ความแตกต่างของระบบ


บ้านเราใช้โรงพยาบาลเป็นฐาน หมายความว่าด้วยการที่ให้ประชาชนมีสิทธิเลือกโรงพยาบาลหลักและเปลี่ยนได้ด้วยปีละสองครั้งถ้าต้องการ(ซึ่งคนไทยไม่ค่อยรู้สิทธินี้)ต่างจากประเทศดังกล่าวซึ่งประชาชนทุกคนต้องเลือกแพทย์ประจำตัว

      ผมทบทวนเอกสารหลายชิ้นและนึกย้อนถึงเรื่องราวที่ได้มีโอกาสไปดูมาที่นอร์เวย์และเดนมาร์ก พบว่าความแตกต่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือการเลือกจุดเชื่อมต่อระบบของบริการสุขภาพ บ้านเราใช้โรงพยาบาลเป็นฐาน หมายความว่าด้วยการที่ให้ประชาชนมีสิทธิเลือกโรงพยาบาลหลักและเปลี่ยนได้ด้วยปีละสองครั้งถ้าต้องการ(ซึ่งคนไทยไม่ค่อยรู้สิทธินี้)ต่างจากประเทศดังกล่าวซึ่งประชาชนทุกคนต้องเลือกแพทย์ประจำตัว ซึ่งมีโควตาไว้ว่าสามารถรับได้ไม่เกินเท่าใด ทำหน้าที่สำคัญคือเป็นด่านหน้าของระบบบริการสาธารณสุข ( Gate Keeper ) หลักการนี้สะท้อนปรัชญาสามประการคือ

POWER 

TRUST

CAPACITY

                  ของแพทย์ปฐมภูมิของเขาที่เรียกว่า General Practitioner ซึ่งเขามีความภูมิใจว่าเป็นวิชาชีพที่ประชาชนส่วนใหญ่ให้ความชื่นชมจะเป็นรองก็แค่บรรณารักษ์ของห้องสมุดเท่านั้น(จากการทำการสำรวจประชาชนทั้งประเทศ...เขาว่างั้น) และที่สำคัญเขาถือว่า GP เป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาหนึ่ง ต้องเรียนต่อหลังจบแพทย์อีก ๕ ปี

     เมื่อเช้าได้ยินข่าวผ่านทางสถานีวิทยุถึงการเปิดตัวโครงการความร่วมมือระหว่าง 4 หน่วยงานในการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวเพื่อคืนถิ่นไปอยู่ในโรงพยาบาลที่อยู่ในเขตทุรกันดาร ฟังดูเหมือนจะมาถูกทิศแต่จะถูกทางหรือไม่คงต้องคอยดูกันต่อไป

หมายเลขบันทึก: 398808เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2010 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 10:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็น ความรู้ที่น่าสนใจมากๆ ครับ แพทย์ประจำตัว บ้านเรา แพทย์ชนบท ย้ายบ่อยครับ

บ้านเราคนยังไม่ค่อยรู้จักว่ามีแพทย์ประจำครอบครัว (Fammily Medicine) ซึ่งเกิดขึ้นแล้วครับ

ขึ้นอยู่กับการคัดเลือกคนเข้ารับทุนคะ

มีความเชื่อลึกๆ ว่า ถ้าไม่รีบร้อนเพิ่มจำนวน

มีระบบคัดสรรดีๆ เข้มๆ เอาตัวจรง

จะมีผลดีกว่าในระยะยาว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท