"วิถีชนบท" มีอะไรให้น่าค้นหาและเรียนรู้อยู่เสมอ...


สะท้อนถึงแง่มุมที่หลากหลายทั้งในแง่ของ "ความหมาย" และ "คุณค่า" ของมนุษย์ ชุมชน และสังคมนะครับ...

           กับการเดินทางขึ้นเหนือในครั้งนี้นอกจากการได้เรียนรู้จากการทำงานแล้ว ยังได้เรียนรู้วิถีธรรมชาติ วิถีชนบทตลอดสองข้างทางระหว่างการเดินทางในหลายจังหวัดทางภาคเหนือครับ ยิ่งไปกว่านั้นมีเพื่อนร่วมเดินทางที่รักและศรัทธาในวิถีชนบทด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ผมได้ความรู้ใหม่ ๆ และเห็นคุณค่าของความเป็นชนบทมากขึ้นครับ...

 

 

         คุณพนัส (คุณแผ่นดิน) มักจะเล่าเรื่องราวความเป็นชนบทภาคอีสานในเชิงเปรียบเทียบกับความเป็นชนบทของภาคเหนือตลอดระยะเวลาที่เดินทางอยู่บนรถ ถือเป็นการเปิดโลกทัศน์หนุ่มใต้อย่างผมที่มีความรู้เรื่องของชนบทน้อยมาก แม้แต่เรื่องของชนบททางภาคใต้เองด้วยซ้ำ...

 

        สิ่งที่แปลกตาอย่างหนึ่งสำหรับผมคือ ทุ่งนาที่นี่แม้แปลงติดกันแต่ต้นข้าวจะสุกเหลืองไม่พร้อมกัน เห็นเป็นสีเหลืองและสีเขียวตัดกัน สำหรับผมแล้วถือเป็นความสวยงามตามธรรมชาติของ "วิถีชนบท"ที่ทำให้คนต่างถิ่นที่มาเยือนอย่างผมรู้สึกสดชื่น สบายตา และเป็นความสุขเล็ก ๆ ของนักเดินทางอย่างผมที่มีโอกาสไปเยือนภาคเหนือไม่บ่อยนัก...

 

          กระท่อมเล็ก ๆ ที่อยู่ในทุ่งนาถือเป็นความเชื่อ วิถีปฏิบัติ และประเพณีของชาวชนบทอีกอย่างที่น่าสนใจ คุณพนัสบอกว่าหากเป็นที่ภาคอีสานจะสร้างแบบเสาเดียว มีขนาดเล็กกว่าที่ภาคเหนือ และไม่ได้อยู่ตรงคันนา แต่จะถูกสร้างไว้ในพื้นที่เฉพาะซึ่งสะท้อนถึงวิถีความเชื่อที่แตกต่างกันในเรื่องพื้นที่และการอยู่ร่วมกันระหว่างมนุษย์กับสิ่งที่มนุษย์นับถือ...

 

 

            ผมว่าการศึกษาและเรียนรู้ถึงความเป็นอยู่ของผู้คน ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมต่าง ๆ ของชุมชน เป็น "ศาสตร์" ที่น่าสนใจนะครับ เพราะจะทำให้เรารู้และเข้าใจในวิถีของผู้คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ได้สะท้อนถึงแง่มุมที่หลากหลายทั้งในแง่ของ "ความหมาย" และ "คุณค่า" ของมนุษย์ ชุมชน และสังคมนะครับ...

       

หมายเลขบันทึก: 407808เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2010 19:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 17:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ดูภาพแล้วนึกถึงบ้านเมืองกาญจน์ครับ กระต็อบเล็กๆตามท้องนาชาวบ้านเรียกกันว่า "เถียงนา" "ขนำ" กระท่อม ต่างกันไปตามท้องถิ่น 

สวัสดีค่ะ

มาติดตามอ่าน แบบทักทายไปด้วยค่ะ  ความเป็นชนบทยายคิมเคยสัมผัสตอนเป็นครูใหม่ ๆ แบบท้องถิ่นกันดาร  ยังประทับใจจนเดี๋ยวนี้ค่ะ  ไม่แน่ใจว่าคราบเก่าดั้งเดิมจะคงอยู่ไหม

กระท่อมเล็ก ๆ...ของน้องดิเรก  และกระต็อบเล็กๆของอาจารย์โสภณ เปียสนิท อ่านถึงสองคำนี้นึกถึง "นายผี  หรืออัศนีย์ พลจันทร์"  อธิบายไว้ว่า กระท่อมหรือกระต๊อบ  มันเล็กอยู่แล้ว ไม่ต้องไปใส่ ๆ อีก

แค่เล่าความคิดเห็นของท่านให้ฟังนะคะ  ยายคิมจำไม่ได้ว่าอ่านเรื่องอะไร  เพราะชอบสำนวนและแนวคิดของท่าน 

ครับ... คุณ Ico32 โสภณ เปียสนิท

แถวใต้ก็เรียกว่า "ขนำ" ครับ...

ขอบคุณมากครับ..

ครับ... พี่คิม Ico32 ยายคิม

เป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจจังครับ...

ผมมักจะเผลอใช้คำฟุ่มเฟือยในประโยคบ่อย ๆ เพราะเกรงว่าผู้อ่านจะไม่สามารถสัมผัสได้ว่ามันเล็กจริง ๆ ...

ขอบคุณมากครับ...

เมื่อก่อนเคยเชื่อว่า "สีเขียว" ในท้องนา คือสีสันที่ดูแล้วสดชื่น "สบายตา"

ถ้าเราดู ณ. จุดหนึ่งของกาลเวลา ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น

แต่ถ้าดูทั้งกระบวนการ แล้วต้องบอกว่า "น้ำท่วมตา" ครับ

ครับ... คุณ Ico32 ต้นกล้า

พอทราบเรื่องราวของ "ชาวนา" อยู่บ้างครับ...

ทำให้ "ศรัทธา" ในอาชีพเพื่อชีวิตอาชีพนี้ครับ...

ขอบคุณมากครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท