สรุปการประชุม PCA CUPสิชล เดือนมิถุนายน2553


ตามโครงการพัฒนาคุณภาพระบบประกันสุขภาพเครือข่ายบริการปฐมภูมิ( PCA)

เรื่องที่ 1  คุณสุคลทิพย์  ครุยทอง  พยาบาลวิชาชีพ  กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน นำเสนอปัญหาและการดูแลผู้รับบริการในงานแม่และเด็กของเครือข่ายอำเภอสิชล  ได้แก่

 การแนะนำฝากครรภ์ตั้งแต่ตั้งครรภ์  อายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์

 แนะนำเรื่องกระบวนการดูแลหญิงตั้งครรภ์  การตรวจครรภ์ตามนัด  เจ้าหน้าที่ควรบันทึกผลการตรวจครรภ์ให้ครบถ้วน  การตรวจครรภ์ตามเกณฑ์คุณภาพ  ครั้งที่ 1 ต่ำกว่า 12 สัปดาห์  ครั้งที่ 2  น้อยกว่า 27 สัปดาห์   ครั้งที่ 3 28-31 สัปดาห์   ครั้งที่ 4  32-35 สัปดาห์  ครั้งที่ 5  36 สัปดาห์

เมื่ออายุครรภ์  20-24 สัปดาห์ ส่ง ตรวจอุลตราซาวด์ วันพฤหัสบดี เช้า  เพิ่มยา  calcium 1*OD  

อายุครรภ์ 32 สัปดาห์ตรวจเลือดครั้งที่ 2 

อายุครรภ์ 36 สัปดาห์คนที่เคยมีประวัติผ่าตัดคลอดส่งพบแพทย์นัดผ่าตัดคลอด  วันพฤหัสบดี เช้า

การนัดตรวจสุขภาพเด็ก  ทุกวันจันทร์ทำการสุดท้ายของเดือน

 เช้า 09.00-12.00  ตรวจสุขภาพ ให้สุขศึกษาโรงเรียนพ่อแม่ เด็กอายุ 1 เดือน 

บ่าย  13.00-15.00 โรงเรียนพ่อแม่+ตรวจ Hct เด็กอายุ 1 ปี

เรื่องที่ 2  นพ.เอกรัฐ  จันทร์วันเพ็ญ  หารือเรื่องการเข้าร่วมประชุมการพัฒนาเครือข่ายบริการปฐมภูมิ       ( PCA  ) ณ อ่าวลึก จ.กระบี่ในวันที่ 19-20 กรกฎาคม 2553  ประกอบด้วย

1. การจัดการเครือข่ายNetwork  ประกอบด้วย

                1.  ผอ.รพ. หรือผู้แทน  (นพ.เอกรัฐ  จันทร์วันเพ็ญ)

                2. สสอ.(นายสุริยะ  วงษ์มะยุรา)

                3. นวก.สสอ.(นายวิรัลวิชญ์  รู้ยิ่ง)

                4. หัวหน้าฝ่ายการพยาบาล(นางสุวนีย์  จุทิ่น)

                5. หัวหน้าฝ่ายทันตกรรม

2. การแลกเปลี่ยนเรื่อง HHC

                1. นวก.ในรพ./สอ.  (สอ.ท่าหิน  ท่าควาย)

                2. พยาบาลใน PCU  ที่รับผิดชอบงาน HHC

                3. พยาบาลในโรงพยาบาล  (นางสุคลทิพย์  ครุยทอง)

                4. หัวหน้ากลุ่มงานเวช  (นางบุปผา  เลิศวาสนา)

                5. พยาบาลหัวหน้าward  แผนกเยี่ยมบ้าน (รับผิดชอบ discharge plane)

รูปแบบการจัดประชุม

                1.  การประชุมกลุ่มรวม

                2.  การเล่าเรื่อง/กลุ่มย่อย  ด้วยกระบวนการ KM

เรื่องที่ 3  นายแพทย์เอกรัฐ  จันทร์วันเพ็ญ  สรุปการติดตามงานPCA เครือข่ายอำเภอสิชล เมื่อวันที่ 31/05/2553  เกณฑ์ PCA             

1. ของหน่วยบริการ สอ.   บริบททั่วไปของพื้นที่  หมวด P  หมวด 3 (รู้จัก ผู้รับบริการหรือลูกค้า  วัดความพึงพอใจ  การสร้างความสัมพันธ์) 

หมวด 6  ข้อ 6.1  กระบวนการให้บริการที่สร้างคุณค่าของระบบบริการปฐมภูมิ

 6.1.1  การจัดระบบบริการสุขภาพโดยรวมของหน่วยบริการปฐมภูมิและเครือข่าย 

6.1.2  การบริการปฐมภูมิระดับบุคคลและครอบครัวแบบผสมผสานเป็นองค์รวมต่อเนื่อง 

6.1.3  การดูแลสุขภาพของกลุ่มประชากร 

6.1.4  การสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับองค์กรชุมชน

 6.2  กระบวนการสนับสนุนระบบบริการปฐมภูมิ

ข้อเสนอแนะจาก สสจ.

-ให้คะแนนตัวเองตาม ADLI แล้ว note เหตุผล นำมาเทียบกับ O.T

-หมวด P, 3, 6 ควรเสร็จในเดือน ก.ค.2553 แล้วนำมาทำแผนยุทธศาสตร์ ในปีงบต่อไป

การทำแผนบริหารความเสี่ยง

1.ค้นหาความเสี่ยง  จาการเก็บข้อมูล  ดูจากสถิติ  ดูจากข้อมูล ข้อร้องเรียน ความพึงพอใจ  ดูจากข้อมูลการประเมิน PCU ปี 2552

                1. IC การทำให้ปราศจากเชื้อ

                2.  ยาหมดอายุ

                3.  การใช้ยาที่ไม่สมเหตุสมผล

                4.  ขยะ

                5.  อุปกรณ์ช่วยฟื้นคืนชีพ

                6.  วัคซีน cold chain

                7.  การใช้ถุงพลาสติก

ให้พิจารณาตามลำดับความสำคัญและมีการพัฒนาดำเนินการลดความเสี่ยง

เรื่องที่ 3 คุณนภัสฐพร  แส งอรุณ  พยาบาลวิชาชึพชำนาญการ รพ.สิชล นำเสนอวิชาการ

1. เรื่องโรคท้องเดิน/อุจจาระร่วง  การประเมินอาการและภาวะขาดน้ำและเกลือแร่                     1. mild dehydration  2. moderate  dehydration  3.severe  dehydration  การซักประวัติ  ถ่ายมานานเท่าใด ลักษณะ  จำนวนครั้ง  กลิ่น อาการร่วม  รับประทานอะไรได้บ้าง  สาเหตุการเกิด  เป็นคนเดียวหรือเป็นหลายคน   การให้การรักษา  อาการไม่รุนแรงกินได้มากกว่าน้ำออก  ให้กินสารละลายน้ำตาลเกลือแร่  รักษาตามอาการ  และสาเหตุที่เกิด  อาการที่ต้องส่งโรงพยาบาล  ท้องเสียไม่ดีขึ้นภายใน 24 ชม.  อาเจียนรุนแรงไม่สามารถกินอาหารหรือน้ำทดแทน  มีภาวะขาดน้ำตั้งแต่  moderate  dehydration    ถ่ายพุ่งเป็นน้ำซาวข้าว  ถ่ายเป็นมูกเลือด   มีไข้สูง หนาวสั่น  ซึมลง  เบื่ออาหาร

2.  เรื่อง DYSPEPSIA  เป็นปัญหาที่พบบ่อย  การซักประวัติและการตรวจร่างกายเราพอจะบอกได้ว่าอาการของผู้ป่วยน่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร  การให้คำแนะนำเรื่องการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา   งดบุหรี่ แอลกอฮอล์ งดชา กาแฟ   หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด  เปรี้ยวจัด อาหารมัน  น้ำอัดลม  รับประทานอาหารให้อิ่มพอดี  เคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน  พักผ่อนให้เพียงพอ  ผ่อนคลายความเครียด  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  เน้นให้ตรวจตามนัดเพื่อติดตามอาการ

เรื่องที่  4 เภสัชกรปิยพร  ขนอม  นำเสนอเรื่องการใช้ยาสำหรับผู้ป่วย  โรคท้องเดิน/อุจจาระร่วง    และDYSPEPSIA

หมายเลขบันทึก: 401420เขียนเมื่อ 7 ตุลาคม 2010 16:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:51 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท