สรุปประชุมPCA CUPสิชล ตุลาคม 2553


ประชุมคณะกรรมการโครงการ PCA ครั้งที่2/2554 วันที่ 20 ตุลาคม 2553

ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ทราบ

1.  การประชุม ลปรร. PCA Node ระดับประเทศ เมื่อวันที่ 14 -15 ตุลาคม 2553 ณ โรงแรมเอบีน่าเฮาส์ กรุงเทพ โดย นายแพทย์เอกรัฐ  จันทร์วันเพ็ญ  เป็นตัวแทน Node สิชล เข้าร่วมประชุม มีข้อสรุปให้หน่วยบริการปฐมภูมิดำเนินงาน ตามมาตรฐาน PCA โดยยึดหลัก การดูแลแต่แรก  ดูแลต่อเนื่อง และดูแลแบบผสมผสาน  และนำเสนอเป็นตามเอกสารมาตรฐาน PCA ในหมวด P, หมวด 3 และหมวด 6  โดยกำหนดให้สถานีอนามัยทุกแห่งดำเนินการให้แล้วเสร็จและส่งเอกสารที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ ภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553

2. Node สิชลจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับ Node หลังสวน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหัวข้อ การจัดการสุขภาพชุมชนต้นแบบและการดูแลฟื้นฟูผู้พิการในชุมชน ในวันที่ 29-30 พฤศจิกายน  2553 ณ ชายหาดซีฟู๊ด ปากน้ำหลังสวน อำเภอหลังสวน  จังหวัดชุมพร -ข้อเสนอ สสอ.สิชล ขอโควต้าผู้เข้าร่วมสถานีอนามัยละ 1 คน

3. อาจารย์กันยา  จะติดตามเยี่ยมการดำเนินงานตามมาตรฐาน PCA ที่อำเภอท้ายเหมือง จังหวัดพังงาในวันที่ 26-27 ตุลาคม 2553  และขอเชิญเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอสิชลเข้าร่วมด้วย

4. แผนการประชุม PCA

   -ประชุมเดือนละ 1 ครั้ง -กิจกรรมในการประชุม ได้แก่  การนำเสนอเรื่องเล่า หรือ การเยี่ยมบ้าน การนำเสนอแผนที่ชุมชน

ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องสืบเนื่อง

                -จากการประชุมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2553 เรื่องการจัดแผนอำนวยความสะดวกแก่เครือข่าย โดยรถโมบายเครือข่ายสุขภาพอำเภอสิชล  เบื้องต้นจะดำเนินการใน 2 เรื่องคือ การขนส่งวัคซีน และการขนส่งเวชภัณฑ์ยา

                -การขนส่งวัคซีน เริ่มขนส่งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2553 โดยรถโมบายจะขนส่งวัคซีนไปยังสถานีอนามัยทั้ง 13 แห่ง ก่อนวันที่ 15 ของทุกเดือนรายละเอียดแผนการขนส่งจะแนบไฟล์ให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอต่อไป

                -การขนส่งเวชภัณฑ์ยา เริ่มขนส่งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2553 โดยให้สถานีอนามัยส่งใบเบิกก่อนวันที่ 20 ของทุกเดือน โดยวันที่ทำการขนส่งจะให้ อสม.ในเขตตำบลสิชลมาเป็นผู้ช่วยในการขนส่งโดยสถานีอนามัยจะสนับสนุนค่าตอบแทนให้รายละเอียดแผนการขนส่งจะแนบไฟล์ให้

 สำนักงานสาธารณสุขอำเภอต่อไป กรณีต้องการใช้ยาฉุกเฉินก็สามารถเบิกได้ทุกวันอังคาร

-การขนส่งขยะติดเชื้อ ขณะนี้ทางโรงพยาบาลไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากเตาเผาขยะชำรุด สามารถดำเนินการได้ในเรื่องของเข็มที่ใช้แล้ว ทางสถานีอนามัยสามารถฝากมากับรถโมบายได้

ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องเพื่อทราบและพิจารณา

                3.1 การนำเสนองานเยี่ยมบ้าน

                -สถานีอนามัยบ้านเขาใหญ่ นำเสนอโดย นางสาวธิดารัตน์  ซังปาน  ได้เยี่ยมบ้านของนางน้อม  ซังปาน  ผู้สูงอายุวัย 85 ปี เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2553 ขณะไปเยี่ยมที่บ้านผู้ป่วยกำลังนอนบนพื้นหน้าบ้าน บ้าน  2 ชั้นมีสภาพคงทนถาวร  ยายน้อมอาศัยอยู่กับบุตรสาวซึ่งเป็นผู้ดูแลยายน้อม  ยายน้อม มีโรคประจำตัวคือ โรคอัมพาต อ่อนแรงซีกซ้าย  โรคความดันโลหิตสูง  ภาวะไขมันสูง  มีแผลกดทับเกรด 1 บริเวณทวารหนัก  ผู้ป่วยไม่มีอาการแพ้ยา ไม่เป็นโรคภูมิแพ้  มีอาการท้องผูก กลั่นปัสสาวะไม่ได้  นอนหลับดี  ผลการตรวจเลือด  ภาวะทั่วไปอยู่ในภาวะเสี่ยง ยาที่ผู้ป่วยรับประทานได้แก่ ASA, MOM , SIMVAS,Moceratic

                วัตถุประสงค์ของการเยี่ยมบ้านในครั้งนี้ คือ การลดการลุกลามของแผลกดทับ  การให้คำแนะนำเรื่องการดูและสุขภาพของผู้ป่วย

                สรุปผลการเยี่ยมบ้าน พบว่าผู้ป่วยยังมีอาการท้องผูก แต่แผลกดทับมีอาการดีขึ้น

                ข้อเสนอแนะ

                นายแพทย์เอกรัฐ  จันทร์วันเพ็ญให้ข้อเสนอแนะ การสรุปปัญหาควรสรุปแบบองค์รวมคือทั้งทางด้านกาย และจิตสังคม

                -ด้านกาย ได้แก่ Old CVA 8 years, HT,  Hemiplegia (L) ,Bed sore  grad 1 at coccyx,Renalinsuff Cr 1.7

                -ด้านจิตสังคม ได้แก่ Loneliness,Depressive mood,Family  of  elderly  เรื่องของสังคม Social  Support  good แต่อาจมีให้อยู่คนเดียวเป็นบางช่วง  Case นี้ใช้หลักการเยี่ยมบ้านแบบ INHOMESS

          -นางจารุวรรณ จุลสัตย์ เภสัชกร ให้ข้อเสนอแนะด้านยา  การใช้ยา moduretic ในผู้ป่วยที่ไตเริ่มเสื่อม ควรเปลี่ยนยากลุ่มอื่น

                ครั้งต่อไปนำเสนอการเยี่ยมบ้านโดยสถานีอนามัยเกร็ดแรด และสถานีอนามัยบ้านเปลี่ยน ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2553

3.2 การนำเสนอแผนที่ชุมชน

                -สถานีอนามัยท่าหิน  นำเสนอโดยนางวรรณี  ศักดิ์ศิริ  แผนที่ชุมชนสถานีอนามัยบ้านท่าหินสามารถบอกรายละเอียดของเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยทั้งหมด 6 หมู่บ้าน มีประชากร 4,417 คนประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม รองลงมาคือรับจ้างมีหน่วยงานราชการในพื้นที่ดังนี้ มีโรงเรียนจำนวน 4 โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล สภต.เปลี่ยน โดยมีหัวใจของชุมชนคือ หมู่ที่ 10 และหมู่ที่ 6 มีองค์กรชุมชนที่เข้มแข็งได้แก่ แกนนำชุมชน  ชมรมรักษ์สุขภาพ ชมรมดูแลผู้พิการ และเครือข่าย อสม. ในพื้นที่หมู่ที่ 9 และ 10 เป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบทประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้างทำให้ทำงานค่อนข้างยาก

                -สถานีอนามัยท่าควาย  นำเสนอโดย นางอาภาณีย์  เพชรเศษ  แผแผนที่ชุมชนสถานีอนามัยบ้านท่าควายสามารถบอกรายละเอียดของเขตรับผิดชอบของสถานีอนามัยทั้งหมด 5 หมู่บ้าน มีประชากร 3,388 คน สถานีอนามัยอยู่ลึกเข้าไปจากถนนสายหลักประมาณ 7 กิโลเมตร ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ส่วนใหญ่ใช้วัดเป็นศูนย์รวมจิตใจและการทำกิจกรรมของชุมชน  ภาวะสุขภาพโดยทั่วไปเป็นโรคจากการประกอบอาชีพ

                ข้อเสนอแนะ

                -สาธารณสุขอำเภอสิชล เสนอให้มีการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน จากแผนที่ชุมชนในการทำงานด้านสาธารณสุข  เพิ่มการวิเคราะห์ข้อมูลด้านสถิติชีพ เช่น สถานะสุขภาพของวัยต่างๆ   อัตราการเกิดโรค เป็นต้น

                -  นายแพทย์เอกรัฐ  จันทร์วันเพ็ญให้ข้อเสนอให้มีการแยกประเด็นการวิเคราะห์แผนที่ชุมชนโดยแผนที่ชุมชนต้องสามารถอธิบายถึงหัวใจของชุมชน  จุดแข็ง จุดอ่อนของชุมชน  ความสัมพันธ์เชื่อมโยงของกลุ่มองค์กรต่างๆในชุมชน ฃ

ครั้งต่อไปนำเสนอแผนที่ชุมชนโดยสถานีอนามัยต้นเหรียง และสถานีอนามัยเทพราช

             ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2553

3.3 เรื่องประสานระหว่างโรงพยาบาล  สำนักงานสาธารณสุข และสถานีอนามัย

งานวัณโรค

                -ติดตามผู้ป่วยวัณโรคขาดนัด

                -ผู้ป่วยวัณโรคทุกรายต้องมารับบริการครั้งแรกที่โรงพยาบาลก่อนทุกราย  เพื่อรับการรักษา

               ให้ความรู้เรื่องวัณโรคและการกินยา

                -การทำ DOT ที่สถานีอนามัย หรือที่บ้าน ผู้กำกับการกินยาต้องลงลายมือชื่อทุกครั้ง

                -ผลการรักษาของผู้ป่วยแต่ละรายที่ทำการรักษาเสร็จสิ้นแล้วโรงพยาบาลจะส่งเอกสารรายงานไป ยังสถานีอนามัยทุกราย

                -การคัดกรองผู้สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยวัณโรค ผู้สัมผัสรายใดมีอาการสงสัยติดเชื้อวัณโรค

               ให้สถานีอนามัยส่งพบเจ้าหน้าที่ที่คลินิกวัณโรค  โรงพยาบาลสิชล ทุกวันพุธ ตอนเช้า เพื่อตรวจหาเชื้อวัณโรคต่อไป

                ข้อเสนอแนะ

                -สาธารณสุขอำเภอสิชล ให้ความเห็นเรื่องการทำ DOT ในพื้นที่ อำเภอสิชลไม่ได้ทำ DOT จริงเนื่องจากหลักการของการทำ DOT คือ ผู้ป่วยต้องไม่ถือยากลับบ้านเอง และผู้ป่วยต้องกินยาต่อ

               หน้าเจ้าหน้าที่  โดยควรใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งอำเภอ

                -นางพรยุพา  ศิริสุข  ให้ความเห็นในเรื่องการจัดการเรื่องยาเป็นไปตามมาตรฐาน แต่เรื่องของการ กินยาต่อหน้าเจ้าหน้าที่ทำได้ยาก

                -นายแพทย์เอกรัฐ  จันทร์วันเพ็ญ  เสนอแนะให้มีการระดมความคิดเพื่อจัดทำเครือข่ายเชิงระบบ การใช้ OM (Outcome  Mapping) เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนให้เข้ามามีบทบาทในเรื่องการรักษาวัณโรคด้วยวิธี DOT ในชุมชน

งานผู้พิการ

                -ติดตามการพิจารณาขอรับรถเข็นของผู้พิการ  บางรายยังไม่ได้ทำ OPD Card ,ขาดนัด

                -ประชุมคณะกรรมการพิจาณาอุปกรณ์ช่วยเหลือผู้ป่วย

                -การขึ้นทะเบียนสิทธิผู้พิการ (ท74) ถ้าผู้ป่วยมีหลักฐานครบและยื่นหลักฐานก่อน 12.00 น.

                จะได้รับการขึ้นทะเบียนทันที ถ้ายื่นหลักฐานหลัง 12.00 น.ให้มารับบัตรในวันถัดไป

 

ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องอื่นๆ

                4.1 การรับบริการวัคซีนพิษสุนัขบ้า  ให้ผู้ป่วยรับบริการที่โรงพยาบาลในครั้งแรก ครั้งต่อไปสามารถรับบริการได้ที่สถานีอนามัย

                4.2 สถานีอนามัยบ้านเขาฝ้ายเปิดบริการแพทย์แผนไทยและทำแผนออกให้บริการในชุมชนพร้อมกับการเยี่ยมบ้านแต่ขาดงบลงทุนจึงขอให้ทางโรงพยาบาลพิจารณางบลงทุนในการดำเนินงาน

                4.4กรอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่จะจัดขึ้น ที่อำเภอหลังสวน มี 2 ประเด็น คือ ประเด็นการจัดการสุขภาพชุมชนต้นแบบ นำเสนอชุมชนลดเสี่ยงลดโรคของ และประเด็นการดูแลฟื้นฟูผู้พิการในชุมชน  โดยให้เจ้าของพื้นที่รับผิดชอบนำเสนอข้อมูลเบื้องต้นในวันที่10 พฤศจิกายน 2553

 

ประชุมครั้งต่อไป วันที่ 10 พฤศจิกายน 2553 เวลา 13.00 น.  ณ ห้องประชุม 6 โรงพยาบาลสิชล

หมายเลขบันทึก: 404675เขียนเมื่อ 26 ตุลาคม 2010 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท