บทสวดพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ในงานศพ รู้มั๊ย ! ที่พระท่านสวด หมายความว่าอย่างไรบ้าง ?


 

 

 พระอภิธรรมปิฎกมีอยู่ ทั้ง สิ้น ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งออกเป็น ๗ คัมภีร์ เรียกโดยย่อว่า สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ (หัวใจพระอภิธรรม) ได้แก่

 ๑. คัมภีร์ธัมมสังคณี ว่าด้วยธรรมะที่ประมวลไว้ เป็น หมวดเป็นกลุ่ม เรียกว่า กัณฑ์ มี ๔ กัณฑ์ คือ

 ๑) จิตตวิภัตติิกัณฑ์ แสดงการจำแนกจิตและเจตสิก เป็น ต้น

๒) รูปวิภัตติกัณฑ์ แสดงการจำแนกรูปเป็นต้น

๓) นิกเขปราสิกัณฑ์ แสดงธรรมที่เป็นแม่บท (มาติกา) ของปรมัตถธรรม

๔) อัตถุทธารกัณฑ์ แสดงการจำแนกเนื้อความตาม แม่ บท ของปรมัตถธรรม

 ๒. คัมภีร์วิภังค์ แสดงการจำแนกปรมัตถธรรมออกเป็น ข้อ ๆ แบ่งออกเป็น ๑๘ วิภังค์ เช่น จำแนกขันธ์ (หมายถึง ขันธ์ ๕ อันประกอบด้วย รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณขันธ์ รูปขันธ์ ก็คือ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ เป็นเจตสิก ส่วนวิญญาณขันธ์ ก็คือ จิต ดังนั้น ขันธ์ ๕ ก็คือ จิต เจตสิก รูป นั่นเอง) เรียกว่า ขันธวิภังค์

 ๓. ธาตุกถา แสดงการจัดหมวดหมู่ของปรมัตถธรรมโดยสงเคราะห์ด้วย ธาตุ (ธรรมชาติที่ ทรงไว้ซึ่งสภาพของตน)

 ๔. คัมภีร์ปุคคลบัญญัติ ว่าด้วยบัญญัติ ๖ ประการและแสดงรายละเอียดเฉพาะบัญญัติอัน เกี่ยวกับบุคคล

 ๕. คัมภีร์กถาวัตถุ ว่าด้วยคำถามคำตอบประมาณ ๒๑๙ หัวข้อ อันถือเป็นหลักในการตัดสินพระธรรมวินัย

 ๖. คัมภีร์ยมก ในคัมภีร์นี้จะยกหัวข้อปรมัตถธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ ๆ

 ๗. คัมภีร์มหาปัฏฐาน แสดงเหตุปัจจัยและแสดงความ สัมพันธ์ อันเป็นเหตุ เป็นผลที่อิงอาศัยซึ่งกันและกันแห่งปรมัตถธรรมทั้งปวงโดยพิสดาร

 สรุปแล้ว พระอภิธรรมก็คือ ธรรมะหมวดที่ ๓ ในพระไตรปิฎกที่สอนให้รู้จักธรรมชาติอัน แท้จริงที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลายอันได้แก่จิต เจตสิก รูป และรู้จักพระนิพพานซึ่งเป็นจุดหมาย อันสูงสุดในพระพุทธศาสนา

 ธรรมชาติ ทั้ง ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพานนี้รวมเรียกว่า ปรมัตถธรรม หากแปลตามศัพท์ คำว่า อภิธัมม หรือ อภิธรรม แปลว่า ธรรมอันประเสริฐ ธรรมอันยิ่ง ธรรมที่อยู่แท้จริงปราศจากสมมุติ เนื้อความในพระอภิธรรมเกือบทั้งหมด จะกล่าวถึงปรมัตถธรรมล้วน ๆ โดยไม่มี บัญญัติธรรม (สมมุติโวหาร) เข้ามาเกี่ยวข้อง

บทที่ ๑ พระสังคิณี

 กุ สะลา ธัมมา อะกุสะลา ธัมมา อัพยากะตา ธัมมา, กะตะเม ธัมมา กุสะลา, ยัสมิง สะมะเย กามาวะจะรัง กุสะลัง จิตตัง อุปปันนัง โหติ โสมะนัสสะสะหะคะตัง ญาณะสัมปะยุตตัง รูปารัมมะณัง วา สัททารัมมะณัง วา คัณธารัมมะณัง วา ระสารัมมะนัง วา... โผฏฐัพพา รัมมะณังวา ธัมมา รัมมะณัง วา ยัง ยัง วา ปะนะรัพภะ ตัสมิงสะมะเย ผัสโส โหติ อะวิเข โป โหติ เย วา ปะนะ ตัสมัง สะมะเย อัญเญปิ อัตถิ ปฏิจจะสะมุปปันนา อรูปิโน ธัมมา อิเม ธัมมา กุสะลา.

พระสังคิณี (แปล)

 ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ธรรมทั้งหลายที่เป็นอกุศล ธรรมทั้งหลายที่เป็นอัพยากฤต ธรรมเหล่าไหนเป็นกุศล ในสมัยใด กามาวจรกุศลจิตที่สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุคด้วยญาณเกิดขึ้น ปรารภอารมณ์ใดๆ จะเป็นรุปารมณ์ก็ดี สัททารมณ์ก็ดี คันธารมณ์ก็ดี รสารมณ์ก็ดี โผฏฐัพพารมณ์ก็ดี ธรรมารมณ์ก็ดี ในสมัยนั้น ผัสสะ ความฟุ้งซ้านย่อมมี อีกอย่างหนึ่งในสมัยนั้น ธรรมเหล่าใดแม้อื่น มีอยู่ เป็นธรรมที่ไม่มีรูป อาศัยกันและกันเกิดขึ้น ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล.

บทที่ ๒ พระวิภังค์

 ปัญจักขันธา รูปักขันโธ เวทะนากขันโธ สัญญากขันโธ สังขารักขันโธ วิญญาณักขักขันโธ, ตัตถะ กะตะโม รูปักขันโธ, ยังกิญจิ รูปัง อะตีตานาคะ ตะปัจจุปปันนัง อัชฌัตตัง วา พะหิตธา วา โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา ทีนัง วา ปะณีตัง วา ยัง ทูเร... วา สันติเก วา ตะเทกัชฌัง อภิสัญญูหิตวา อภิสังขิปิตวา อะยัง วุจจะติ รูปักขันโธ.

 พระวิภังค์ (แปล)

 ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ บรรดาขันธ์ทั้งหมด รูปขันธ์เป็นอย่างไร รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุปัน ภายในก็ตาม หยาบก็ตาม ละเอียดก็ตาม เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม อยู่ไกลก็ตาม อยู่ใกล้ก็ตาม นั้นกล่าวรวมกันเรียกว่ารูปขันธ์

บทที่ ๓ พระธาตุกะถา

 สังคะโห อะสังคะโห, สังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง อะสังคะหิเตนะ สังคะหิตัง สังคะหิเตนะ สังคะหิตัง อะสังคะหิเตนะ อะสังคะหิตัง สัมปะโยโค วิปปะโยโค, สัมปะยุตเตนะ วิปปะยุตตัง วิปปะยุตเตนะ สัมปะยุตตัง อะสังคะหิตัง.

 พระธาตุกะถา (แปล)

การสงเคราะห์ การไม่สงเคราะห์ คือ สิ่งที่ไม่ให้สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้ สิ่งที่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ได้ สิ่งที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับสิ่งที่สงเคราะห์ไม่ได้ การอยู่ ด้วย กัน การพลัดพรากคือ การพลัดพรากจากสิ่งที่อยู่ ด้วย กัน การอยู่ร่วมกับสิ่งที่พลัดพรากไปจัดเป็นสิ่งที่สงเคราะห์ ไม่ได้.

บทที่ ๔ พระปุคคะละปัญญัตติ

 ฉะ ปัญญัตติโย ขันธะปัญญัติ อายะตะนะปัญญัตติ ธาตุปัญญัตติ สัจจะปัญญัตติ อินทริยะปัญญัตติ ปุคคะละปัญญัตติ, กิตตาวะตา ปุคคะลานัง ปุคคะละปัญญัตติ, สะมะยะวิมุตโต อะสะมะยะวิมุตโต กุปปะธัมโม อะกุปปะธัมโม ปะริหานะธัมโม อะป...ะริ หานะธัมโม เจตะนา ภัพโพ อนุรักขะนาภัพโพ ปุถุชชะโน โคตระภู ภะยูปะระโต อะภะยูปะระโต ภัพพาคะมะโน อะภัพพาคะมะโน นิยะโต อะนิยะโต ปฏิปันนะโก ผะเลฏฐิโต อะระหา อะระหัตตายะ ปฏิปันโน.

 พระปุคคะละปัญญัตติ (แปล)

 บัญญัติ ๖ คือ ขันธบัญญัติ อายตนบัญญัติ ธาตุบัญญัติ สัจจบัญญัติ อินทรีย์บัญญัติ บุคคลบัญญัติ บุคคลบัญญัติของบุคคลมีเท่าไร มีการพ้นจากสิ่งที่ควรรู้ การพ้นจากสิ่งที่ไม่ควรรู้ ผู้มีธรรมที่กำเริบได้ ผู้มีธรรมที่กำเริบไม่ได้ ผู้มีธรรมที่เสื่อมได้ ผู้มีธรรมที่เสื่อมไม่ได้ ผู้มีธรรมที่ควรแก่เจตนา ผู้มีธรรมที่ควรแก่การรักษา ผู้ที่เป็นปุถุชน ผู้รู้ตระกูลโคตร ผู้เข้าถึงภัย ผู้เข้าถึงอภัย ผู้ไม่ถึงสิ่งที่ควร ผู้ไม่ถึงสิ่งที่ไม่ควร ผู้เที่ยง ผู้ไม่เที่ยง ผู้ปฏิบัติ ผู้ตั้งอยู่ในผล ผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้ปฏิบัติเพื่อพระอรหันต์.

บทที่ ๕ พระกถาวัตถุ

 ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ อามันตา, โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, นะ เหวัง วัตตัพเพ, อาชานาหิ นิคคะหัง หัญจิ ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนะ เตนะ ว...ะตะ เร วัตตัพเพ โย สัจฉิกัตโถ ปะระมัตโถ ตะโต โส ปุคคะโล อุปะลัพภะติ สัจฉิกัตถะปะระมัตเถนาติ, มิจฉา.

 พระกถาวัตถุ (แปล)

 (ถาม) ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ ความหมายที่แท้จริงหรือ

(ตอบ) ใช่... ค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ โดยความหมายที่แท้จริง

(ถาม) ปรมัตถ์ คือ ความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ ค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือโดยความหมายอันแท้จริงอันนั้นหรือ

(ตอบ) ท่านไม่ควรกล่าวอย่างนี้ ท่านจงรู้นิคคะหะเถิด ว่าท่านค้นหาบุคคลไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือ โดยความหมายอันแท้จริงแล้ว ท่านก็ควรกล่าวด้วยเหตุนั้นว่า ปรมัตถ์คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์ คือโดยความหมายอันแท้จริงนั้น คำตอบของท่านที่ว่า ปรมัตถ์คือความหมายอันแท้จริงอันใดมีอยู่ เราค้นหาบุคคลนั้นไม่ได้โดยปรมัตถ์คือ โดยความหมายอันแท้จริงนั้นจึงผิด.

บทที่ ๖ พระยะมะกะ

 เย เกจิ กุสะลา ธัมมา สัพเพ เต กุสะลามูลา, เย วา ปะนะ กุสะละมูลา สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา, เย เกจิ กุสะลา ธัมมา สัพเพ เต กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา, เย วา ปะนะ กุสะละมูเลนะ เอกะมูลา สัพเพ เต ธัมมา กุสะลา.

พระยะมะกะ (แปล)

ธรรมบางเหล่าเป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีกุศลเป็นมูล อีกอย่าง ธรรมเหล่าใดมีกุศลเป็นมูล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดก็เป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดมีอันเดียวกับธรรมที่มีกุศลเป็นมูล อีกอย่างหนึ่ง ธรรมเหล่าใดมีมูลอันเดียวกับธรรมที่เป็นกุศล ธรรมเหล่านั้นทั้งหมดเป็นกุศล.

บทที่ ๗ พระมหาปัฏฐาน

 เหตุปัจจะโย อารัมมะณะปัจจะโย อธิปะติปัจจะโย อนันตะระปัจจะโย สะมะนันตะระปัจจะโย สะหะชาตะปัจจะโย อัญญะมัญญะปัจจะโย นิสสะยะปัจจะโย อุปะนิสสะยะปัจจะโย ปุเรชาตะปัจจะโย ปัจฉาชาตะปัจจะโย อาเสวะนะปัจจะโย กัมมะปัจจะโย วิปากาปัจจะ...โย อาหาระปัจจะโย อินทริยะปัจจะโย ฌานะปัจจะโย มัคคะปัจจะโย สัมปะยุตตะปัจจะโย วิปปะยุตตะปัจจะโย อัตถิปัจจะโย นัตถิปัจจะโย วิคะตะปัจจะโย อะวิคะตะปัจจะโย.

 พระมหาปัฏฐาน (แปล)

 ธรรมที่มีเหตุเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอารมณ์เป็นปัจจัย ธรรมที่มีอธิบดีเป็นปัจจัย ธรรมที่มีปัจจัยหาที่สุดมิได้ ธรรมที่มีปัจจัยมีที่สุดเสมอกัน ธรรมที่เกิดพร้อมกับปัจจัย ธรรมที่เป็นปัจจัยของกันและกัน ธรรมที่มีนิสัยเป็นปัจจัย ธรรมที่มีธรรมเกิดก่อน เป็น ปัจ จัย ธรรมที่มีธรรมเกิดภายหลัง เป็น ปัจ จัย ธรรมที่มีการเสพเป็นปัจจัย ธรรมที่มีกรรมเป็นปัจจัย ธรรมที่มีวิบากเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอาหารเป็นปัจจัย ธรรมที่มีอินทรีย์เป็นปัจจัย ธรรมทีมีฌานเป็นปัจจัย ธรรมที่มีมรรคเป็นปัจจัย ธรรมที่มีการประกอบเป็นปัจจัย ธรรมที่มีการอยู่ไม่ปราศจากเป็นปัจจัย ธรรมที่มีปัจจัย ธรรมที่ไม่มีปัจจัย ธรรมที่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย ธรรมที่ไม่มีการอยู่ปราศจากเป็นปัจจัย.

 

 

 

                       ธรรมรักษา ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 401921เขียนเมื่อ 10 ตุลาคม 2010 19:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

นมัสการพระคุณเจ้าค่ะ การฟังสวดในงานศพ เป็นการฟังที่สักแต่ว่าฟังจริงๆนะคะ เพราะไม่รู้ความหมาย(แล้วจุดประสงค์จริงๆต้องการสวดให้ใครฟังระหว่างคนตายกับคนเป็น) ถ้าเป็นไปได้น่าจะมีการพัฒนาการสวดศพหรือสวดพระอภิธรรมเป็นภาษาไทยน่าจะได้ประโยชน์ที่สูงยิ่ง (เพ้อเจ้อไปหรือไม่คะ) นมัสการมาด้วยความเคารพ

ธรรมสวัสดีโยมครูปู

จุดประสงค์ที่สวดเพื่อให้คนเป็นฟัง

โยมให้ความเห็นไว้ดีมากเลย

หากมีการแปลบทตอนที่สวดในงานศพเป็นภาษาไทยด้วย

ในยุคปัจจุบันนี้คงจะแก้ไขยากแล้ว

ละเพราะพระส่วนใหญ่สวดบาลีจนเป็นปกติ

โยมที่ไปร่วมฟังสวดก็ได้รับประโยชน์น้อย

ธรรมรักษาคุณครูนะสาธุๆ

 

 

ชอบพระคุณมากค่ะท่าน ที่นำเอาความรู้นี้มาฝาก อยากหาอ่านมานานแล้ว ดีมากๆเลยค่ะ

เมื่อก่อน ไม่รู้คำแปลเป็นไทย ฟังสวดก็ไม่รู้ความหมาย พอมาเปิดดูคำแปลจากเน็ต

เป็นธรรมที่มีประโยชน์มาก ตั้งใจไว้ว่าจะสวดพร้อมแปล ทุก ๆ วัน

เยี่ยมมากเลย ความจริงเราต่างพากันไปหลายงานน่าจะศึกษารู้คำแปลบ้าง แต่พระท่านสวดแบบบาลีนี้ดีอยู่แล้ว ครับ ไพเราะดี 

กราบนมัสการหลวงพ่อ กระผมหาคำแปลมานานแล้

ขอบพระคุณครับ ที่ได้รับรู้ความหมาย นบทสวดต่างๆครับ สาธุๆๆๆ

แม้แต่แปลออกมาก็ยังไม่เข้าใจ เพราะเป็นธรรมชั้นสูง แต่ต้องเข้าไปศึกษาเพิ่มต่ออีก เช่นในบท พระธาตุ กะถา การสงเคราะห์ ไม่สงเคราะห์ ฯลฯ ว่ามันความหมายว่าอย่างไร เป็นต้


เป็นอะไรที่ต้องรีบเปลี่ยน อีกอย่าง การแปลควรจะแปลเป็นภาษาไทยที่คนไทยอ่านรู้เรื่องด้วยครับ

สาธุครับ ผมเพิ่งสะกิดใจว่าคำสวดในงานศพบอกอะไร ค้นมาจนถึงตรงนี้ ได้เกิดความเข้าใจขึ้นมาบ้าง ว่าที่แท้พระท่านสรุปธรรมให้ประจักษ์ ย้ำว่าธรรมจักเป็นเช่นนี้ๆ ต่อไปๆ

ผมคงได้ฟังและพยายามอ่านคำแปลแล้ว ก็จะยังไม่มีทางเข้าใจได้ นอกเหนือไปจากที่ผมได้ปฏิบัติแล้วและเห็นแล้ว

อย่างไรก็ดี นี่ทำให้ผมได้รู้ว่า ผมายัง​้องเดินทางต่อไปในการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธองค์อีกยาวไกลเหลือเกิน

อยากให้ท่านภาษาไทยเป็นไทยอีกทีค่ะ อ่านแล้วไม่เข้าใจค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

สรุปเอาก็ได้ค่ะ

ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

เจตนารมย์ในบทสวดพระอภิธรรม เป็นการสวดแสดงสายพิจรณาธรรมล้วนๆ แต่เอาเกี่ยวกับโลกหยาบๆ ทำให้คนทั่วๆไปตีความตามคำแปลแต่ไม่เข้าใจความหมายจริงๆ แค่ แค่บทสรุปยอดพระอภิธรรม อนิจจัง วตสัง….สังวูปสโม สุขโข ท่านว่าสังขารทั้งหลายไม่เที่ยง เราก็ไพร่ไปตีความเป็น ร่างกายเนื้อตัว มีเกิดแก่ อะไรไปโน่น ท่านว่า หากเข้าไปดับสังขารเสียได้เป็นสุขอย่างยิ่งเราจะเห็นว่า บทสวดที่สาธยายมาตั้งแต่ต้น ไม่ว่าจะ รูป วิญญาณ ฯ ล้วนดับได้ที่ต้นทางที่สังขาร วิ่งจากยอดลงมาที่ต้นทาง แต่ผู้ฝังต้องเข้าใจกระแสธรรมที่กำเนิดในใจตน ถ้าเข้าใจแต่นามสมมุติ ก็ปล่าวประโยชน์ อันนี้ไม่รู้ถูกมั้ยนะ

อยากรู้คำแปล แต่พออ่านยิ่งงงหนัก หรือเราบาปเกิน

การได้รู้ความหมายของบทสวดพระอภิธรรมถือเป็นบุญกุศลอันยิ่งใหญ่จริงๆคับเพราะถ้าเรารู้ความหมายคร่าวๆอาจจะเพียงผิวเผินก้ตามก้ถือว่าได้บุญแล้วเพราะสามารถนำไปปฏิบัติตามได้ต่อไป ผมนั่งเขียนคอมเม้นท์นี้ขณะมานั่งฟังสวดพระอภิธรรมพอดี รู้สึกอิ่มเอิบใจที่ได้รู้ความหมายขณะพระสวดคับ อนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยนะคับ โดยเฉพาะท่านอาจารย์ที่เขียนคำแปลในบล๊อกนี้นะคับ🙏🙏🙏

บทสวดพระอภิธรรม แม้แปลเป็นภาษาไทยแล้ว อย่างไรก็ไม่มีทางเข้าใจได้โดยง่าย เนื่องจากยกเฉพาะหัวข้อมาเรียงคำต่อกันเท่านั้น เหมือน Slide Power point ที่มีแต่หัวข้อ ต้องมาอธิบายรายละเอียด ยกตัวอย่างประกอบ ทีละหัวข้อ จึงจะเข้าใจ พระท่านสวดไม่ถึง 10 นาที แต่ถ้าจะศึกษาให้กระจ่างแจ้งอย่างจริงจัง ใช้เวลากว่า 4 - 7 ปี

นายสวัสดิ์ บรรจงพาศ

ไปนั่งฟังพระสวดในงานศพแล้ว ฟังและแปลไม่ได้ว่าพระสวดอะไร บอกอะไร สอนอะไรบ้าง ถ้าเป็นแบบนึ้ไปเรื่อยๆแล้วชาวพุทธจะได้อะไรจากการนั่งฟังพระสวดในงานศพ(ฟังที่วัดอนงคาราม คลองสาน สมเด็จเจ้าพระยา)อึดอัดมาก ไม่ำด้อะไรเลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท