เครือข่ายประชาสังคมกรุงเทพกับการปฏิรูปประเทศไทย เวทีเรียนรู้ของบางกอกฟอรั่ม(๒)


ต่อจากบันทึก....เครือข่ายประชาสังคมกรุงเทพกับการปฏิรูปประเทศไทย เวทีเรียนรู้ของบางกอกฟอรั่ม(๑)

Large_img_9211

 

 

ประเด็นที่ผมได้เรียนรู้จากเวที บางกอกฟอรั่ม

คนที่เข้ามาร่วม (Participants) ผม หมายถึง ตัวแทนภาคประชาสังคมของกรุงเทพมหานคร จำนวนกว่า ๒๐+ คน ในเวทีวันนี้มีลักษณะเป็น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change agents) หรือที่ผมใช้คำแทนว่าคนเหล่านี้เป็น “Change Facilitators” และการเปลี่ยนแปลงเริ่มจากตัวเอง ไปยังกลุ่ม และชุมชน เครือข่าย “จากปัจเจกสู่สาธารณะ” มีจิตสำนึกสาธารณะที่มีพฤติกรรมเอาธุระ และเป็นบุคคลต้นแบบ (Role Model)

 

กระบวนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นผ่านงานพัฒนาที่ ตัวแทนภาคประชาสังคมนำเสนอเกิดจากปัญหา,วิกฤติใดๆก็ตามเป็นปัจจัยเร่งที่ทำให้คนรวมตัวกัน เปิดเวทีการเรียนรู้อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ระดมทางเลือกใหม่ในการแก้ไขปัญหา ที่ตระหนักว่า วิธีการเดิมที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ วันนี้กลับลดพลังลง จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหากระบวนการแก้ไขปัญหาใหม่ๆที่มีประสิทธิภาพในการแก้ไขปัญหาเช่นเดิม ในที่สุดผลของการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นผ่านบริบทที่กล่าวมาแล้ว ถูกผลักเป็นนโยบายในระดับท้องถิ่น ตลอดจนผลักดันสู่นโยบายระดับที่สูงขึ้นไปได้

 

พัฒนาการของการพัฒนา ผมพบว่าตัวแทนภาคประสังคม มองไปยังฉากอนาคตถึงความยั่งยืนของการแก้ไขปัญหาว่า “จะยั่งยืนได้อย่างไร” กระบวนการเพื่อการสานต่อพลังคนทำทาง ก็คือ การสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีจิตสาธารณะที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้งานพัฒนา พร้อมที่จะเดินทางต่อไปยังเป้าหมายที่พึงประสงค์ นั่นก็คือ ความเข้มแข็งและพึ่งตนเองได้ของชุมชน

วิธีคิด ที่ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก ไม่ยอมจำนนต่อโชคชะตา อย่างน้อยก็ขอให้ “อยู่รอด ปลอดภัย” ในสังคมปัจจุบัน ส่วน “อยู่ดี มีสุข” จะเป็นกระบวนการที่ช่วยกันสรรค์สร้างต่อไป

 

การหนุนเสริม จากทางภาครัฐและเอกชน ในรูปแบบของงบประมาณและกระบวนการเรียนรู้ที่ช่วยเสริมพลังให้กับคนท้องถิ่น

 

กิจกรรมที่เกิดขึ้น โดยส่วนตัวผมไม่ค่อยได้เจาะลึงในรายละเอียดของกิจกรรมมากนัก แต่เมื่อนั่งฟังรายละเอียดพบว่า วิธีคิด(Concepts) และ มุมมอง (Views) เป็นฐานสำคัญในการเกิดกิจกรรม พลังขับธรรมชาติของการเชื่อมร้อยพลังของคนที่ทุกข์ร้อนด้วยกัน ร่วมกันคิดหาทางออกในหลากหลายรูปแบบ และการเรียนรู้ว่ากิจกรรมที่ขาดกระบวนการเรียนรู้นั้นมักจะตายสนิทระหว่างทาง

 

กิจกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงหลังจึงแฝงไปด้วยช่องทางการเรียนรู้ร่วมกันแบบเนียนๆ มีการสรุปและถอดบทเรียนรายทาง หากเรามองให้ลุ่มลึกก็พบว่า นี่คือ กลยุทธ์หนึ่งในการเปลี่ยนแปลงสังคม ผ่านพลังของคนฐานรากที่มีเงาของภาครัฐ,เอกชน ที่เอื้อกระบวนการอยู่ด้านหลัง

 

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

New world City Hotel

กรุงเทพฯ ๑๒/๑๐/๕๓

คำสำคัญ (Tags): #บางกอกฟอรั่ม
หมายเลขบันทึก: 402310เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2010 16:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 13:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

แอบก้าวตาม..เป็นก้าวที่สอง พร้อมกำลังใจ ครับ ;)

  • อย่างน้อยอยู่รอดปลอดภัย อยู่ดีมีสุขค่อยสร้างสรรค์ต่อไป..หากแนวคิดมีความพอเพียงแฝงอยู่ในใจเช่นนี้ ความสุขเกิดได้ทันทีเลยนะครับ
  • กิจกรรมที่ขาดกระบวนการเรียนรู้นั้นมักจะตายสนิทระหว่างทาง..ขอบคุณความรู้ครับ
  • แวะมาเยี่ยมเยียนและเรียนรู้ครับ
  • เรียนไม่รู้จบจริงๆ นะครับ
  • เพลงเพราะดี...น้องเอกสบายดีนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท