โลกมีผู้นำเพิ่มขึ้นอีก 3 และสะท้อนถึงภาวะผู้นำของนายกฯอภิสิทธิ์


 

ติดตามอ่านบทความแนวหน้าย้อนหลังได้ที่

http://www.naewna.com/allnews.asp?ID=97&HL=0&no=1

 

โลกมีผู้นำเพิ่มขึ้นอีก 3 และสะท้อนถึงภาวะผู้นำของนายกฯอภิสิทธิ์

 
คนในโลกใจจดจ่อกับการช่วยเหลือคนงานเหมืองที่ชิลี ซึ่งปฏิบัติการได้จริงกว่าในหนัง และประสบความสำเร็จ ซึ่งมีปัจจัยที่ไปสู่ความสำเร็จได้หลายด้าน

* การทำงานเป็นทีมมีคนไทย 2 คน ไปร่วมด้วย

* มีเป้าหมายและความมุ่งมั่นให้สิ่งเร้า Execution ได้ดี

* สปิริตของมนุษย์ที่พบอุปสรรคก็รวมพลังที่จะแก้

ปัจจัยเหล่านี้น่าจะส่งผลดีต่อการที่โลกต้องร่วมกันแก้ปัญหา เช่น

* ปัญหาโลกร้อน

* ปัญหาความยากจน

* ปัญหาของโรคเอดส์

ซึ่งปัจจัยการเมือง การทำงานไม่เป็นทีม เป็นอุปสรรคไม่สามารถระดมทรัพยากรของโลกให้ไปสู่ความสำเร็จได้เหมือนกรณีที่ชิลี

ตัวอย่างในชิลีก็เป็นความหวังของโลก ถ้าทุกฝ่ายร่วมมือกัน

สัปดาห์นี้ผมมีโอกาสไปทำงาน 3 เรื่อง

เรื่องแรก เรื่องการไปบรรยายเรื่อง HR Strategy ให้ผู้แทนรัฐวิสาหกิจ 56 แห่ง มี 3 กลุ่มเข้าร่วม

* CEO

* HR

* Non HR

ภาพบรรยากาศ การบรรยายในหัวข้อ "HR Strategy
กับการเปลี่ยนแปลงในโลกอนาคต"จาก บริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด
ให้แก่รัฐวิสาหกิจ 56 แห่ง จำนวน 200 ท่าน




Leadership Development and Happiness Capital
ของ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน โดยได้รับเกียรติจาก
คุณกิตติพงษ์ ภิญโญตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารองค์กร



ของรัฐวิสาหกิจมาร่วมฟัง จัดโดย Tris ซึ่งเป็นบริษัทประเมิน ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง สรุปได้ว่า

HR ส่วนใหญ่ในรัฐวิสาหกิจยังมองกิจกรรมลักษณะงานประจำมากไป ยังขาดการเชื่อมโยงกับเป้าหมายหลักขององค์กร ยังไม่ได้ให้ HR สร้างมูลค่าเพิ่ม

CEO ส่วนมากยังไม่สนใจ เรื่อง HR ยิ่งในระดับ Non HR หรือ Line Managers ยิ่งไม่สนใจและอาจจะขัดแย้งกับ HR ด้วย

ผมคิดว่ายังมีทางออกด้วยการจัด Learning Forum กลุ่มเล็กๆ ไม่เกิน 40 คน

เชิญ 3 ฝ่าย CEO, HR, Non HR หารือกัน เลือกหัวข้อที่เป็นยุทธศาสตร์และ soft skill (ทักษะที่มองไม่เห็น) ปรึกษาดูว่าจะแก้อย่างไร เช่น การทำงานเป็นทีม สร้างการมีส่วนร่วม สร้างทีมข้ามสายงาน การเน้นค่านิยมของตัวเองกับค่านิยมขององค์กรให้ไปด้วยกัน

เรื่องที่สอง เป็นการสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการองค์กรใหม่ สำนักคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) ให้ฝึกผู้นำการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 6 และได้พบคุณกิตติพงษ์ ภิญโญตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารองค์กร สำนักคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สกพ.) ซึ่งร่วมอบรมด้วย ได้เชิญผมไปพูดเรื่อง ภาวะผู้นำและการทำงานอย่างมีความสุข 1 วันเต็ม

องค์กรนี้ใหม่มาก ทำหน้าที่กำกับกิจการด้านพลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและกับประชาชนทั่วไป

ได้พบกับผู้ทำงานที่มีความคิดดี สนใจใฝ่รู้ แต่งานมาก (Workload) จึงควรทำงานอย่างมีความสุขและอย่างฉลาด มีความคิดสร้างสรรค์ โอกาสต่อไปอาจจะต้องเพิ่มเรื่อง

* องค์กรแห่งการเรียนรู้

* นวัตกรรมในการกำกับพลังงาน

หลิว เสี่ยว โป

คิม จอง- อุน

Peter Diamond

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ

สุดท้ายคือ เรื่องพลังงาน นอกจากกลุ่ม GMS ที่รายงานไปแล้วแล้วยังมีกลุ่มนักวิชาการต่างประเทศนำโดย คุณบัณฑิต สุรินทรเสรี เชิญนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญจากญี่ปุ่น เนปาล ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ มาประชุมที่กรุงเทพฯ เน้นเรื่องพลังงานทดแทน อาจจะเป็นสิ่งที่ช่วยฟื้นโลกจากภาวะโลกร้อนและกระตุ้นเศรษฐกิจโลกได้

ผมถูกแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษากลุ่มนี้ อนาคตของไทยและโลกอาจจะอยู่ที่การค้นหาพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทนประเทศ ผู้เชี่ยวชาญในโลกต้องร่วมมือกันมากขึ้น

ผมยังเกาะติดกับเรื่องผู้นำต่อ ช่วงที่ผ่านมาโลกได้รู้จักผู้นำที่เกิดใหม่ และมีความสำคัญต่อโลกมนุษย์ 3 คน

คนแรก คุณหลิว เสี่ยว โป เป็นผู้ต่อสู้สิทธิมนุษยชนของจีน อายุ 52 ปี ได้รับ Nobel Prize สาขาสันติภาพ เป็นนักสิทธิมนุษยชน (Human rights) ถ้าไม่มีรางวัลนี้ให้คุณหลิว โลกก็คงจะลืมว่าจีนยังขาดเรื่องสิทธิมนุษยชน จีนไม่ได้มีแค่เศรษฐกิจขยายตัวเร็วเท่านั้นยังมีอื่นๆ ที่ต้องเอาใจใส่ เช่น ขาดประชาธิปไตย คือประชาชนมีสิทธิเสรีภาพมากขึ้น

คณะกรรมการของนอร์เวย์ ใช้โอกาสแสดงจุดยืนของรางวัล Nobel ให้โลกทราบว่าประเทศจีน เศรษฐกิจอย่างเดียวไม่พอ ต้องให้ประชาชนมีเสรีภาพด้วย

ดูว่าผู้นำจีนจะโต้ตอบอย่างไร? เพราะการแสดงออกของคณะกรรมการ Nobel เป็นจุดที่ผู้นำจีนต้องระวังในการแสดงท่าทีตอบโต้ เพราะปัจจัยเรื่องเสรีภาพเป็นปัจจัยที่ละเอียดอ่อนในระดับโลก

คุณหลิวเคยเป็นนักวิชาการที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบียและเป็นอาจารย์สอนวรรณกรรมของจีน เป็นผู้เขียนคำปฏิญญา Charter 8 ให้จีนมีการเปิดเสรีประชาธิปไตย ปัจจุบันยังถูกจำคุกอยู่

ส่วนผู้นำอีกคนคือ คิม จอง- อุน ผู้นำเกาหลีเหนือคนใหม่ อายุแค่ 26 ปี ซึ่งตัวพ่อ คิม จอง- อิล วางทายาทเขาไว้ เป็นการเข้าสู่ผู้นำ รุ่นที่ 3 โดยใช้ครอบครัว สืบทอดอำนาจจะไปรอดหรือเปล่า? ในยุคใหม่ เพราะการยอมรับของคนในเกาหลีเหนือ การเมืองภายในของเกาหลีเหนือจะขัดแย้งหรือสงบอย่างไร?

ส่วนผู้นำคนสุดท้าย เป็นนักเศรษฐศาสตร์ 1 ใน 3 ของผู้ได้รับรางวัล Nobel prize ทางเศรษฐศาสตร์ปีนี้ คือ

อาจารย์ Diamond มาจาก MIT เขียนบทความไว้กว่า 25 ปี ว่า

การหางานและการจ้างงานที่เป็น Paradox ของตลาดแรงงาน

"ทำไม ขณะมีคนหางาน แต่มีงานเหลือ ไม่มีคนทำ"

คุณ Diamond วิเคราะห์ว่า ต้นทุนในการหางาน (Search Cost) มีราคาแพง เช่น ต้นทุนหาข้อมูลที่ถูกต้องและแม่นยำ ทำให้คนหางานกับงาน ที่ว่างไม่ตรงกัน

ประเด็นก็คือผู้ทำงานในเมืองไทย โดยเฉพาะเด็กจบมหาวิทยาลัย มักจะรีบร้อนหางาน และไม่รอนาน ปรึกษาเพื่อน ปรึกษาพ่อแม่ โดยไม่ลงทุนในการค้นคว้าหาข้อมูลงานที่ตัวเองพอใจ จึงได้งานที่ไม่ชอบและไม่ตรงกับความต้องการ มักจะเปลี่ยนงานบ่อยๆ

ดังนั้น ถ้าลงทุนในการหางาน (Search) มากขึ้น มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อาจจะได้งานที่ตนเองพอใจ

ผู้นำ 3 คนของโลก ทำไมต้องเกี่ยวข้องกับคุณอภิสิทธิ์ ผมต้องเสนอว่าเมืองไทย เราขาดผู้นำทางการเมือง แต่ตัวอย่างคุณอภิสิทธิ์เป็นนักการเมืองที่มีคุณธรรมพร้อม ไม่มีปัญหาคอร์รัปชั่น ปัจจุบันก็มีประสบการณ์มากขึ้น แกร่งยิ่งขึ้น

เพราะความเป็นผู้นำของคุณอภิสิทธิ์จึงกล้าที่จะแสดงจุดยืนกับพรรคภูมิใจไทย ซึ่งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลที่มีบุญคุณในการจัดตั้งรัฐบาล

เพราะการเป็นผู้นำที่ดีก็ต้องนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ คนไทยควรให้กำลังใจคุณอภิสิทธิ์สู้กับระบอบเนวิน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ
[email protected]
www.gotoknow.org/blog/chiraacademy
แฟกซ์ 0-2273-0181
หมายเลขบันทึก: 403389เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2010 05:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:50 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท