่ละวัน จึงออกเป็นแบบสอบถามตั้งใจให้กรอกว่าเมื่อวานท่านกินอาหารแต่ละมื้อเวลาเท่าไหร่ อะไรบ้าง ปริมาณเท่าใด ไหนๆจะถามแล้วเลยถือโอกาสประเมินความเครียดไปด้วยซะเลย ใช้เวลาหาใน Google ไม่นานก็ได้แบบมาตรฐานมา

           เริ่มกระบวนการ   ด้วยการแนะนำตัว ทำ BAR กันสักหน่อย ส่วนใหญ่พูดเหมือนโปรแกรมกันมาแล้วว่ามารับความรู้ จะมีต่างบ้างก็คือลงรายละเอียดว่าเป็นความรู้เกี่ยวกับ เบาหวาน ความดัน มะเร็งปากมดลูก เป็นต้น ผมให้ทุกคนนึกถึงความสุขสมัยวัยเด็กแล้ววาดออกมาเป็นภาพ มีคำถามว่าทำไมต้องวัยเด็ก ก็เลยเปลี่ยนเป็นวัยในก็ได้ที่นึกขึ้นมาแล้วมีความสุข วาดเสร็จก็พักทานอาหารว่าง(เป็นน้ำสมุนไพร) กลับมาต่อด้วยจับคู่ข้ามหมู่บ้านส่งมอบความสุขผ่านการเล่าเรื่อง บรรยากาศค่อนข้างสนุกสนาน เมื่อเล่าจบรวมกลุ่มใหญ่ก็ให้ตัวแทนหมู่ละ ๑ คน ออกมาพร้อมภาพของเพื่อนที่เล่าให้เราฟังแล้วถ่ายทอดให้กลู่มใหญ่ฟัง หมดเวลาพักเที่ยงพอดี

            บ่ายเราเริ่มด้วย โปรแกรมผ่อนพักตระหนักรู้ ใช้เวลาประมาณ สามสิบนาที ทุกคนลุกขึ้นมาด้วยท่าทีกระปรี้กระเป่า จากนั้นก็เป็นบทบาทของหมอตุ้ม แพทย์แผนไทยของเราที่มาแบ่งกลุ่มตามธาตุของผู้ร่วมกิจกรรม(ดิน น้ำ ลม ไฟ) และบรรยายทำความรู้จักธาตุของตนเอง เป็นที่สนุกสนาน โดยเฉพาะเมื่อถึงตอนบรรยายถึงสมรรถนะของแต่ละธาตุ

      จบลงด้วยการบ้านที่ให้ทุกคนนำพืชผักที่เหมาะสมกับธาตุของตัวเองมาด้วยในวันพรุ่งนี้ หรือจะเอามาเผื่อเพื่อนธาตุอื่นด้วยก็ไม่ขัดข้อง

หมายเลขบันทึก: 398797เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2010 13:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 09:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

"วันนี้ เราขาดคน ที่จะยอมตนเป็น อิฐก้อนแรก ที่ทิ้งลงไปและก็จมอยู่ที่นั่น

เพื่อที่จะให้ก้อนอื่นๆ ถม ทับ ตนอยู่ที่นั่น

และเสร็จแล้ว เจ้าก้อนที่จะปรากฎเป็นที่รู้จักของสังคมก็คือ ก้อนที่อยู่เหนือก้อนอื่นสุด

ส่วนก้อนแรกนั้นก็จมดินอยู่นั่นเอง

เราหาคนอย่างนี้ไม่ค่อยได้ จึงไม่ค่อยมีอะไรที่ใหม่ ที่มีคุณค่าออกมา"

โกมล คีมทอง

20 กรกฎาคม 2513 จม.ถึง นางแถมสุข นุ่มนนท์

เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เรายัง ขาดความรู้และทักษะ ใน ด้านพฤติกรรมบำบัด มากครับ

คงต้องแก้ กัน อีกยาว เพราะ มีแต่ให้สุขศึกษา ผู้ป่วยซึ่งไม่ช่วยเรื่องการ

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ได้ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท