ภาวะโลกร้อนกับการเปลี่ยนแปลงของปะการัง แถบหมู่เกาะอันดามัน


เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปสำรวจเส้นทาง น่านน้ำ ระนอง-พม่า หมู่เกาะเซ็นลุกซ์ (St.Luke) ด้วยความที่ไปเฉียดๆ ชายฝั่งระนองบ้าง แต่ไม่เคยออกนอกพรมแดน (โดนยิงพอดี) เลยไปดูซะหน่อย

บรรยากาศไม่ค่อยเอื้ออำนวยต่อการดำ้น้ำดูปะการัง ท้องฟ้าครึมๆ แสงส่องไม่ดีพอ และก่อนหน้านั้นฝนตก น้ำจึงค่อนข้างขุ่น ปรากฎว่า จุดที่พอมองเห็นนั้น จะมีปลาการ์ตูน ปลาขี้ตังเบ็ด ปลานกแก้ว ปลาทราย ปลาผีเสื้อ ปลาโนรี ภาพรวมของความหลากหลายของปลา ก็จะไม่แตกต่างกับทางหมู่เกาะสุรินทร์ หรือ สิมิลันบ้านเราเพราะอยู่เส้นแนวเดียวกันนั่นเอง แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ เหล่าปะการังนั้นได้ ฟอกขาว ดอกไม้ทะเล ที่อยู่ของปลาการ์ตูนก็ขาวซีดไม่เห็นสีสันเลย ความผิดหวังที่ได้ยินมาว่าสวยนั้น ยังไม่เท่ากับความน่ากลัวของภาวะโลกร้อนที่ทำให้เหล่าปะการังนั้นตายต่างหากเล่า

ข่าวที่ได้ยินก่อนหน้านี้ว่า โซนทางหมู่เกาะสุรินทร์และสิมิลันนั้นก็ไม่แตกต่างกันนัก คือฟอกขาว เยอะ (แดดแรงมากจนปะการังตาย) อันดามันฟ้าใหม่ในเดือนนี้เป็นต้นไป จะเป็นยังไง นึกภาพไ่ม่ออก หากว่ามีอะไรเพิ่มเติมจะนำมาเล่าสู่กันฟังนะคะ หลังจากห่างหายกันไปน๊านนน นานนนน

หมายเลขบันทึก: 406328เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2010 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2012 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท