มาตรฐานการศึกษาของชาติ


มาตรฐานการศึกษาของชาติ
มาตรฐานการศึกษาของชาติ

อุดมการณ์สำคัญชองการจัดการศึกษา  คือ  การจัดให้มีการศึกษาตลอดชีวิตและการสร้างสังคมไทยเรานั้นเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

มาตรฐานที่  1  คุณลักษณะของคนไทยที่พึงประสงค์  ทั้งในฐานะพลเมืองและพลโลก

คนไทยเป็นคนเก่งคนดีและมีความสุข

 1.1    กำลังกาย  กำลังใจที่สมบูรณ์

1.1.1           คนไทยมีสุขภาพกายและจิตที่ดี  มีพัฒนาการด้านร่างกาย  จิตใจ  สติปัญญา  เจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ตามเกณฑ์การพัฒนาในแต่ละช่วงวัย

1.2    ความรู้และทักษะที่จำเป็นและเพียงพอในการดำรงชีวิต

1.2.1           คนไทยได้เรียนรู้เต็มตามศักยภาพของตนเอง

1.2.2          คนไทยมีงานทำ  และนำความรู้ไปใช้ในการสร้างงานและสร้างประโยชน์ให้สังคม

1.3    ทักษะการเรียนรู้และปรับตัว

1.3.1           คนไทยสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง  รักการเรียนรู้  รู้ทันโลก  รวมทั้งมีความสามารถในการใช้แหล่งความรู้และสื่อต่าง ๆ เพื่อพัฒนาตนเองและสังคม

1.3.2           คนไทยสามารถปรับตัวได้มีมนุษยสัมพันธ์ดี  และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

1.4    ทักษะทางสังคม

1.4.1           คนไทยเข้าใจและเคารพในธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและสังคม  มีทักษะและความสามารถที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างมีความสุข

1.4.2           คนไทยมีความรับผิดชอบ  เข้าใจ  ยอมรับและตระหนักในคุณค่าของวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน  สามารถแก้ปัญหาในฐานะสมาชิกของสังคมไทยและสังคมโลกโดยสันติวิธี

1.5คุณธรรม  จิตสาธารณะและจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก

1.5.1           คนไทยดำเนินชีวิตโดยกายสุจริต  วจีสุจริต  และมโนสุจริต

1.5.2           คนไทยมีความรับผิดชอบทางศีลธรรมและสังคม  มีจิตสำนึกในเกียรติภูมิของความเป็นคนไทย  มีความภูมิใจในชนชาติไทย  รักแผ่นดินไทยและปฏิบัติตนตามระบอบประชาธิปไตย  เป็นสมาชิกที่ดี  เป็นอาสาสมัครเพื่อชุมชนและสังคมในฐานะพลเมืองไทยและพลโลก

มาตรฐานที่  2  แนวการจัดการศึกษา 

จัดการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียนเป็นสำคัญและการบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน

2.1    การจัดหลักสูตรการเรียนรู้และสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ

2.1.1           มีการจัดหลักสูตรที่หลากหลายตามความเหมาะสมของกลุ่มผู้เรียนทุกระบบ  สอดคล้องตามความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น  สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียน

2.1.2           ผู้เรียนมีโอกาส/ สามารถเข้าถึงหลักสูตรต่าง ๆ ที่จัดไว้อย่างทั่วถึง

2.1.3           องค์กรที่ให้บริการทางการศึกษามีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้  มีอาคารสถานที่  มีการส่งเสริมสุขภาพอนามัย  และความปลอดภัย

2.1.4           มีการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้  สื่อเพื่อการเรียนรู้  และการให้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศทุกรูปแบบที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง  และการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

2.2    มีการพัฒนาผู้บริหาร  ครู  คณาจารย์  และบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ  และมีคุณภาพ

2.2.1           ผู้บริหาร  ครู  คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง  เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการและวิชาชีพ

2.2.2           ผู้บริหาร  ครู  คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษามีคุณธรรม  มีความพึงพอใจในการทำงาน  และผูกพันกับงาน  มีอัตราการออกจากงานและอัตราความผิดทางวินัยลดลง

2.2.3           มีแนวโน้มในการรวมตัวจัดตั้งองค์กรอิสระเพื่อสร้างเกณฑ์มาตรฐานเฉพาะกลุ่มและติดตามการดำเนินงานของบุคลากรและสถานศึกษา  ตลอดขนการสั่งสมองค์ความรู้ที่หลากหลาย

2.3    มีการบริหารจัดการที่ใช้สถานศึกษาเป็นฐาน

2.3.1           องค์กร  ชุมชน  มีส่วนร่วมในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ตามสภาพท้องถิ่นสภาพปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียน

2.3.2           ผู้รับบริการ / ผู้เกี่ยวข้องทุกกลุ่มมีความพึงพอใจต่อการจัดบริการทางการศึกษาของสถานศึกษา

2.3.3           มีการกำหนดระบบประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ  และสามารถรองรับการประเมินคุณภาพภายนอกได้

มาตรฐานที่  3  แนวการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ / สังคมแห่งความรู้ 

 การสร้างวิถีการเรียนรู้และแหล่งการเรียนรู้ให้เข้มแข็ง

3.1    การบริการวิชาการและสร้างความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับชุมชนให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ / สังคมแห่งความรู้

3.1.1           สถานศึกษาร่วมมือกับบุคลากรและองค์กรในชุมชนที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย  ทุกระดับ  ร่วมจัดปัจจัยและกระบวนการเรียนรู้ภายในชุมชน  และให้บริการทางวิชาการที่เป็นประโยชน์แก่การพัฒนาคนในชุมชน  เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา  และคนไทยมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต

3.1.2           ชุมชนซึ่งเป็นที่ตั้งขององค์กรที่ให้บริการทางการศึกษามีสถานภาพเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ / สังคมแห่งความรู้  มีความปลอดภัย  ลดความขัดแย้ง  มีสันติสุขและมีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

3.2    การศึกษาวิจัยสร้างเสริม  สนับสนุนแหล่งการเรียนรู้  และกลไกการเรียนรู้

3.2.1           ศึกษาวิจัย  สำรวจ  จัดหา  และจัดตั้งแหล่งการเรียนรุ้ตลอดชีวิตทุกรูปแบบ

3.2.2           ระดมทรัพยากร ( บุคลากร  งบประมาณ  อาคารสถานที่  สิ่งอำนวยความสะดวก  ภูมิปัญญาและอื่นๆ)  และความร่วามมือจากภายในและภายนอกสถานศึกษาในการสร้างกลไกการเรียนรู้ทุกประเภท  เพื่อให้คนไทยสามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้  และสามารถเรียนรู้ตลอดชีวิตได้จริง

3.2.3           ศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และการพัฒนาประเทศ

3.3    การสร้างและการจัดการความรู้ในทุกระดับทุกมิติของสังคม

3.3.1           ครอบครัว  ชุมชน  องค์กรทุกระดับและองค์กรที่จัดการศึกษามีการสร้างและใช้ความรู้  มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนกลายเป็นวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้

 การเรียนรู้  ความรู้  นวัตกรรม  สื่อ  และเทคโนโลยี  เป็นปัจจัยสำคัญของการพัฒนาสู่สังคมแห่งความรู้  การส่งเสริมและสร้างกลไกเพื่อให้คนไทยทุกคนมีโอกาสและทางเลือกที่จะเข้าถึงปัจจัยและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตด้วยรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย  โดยการได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนของสังคมจะนำมาซึ่งการพัฒนาคุณภาพ  ประสิทธิภาพ  และขีดความสามารถของคนไทยในการพัฒนาประเทศ  รวมทั้งการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ

หมายเลขบันทึก: 40449เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2006 18:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท