ห้องเรียนกระบวนกร AI ตอนที่ 268 "....Appreciative Inquiry กับ เพศศึกษา.."


Appreciative Inquiry

วันนี้มิได้ตั้งใจเขียนเรื่องหยิวอะไรนะครับ..พอดีมีคนถามผมว่าจะใช้ Appreciative Inquiry ไปปรับปรุงการเรียนการสอนเรื่องเพศศึกษาได้อย่างไร...

ขอเสนอแนะง่ายๆครับ...

ก. ศึกษาแล้วดึงเอาปรากฏการณ์ดีๆ จากคนที่ผ่านช่วงวัยรุ่นด้วยสถานภาพต่างๆกันดังนี้ครับ..

1. ผ่านมาอย่างราบรื่น จัดการเรื่องนี้ได้ ไม่มีอุบัติเหตุ

-  ตรงนี้เป็นงื่อนงำที่น่าสนใจ คุณควรเชิญเขามาคุยว่าเขามีวิธีดูแลตัวเองอย่างไร..พ่อแมู่ดูแลอย่างไร ครูดูแลอย่างไร อะไรเป็นจุดพลิกผันทำให้เขารักษาทิศทางชีวิตได้มั่นคง แน่นอน คุณจะได้ข้อมูลว่าด้วยสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมให้เด็กรักษาทิศทางชีวิตได้ 

2. ผ่านมาอย่างไม่ราบรื่น เช่นมีเพศสัมพันธ์ก่อนเวลาอันควร แต่เอาตัวรอดเรียนจบได้งานดี ประมาณว่าพลาดไปแล้ว ตั้งตัวได้ทัน

- ตรงนี้ถ้ามีโอกาส ถ้าทำได้ ลองเชิญมาถาม ให้เล่าว่าผ่านไปได้อย่างไร คุณจะไำด้องค์ความรู้ มาพัฒนาเงื่อนไข ช่วยเหลือเด็กที่พลาดไปแล้วได้..เช่นเด็กคนหนึ่งพลาดท้องตั้งแต่ม. 2 จะลาออก เพื่อแนะนำให้ไปหาคุณครูที่เข้าใจในเรื่องนี้ คุณครูก็ให้ความช่วยเหลือให้การประคับประคอง..จนเรียนจบตรีไปแล้ว...จุดพลิกผันของเรื่องนี้อาจเป็นแค่คำพูดที่ว่า "ลองไปหาคุณครูคนนี้สิ..ท่านเข้าใจ"

3. คนที่ผ่านมาแบบไม่ราบรื่น เอาตัวไม่รอด กลายเป็นภาระพ่อแม่ เรียนไม่จบในที่สุด พูดง่ายๆพลาดไปแล้ว กว่าจะตั้งตัวได้นาน

- จะได้ปัญหา จุดเปลี่ยนที่ทำให้เขากระเสือกกระสนดิ้นรนไม่ได้ไม่หลุด เพื่อจะได้ข้อเตือนใจพ่อแม่ ครู และเด็กเอง..ข้อมูลที่ได้อาจนำเอามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครู อาจได้แนวทางจากคนอื่นที่เขาเคยแก้ปัญหาประเภทเดียวกันได้มาก่อน

4.  เด็ก ที่ดูอยู่ในกลุ่มเสี่ยง..เช่นในกลุ่มมีเพื่อนท้อง (เจอมาครับม.2 ก็มีแล้ว) ปรากฏว่าเด็กในกลุ่มเสี่ยงคนอื่นๆ ไม่พลาดเหมือนเพื่อน...อะไรเป็นจุดเปลี่ยนของเขา...อาจได้ข้อมูลที่เอามาใช้เป็นแนวทาง..

และื่อื่นๆ

......

ข. ส่วนการสอน และเทคนิคการสอน...

อาจเริ่มจากคุณเอง ว่าคุณเองเข้าใจเรื่องนี้ได้ชัดเจน จนตระหนักได้ว่า เรื่องเพศเป็นเรื่องต้องมีการจัดการอย่างรู้เท่าทันนี่ เมื่อไหร่ จุดเปลี่ยนมันอยู่ตรงไหน...

เริ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนก่อน...ผมเคยจัด Workshop ปรากฏว่าได้อะไรที่น่าสนใจ.. เช่น

........

มีเด็กคนหนึ่ง เคยเรียนเก่ง..แล้วเรียนตก ครูหลายคนกลับบ่นกับเด็กคนนี้..เด็กก็เรียนตกเอาตกเอา..คุณครูที่เล่าเรื่องนี้ ท่านบอกว่า ท่านก็ว่าเด็กคนนี้...แต่มีวันหนึ่ง พอว่าเด็กผู้หญิงคนนี้ เธอก็มอง มองหน้าครู มองแบบไม่พูด...ด้วยสายตาที่กดดัน...จนกระทั่งครูเอะใจ..เลยถามอย่างเอาใจใส่.ว่า "หนู หนูเป็นอะไร หรือลูก..." แค่นั้นก็หลุดมาเลย เธอเคยเรียนเก่ง แล้วพลาดไปมีความสัมพันธ์กับแฟน แล้วแฟนทิ้ง เลยรู้สึกย่ำแย่..ความที่เรียนเก่งไกล้ 4 แล้วลดเหลือสอง..เลยสร้างความผิดหวังให้ทั้งพ่อแม่..ครู จนทุกคนลืมใส่ใจกับความรู้สึกกดดันจนแทบแหลกสลายของเด็ก...

เรื่องนี้หัวใจจึงอยู่ที่ "การฟัง และถามด้วยความเห็นใจ" -- สิ่งที่ตามมาคือการพูดความจริง..จากพื้นฐานของความจริงนำไปสู่การประคับประคองจนเด็กที่ล้ม ให้สามารถลุกขึ้นยืนอย่างสง่างามได้ต่อไปครับ..

.....

ครับ..เป็นข้อเสนอแนะของผม ครับ...ก็เบื้องต้น เจออะไรดีๆ ก็แนะนำได้นะครับ..เพื่อชาติครับ...

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 407287เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2010 13:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ.โย ครับ

    คนที่จะทำเรื่องพวกนี้ได้  ต้องมีจิตใจที่หนักแน่น  มั่นคง  และ เข้มแข็ง  ก่อนนะครับ   พร้อมที่จะรับฟัง และ ยอมรับ  เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้  ตามความเป็นจริง

    นั้นคือ  จะต้องเข้าใจสิ่งต่างๆ ที่เข้ามามีผลในเรื่องนี้ทุกๆ เรื่อง ทั้ง  ความรู้  ปฏิบัติ    จิตวิทยาวัยรุ่น   ที่สำคัญต้องรู้จักการฟะงอย่างลึกซึ้ง

     ต้อง  ฟังอย่างใจกว้าง   ฟังอย่างไม่ตัดสิน  แต่เป็นผู้สะท้อนปัญหา

     ที่สำคัญต้องมี Self concept ต่อตนเองในทางบวกเสียก่อนนะครับ  

      เรื่องนี้เป็นเรื่องละเอียดอ่อนครับ   ถ้า "อาคม"  ไม่ถึง  ก็เสี่ยงอยู่เหมือนกันครับ 

เรื่องนี้ต้องต่อยอดเรื่องเปิดใจให้กว้าง

สุนทรียสนทนา เลยครับ

ขอบพระคุณมากๆ ครับสำหรับข้อชี้แนะเพิ่มเติม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท