470.มีคำถามมา :เป็นฮอร์โมนที่เหมือนหรือต่างจากปุ๋ยที่เป็นสูตรอย่างไร ในกล้วยไม้ ครับ


ผู้ถาม : คุณกล้วยไข่ - 3 ตุลาคม 2553 - http://gotoknow.org/ask/dang145/14334

คำถามคือ : ขอสอบถามอาจารย์ค่ะ คือเพิ่งจะเลี้ยงกล้วยไม้ แล้วคนขายกล้วยไม้เค้าให้ซื้อปุ๋ยกล้วยไม้ด้วย บอกว่าเป็นปุ๋ยเร่งดอก-ขวดสีชมพู(กระปุกเล็กกลม) และเร่งราก-สีเขียว ข้างขวดบอกว่าเป็นฮอร์โมน อยากสอบถามว่าเหมือนหรือต่างจากปุ๋ยที่เป็นสูตรอย่างไร และใช้เพียง 2 กระปุกนี้ฉีดพ่นกล้วยไม้อาทิตย์ละ 1 ครั้งผสมกันเลยจะได้ไหม

ผมตอบดังนี้ครับ :
1.ถ้าพิจารณาว่า ปุ๋ยกับฮอร์โมนนั้น...ตัวไหนกันแน่ ที่เร่งดอกกล้วยไม้...ผมตอบได้เลยว่า ได้ทั้ง 2 ตัวน่ะครับ...เพราะการออกดอกของกล้วยไม้ มีปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้องหลายปัจจัย ที่ล้วนสำคัญพอ ๆ กัน และเกี่ยวเนื่องกันนะครับ....เช่น ปุ๋ยฟอสฟอรัส(P) ช่วยส่งเสริมการพัฒนาตาดอก , ฮอร์โมนกลุ่มออกซิน(Auxin) ก็ช่วยพัฒนาการเปลี่ยนแปลงจากเซลธรรมดาไปเป็นเซลสืบพันธุ์ได้ น่ะครับ....

ดังนั้น สารที่ร้านค้าบอกว่าเป็นปุ๋ยเร่งดอก หรือข้างขวดบอกเป็นฮอร์โมนนั้น ถ้าช่วยเร่งให้กล้วยไม้ออกดอกได้จริง ก็ถือว่า ใช่ นะครับ เพียงแต่เราไม่ทราบว่า ที่ใช่ เพราะเป็นปุ๋ย หรือเป็นฮอร์โมน หรือเป็นทั้งสองอย่าง ผสมในขวดเดียวกันนะครับ...ดังนั้น ในทางเคมีเกษตร การระบุสารออกฤทธิ์ที่แท้จริงข้างขวด จึงเป็นสิ่งจำเป็น และกฎหมายบังคับด้วยครับ...ถ้าไม่มี แสดงว่า อาจจะใช่ หรือไม่ ก็ได้ครับ ไม่รับประกัน และอาจจะผิดกฎหมายทางด้านการจำหน่ายเคมีเกษตรด้วยนะครับ

2.การจะนำมาฉีดพ่นอาทิตย์ละครั้ง ผสมกันเลยจะได้ไหมนั้น...ต้องดูชนิดของต้นกล้วยไม้ก่อนนะครับ คือ...

2.1.ถึงฤดูที่กล้วยไม้ชนิดนั้นจะออกดอกได้แล้วหรือยัง หรือกล้วยไม้นั้น ออกดอกได้ตลอดปี น่ะครับ

2.2.ต้นกล้วยไม้นั้นเจริญเติบโตพอที่จะออกดอกได้แล้วหรือยัง (ทางวิชาการเรียกว่า ผ่าน Juvenilityแล้ว) น่ะครับ

2.3.สภาพโรงเรือน เอื้อต่อการให้กล้วยไม้ออกดอกได้หรือยัง เช่น การพรางแสง การให้น้ำ ฯลฯ น่ะครับ...

2.4.อย่าไปยึดมั่นกับสารต่าง ๆ ที่จะทำให้กล้วยไม้ออกดอกได้ มากไปเลยนะครับ...บำรุงกล้วยไม้ของเราให้สมบูรณ์ แข็งแรง สภาพแวดล้อม โรงเรือนดี...ดีกว่านะครับ....แล้วกล้วยไม้ก็พร้อมที่จะให้ดอกที่สมบูรณ์ สวยงามแก่เราเองนะครับ....

อยากให้ยึดหลักที่ว่า.....กล้วยไม้ มีดอกช้า ฉันใด....น่ะครับ....

ชยพร แอคะรัจน์
...




คำสำคัญ (Tags): #กล้วยไม้
หมายเลขบันทึก: 400630เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2010 15:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 สิงหาคม 2015 13:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท