แผนที่ความรู้ด้านวิจัยยาเสพติด


แผนที่ความรู้ด้านวิจัยยาเสพติด

˜ ภาพรวมของผลงานวิชาการด้านยาเสพติดที่รวบรวมโดย สำนักงาน ป.ป.ส. 

 

 สำนักงาน ป.ป.ส. ได้รวบรวมผลงานวิจัยด้านยาเสพติดและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องไว้ ระหว่าง       

ปี พ.ศ. ๒๕๔๕ จนถึง ณ วันที่ ๑๗ พฤษภาคม  ๒๕๕๓  รวมจำนวน ๑๓๑ เรื่อง โดยจัดหมวดหมู่ผลงานวิจัยตามยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนงานยาเสพติด ๔ ด้าน คือ

                   ๑.  ด้านการควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด (Supply)

                   ๒.  ด้านการป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด (Potential Demand)

                      ๓.  ด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand)

                   ๔.  ด้านการบริหารจัดการ (Management)

 

                    การวิเคราะห์สถานะองค์ความรู้ตามรายยุทธศาสตร์/กลุ่มเป้าหมาย/มาตรการ

ยังคงยึดการจัดแบ่งยุทธศาสตร์ด้านยาเสพติดเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖ เข้าเป็นกรอบในการ

ขับเคลื่อนงานยาเสพติดสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ถึงแม้ในปี พ.ศ.๒๕๕๓ จะมีการปรับเนื้อหาของยุทธศาสตร์เป็นยุทธศาสตร์ ๕ รั้วป้องกัน และ ยุทธศาสตร์ ๕ รั้วป้องกันระยะที่ ๒ แต่กรอบคิดในการบริหารจัดการโดยเฉพาะอย่างยิ่งกรอบการจัดสรรงบประมาณด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดมิได้เปลี่ยนแปลงไป ในที่นี้การวิเคราะห์การศึกษาวิจัยด้านยาเสพติดตามกรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าวจึงยังคงสอดคล้องต่อการขับเคลื่อนแผนงานด้านยาเสพติด โดยมีรายละเอียดการวิเคราะห์ ดังนี้

 

                   ๑.  ยุทธศาสตร์ด้านการควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด (Supply)

                        จากการจัดหมวดหมู่งานวิจัยในคลังข้อมูลวิชาการด้านยาเสพติดพบว่ามีงานวิจัยตาม           ยุทธศาสตร์ด้านการควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด (Supply)  มีจำนวนทั้งสิ้น ๒๒ เรื่อง[1]   โดยสามารถจัดหมวดหมู่ของการศึกษาวิจัยในด้านต่างๆ ดังนี้

๑.๑  ด้าน ตัวยา มีจำนวน ๖ เรื่องคือ ลักษณะทางกายภาพและปริมาณสารสำคัญในยาบ้า

พื้นที่เขตภาคเหนือตอนบน (๒๕๔๗) การจัดการองค์ความรู้ยาและสารเสพติดเพื่อความบันเทิง (๒๕๔๘)  พืชกระท่อมในสังคมไทย (๒๕๔๘) ปริมาณสารสำคัญในกัญชง (๒๕๕๐)  การวิจัยเรื่องปริมาณสารสำคัญ  ในกัญชง (๒๕๕๑)  และการศึกษารูปแบบและผลกระทบจากการใช้พืชกระท่อมและ/หรือสารเสพติดที่มีส่วนผสมของพืชกระท่อมในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน (๒๕๕๒)

 

 

๑.๒ ด้านนโยบาย จำนวน ๒ เรื่องคือ การศึกษาและวิจัยนโยบายการควบคุมตัวยาและ

ผู้ค้ายาเสพติด (Supply) ในส่วนภูมิภาค กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล (๒๕๕๒) และ โครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนานโยบาย แนวทาง มาตรการ และกฎหมายในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในเรือนจำและทัณฑสถานของกระทรวงยุติธรรม (๒๕๕๒)

 ๑.๓ ด้านการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด จำนวน ๔ เรื่อง คือ การพัฒนาชุดทดสอบยาเสพติด

และวัตถุออกฤทธิ์ที่ใช้เพื่อความบันเทิง(๒๕๕๐)  ประสิทธิผลของการดำเนินงานในสถานที่เพื่อการควบคุมตัว และสถานที่เพื่อการตรวจพิสูจน์ ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๔๕ (๒๕๕๐)  และประสิทธิภาพการตรวจพิสูจน์ยาเสพติดทางวิทยาศาสตร์ของสถานตรวจพิสูจน์ กับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (๒๕๕๑) การตรวจหาสารเสพติดในผู้ที่เสียชีวิต (๒๕๕๓)

๑.๔ ด้าน กฎหมาย/มาตรการทางกระบวนการยุติธรรม จำนวน ๖ เรื่อง คือ การวิจัย

การนำการต่อรองการรับสารภาพมาใช้ในประเทศไทย:กรณีศึกษาคดียาเสพติด (๒๕๔๕)  การป้องกันแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของเจ้าหน้าที่ผู้สืบสวนจับกุมคดียาเสพติดโดยใช้มาตรการเงินสินบนเงินรางวัล (๒๕๔๘) โครงการติดตามประเมินผลและพัฒนารูปแบบและแนวทางการลดปริมาณคดีขึ้นสู่ศาล (๒๕๔๙)  โครงการศึกษาวิจัยเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ กับผลกระทบด้านกฎหมายในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (๒๕๕๐)  การศึกษาแนวทางและความเป็นไปได้ในการนำมาตรการลงโทษระดับกลางมาใช้เพื่อเป็นมาตรการทางเลือกในการลงโทษผู้กระทำผิดในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทย (๒๕๕๑) และการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินคดีพิเศษ (๒๕๕๑)

๑.๕ ด้าน กลุ่มเป้าหมายเฉพาะ คือ “กลุ่มผู้กระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด”

จำนวน ๓ เรื่อง คือ การวิจัยเพื่อสร้างหลักสูตรในการแก้ไขและพัฒนาพฤตินิสัยผู้ต้องขังที่มีกำหนดโทษสูงและที่มีความเสี่ยงต่อการกระทำผิดซ้ำ (สาเหตุการกระทำผิด/ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกระทำผิด) (๒๕๔๗)การวิจัย“การเฝ้าระวังผู้ต้องขังคดียาเสพติด มิให้กระทำผิดซ้ำ” (๒๕๔๙)และการศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุของการกระทำความผิดซ้ำในคดียาเสพติดและคดีฐานความผิดอื่นที่เกี่ยวกับยาเสพติด (๒๕๕๐)

                   ๑.๖ ด้านปัจจัยที่มีผลต่อการค้า/ลำเลียง จำนวน ๑ เรื่อง โดยเป็นการศึกษาปัจจัย รูปแบบการค้า/ลำเลียงในระดับพื้นที่ คือ การศึกษาปัจจัยการค้าและการลำเลียงยาเสพติดในกลุ่มชาวไทยภูเขาเผ่าม้งและลีซอ (๒๕๔๖)  โดยศึกษาปัจจัยที่ทำให้ชาวไทยภูเขาเผ่าม้งและเผ่าลีซอเข้าร่วมขบวนการค้า   ยาเสพติด

๑.๗ ด้านการดำเนินงานของรัฐ จำนวน ๑ เรื่องคือ บทบาทและปัญหาอุปสรรค

ในการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. : กรณีศึกษาจังหวัดชลบุรี (๒๕๔๘)  เป็นการศึกษาบทบาทที่กฎหมายกำหนด และบทบาทที่เป็นจริงของเจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในจังหวัดชลบุรี รวมทั้งสภาพปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานปราบปรามยาเสพติด  แนวทางในการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติงานของ  เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ในจังหวัดชลบุรี และเสนอแนวทางการปรับปรุงแก้ไขบทบาท อำนาจหน้าที่ของ        เจ้าพนักงาน ป.ป.ส. ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และเอื้อต่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด

 

 

 

 

๒.  ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด (Potential Demand)

  จากการจัดหมวดหมู่งานวิจัยในคลังข้อมูลวิชาการด้านยาเสพติดพบว่ามีงานวิจัยตาม          

ยุทธศาสตร์ด้านการป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด (Potential Demand) มีจำนวนทั้งสิ้น

๒๘ เรื่อง[2]  โดยสามารถจัดหมวดหมู่ของการศึกษาวิจัยตามมิติกลุ่มเป้าหมายและมาตรการ ดังนี้

                   ๒.๑ กลุ่มเป้าหมายเยาวชนในสถานศึกษา จำนวน ๑๒ เรื่อง ประกอบด้วย

๒.๑.๑ ระดับปฐมวัยจำนวน ๑ เรื่องคือ  การปลูกฝังคุณธรรมในเด็กปฐมวัยผ่านกระบวน

สร้างสรรค์ของแกนนำโรงเรียนวิถีพุทธ (๒๕๔๙)

                   ๒.๑.๒ ระดับประถมศึกษา จำนวน ๑ เรื่อง คือ การศึกษาสภาพปัญหาการใช้ยาในทางที่ผิดของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดชัยนาท (๒๕๔๕)

                   ๒.๑.๓ ระดับมัธยมศึกษาจำนวน ๓ เรื่องคือ รายงานวิจัยศึกษาการปฏิบัติงานโครงการโรงเรียนสีขาวของสถานศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาในจังหวัดตรัง (๒๕๔๕) และการแพร่ระบาดของสารเสพติดและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเสพสารเสพติดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ในจังหวัดปทุมธานี (๒๕๔๕)การศึกษาโครงการเฝ้าระวังพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพและพฤติกรรมการใช้สารเสพติดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาในภาคใต้ ปีการศึกษา ๒๕๔๘ (๒๕๔๘)

                   ๒.๑.๔ รวมทุกระดับ จำนวน ๗ เรื่องประกอบด้วย  รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหา

สารเสพติดในสถานศึกษา (๒๕๔๖)  ผลการศึกษาวิจัยเชิงลึก (Focus Group) การศึกษาหาแนวทางการจัดกิจกรรมต้านยาเสพติดในสถานศึกษาและผลการสำรวจแววความสามารถพิเศษ (๒๕๔๘) การพัฒนาระบบ  เฝ้าระวังปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา (๒๕๕๐)  โครงการเร่งสร้างคุณลักษณะที่ดีของเด็กและเยาวชนไทย (๒๕๕๐)  การถอดบทเรียนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา (๒๕๕๑)  โครงการศึกษาและการแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (๒๕๕๑)  และการศึกษาเพื่อพัฒนาเครื่องมือสำรวจต้นทุนชีวิตเยาวชน เพื่อกำหนดแนวทางการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติด (๒๕๕๒)   

                   ๒.๒ กลุ่มเป้าหมายในชุมชน  จำนวน ๖ เรื่อง ประกอบด้วย  รูปแบบการป้องกันและ    เฝ้าระวังการใช้สารเสพติดในชุมชนโดยความร่วมมือของผู้นำชุมชน กรณีตำบลบ้านเสี้ยว อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์ (๒๕๔๕) การวิจัยประเมินผลโครงการพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อป้องกัน  ยาเสพติดในจังหวัดอำนาจเจริญ  (๒๕๔๕)  การวิจัยเรื่องการถอดบทเรียนความสำเร็จของชุมชนในการแก้ไขปัญหาสารเสพติดแบบครบวงจรและยั่งยืน (๒๕๔๖)  การศึกษาชุมชนต้นแบบเพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา ๕ ชุมชนต้นแบบในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (๒๕๕๐)  การจัดการความรู้เพื่อพัฒนากระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยเครือข่ายองค์กรชุมชนอย่างยั่งยืนเขตชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (๒๕๕๑)  การศึกษารูปแบบและกระบวนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (๒๕๕๒)

๒.๓ ประเด็นจัดระเบียบสังคม จำนวน ๒ เรื่องคือ  การติดตามประเมินผลและพัฒนา

โครงการจัดระเบียบสังคมบริเวณปริมณฑลมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ พื้นที่ต้นแบบชุมชนน่าอยู่และปลอดภัย ซอยประชาชื่น-นนทบุรี ๘ (Campus Safety Zone) (๒๕๕๐)  และการถอดบทเรียนการดำเนินงานจัดระเบียบสังคมแบบบูรณาการ (๒๕๕๒)

                   ๒.๔ การป้องกันยาเสพติดในกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ จำนวน ๘ เรื่องประกอบด้วย

                   ๒.๔.๑ เยาวชนกลุ่มเสี่ยง จำนวน ๒ เรื่องคือ การศึกษาความพร้อมของเยาวชนในการจัดตั้งร้านช่างชนบทศึกษาเฉพาะในเขตพื้นที่เสี่ยงยาเสพติด (๒๕๔๕) และรูปแบบการทำงานป้องกันในเยาวชนกลุ่มพฤติกรรมเสี่ยง (๒๕๕๐)

                   ๒.๔.๒ เยาวชนนอกระบบโรงเรียน จำนวน ๖ เรื่องประกอบด้วย  การป้องกันการใช้สารเสพติดเบื้องต้นในกลุ่มเยาวชนไทย (๒๕๔๗) ปัจจัยที่ทำให้เยาวชนไปใช้ยาเสพติดและวิธีการ รูปแบบ การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชน (๒๕๔๙) การสังเคราะห์องค์ความรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพเด็กด้านทักษะชีวิตนอกระบบโรงเรียน (๒๕๕๐) การศึกษารูปแบบวัฒนธรรมย่อยและกลไกการมีส่วนร่วมของเครือข่ายกลุ่มเด็กและเยาวชนนอกสถานศึกษา ในพื้นที่ชุมชนเมืองและพื้นที่เสี่ยงเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (๒๕๕๐) การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อการป้องกันยาเสพติดในกลุ่มเยาวชน (๒๕๕๒) และ การถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการสร้างบทบาทและพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนประจำปี ๒๕๕๒ (๒๕๕๒)       

 

                    ๓.  ยุทธศาสตร์ด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand)

จากการจัดหมวดหมู่งานวิจัยในคลังข้อมูลวิชาการด้านยาเสพติดพบว่ามีงานวิจัยตาม          

ยุทธศาสตร์ด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand) จำนวนทั้งสิ้น ๑๘ เรื่อง[3] โดยจัดหมวดหมู่ได้ดังนี้

๓.๑ ปัจจัย พฤติกรรมการเสพยาเสพติดและการเสพติดซ้ำ จำนวน ๖ เรื่อง ประกอบด้วย  

๓.๑.๑ การเสพยาเสพติดในกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ จำนวน ๓ เรื่องประกอบด้วยกลุ่มผู้เล่น

กีฬาวัวชน และทหารประจำการกองทัพอากาศ ได้แก่  ผลงานวิจัยเรื่องสุขภาพจิตและการดูแลตนเองด้านจิตใจ ในผู้เล่นกีฬา  วัวชนที่ใช้พืชกระท่อม (๒๕๔๘)  การสำรวจประวัติเสพและติดยาเสพติดในทหารประจำการกองทัพอากาศส่วนกลางรุ่นปี ๒๕๔๖ ผลัด ๒ และ รุ่นปี ๒๕๔๗ ผลัด ๑ (๒๕๔๙)  การสำรวจประวัติการใช้ยาเสพติดในทหารกองประจำการกองทัพอากาศที่เข้าประจำการใหม่และแนวโน้มการใช้ยาเสพติดที่สำคัญใน พ.ศ.๒๕๔๘ (๒๕๔๙) และการพัฒนาการสำรวจประวัติเสพและติดยาเสพติดในทหารกองประจำการกองทัพอากาศ (๒๕๔๙)

 

                   ๓.๑.๒  การเสพติดซ้ำ ๒ เรื่อง[4]  ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคลที่มีผลต่อการติดยาเสพติดซ้ำ

(๒๕๕๐) และ ปัจจัยที่มีผลต่อการเสพติดซ้ำ (๒๕๕๐)

                   ๓.๒  การคัดกรองผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด จำนวน ๑ เรื่อง คือ การพัฒนาเครื่องมือ        คัดกรองผู้เสพ/ติดสารระเหย (๒๕๕๒)

                   ๓.๓ ระบบการบำบัดแบบสมัครใจ  จำนวน ๕ เรื่อง โดยเป็นการศึกษาถึงรูปแบบ/วิธีการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดทั้งสิ้น โดยแสดงรายละเอียดดังนี้

๓.๓.๑ การบำบัดด้วยสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย จำนวน ๒ เรื่อง คือ รายงาน

การศึกษารูปแบบการบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ด้วยการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก (๒๕๔๘) และ รูปแบบในการบำบัดผู้ติดยาเสพติดด้วยสมุนไพรและระบบการแพทย์แผนไทย (๒๕๕๑)

๓.๓.๒ กระบวนการทางศาสนา จำนวน ๑ เรื่อง คือ การศึกษาสำรวจวัดที่ดำเนินงาน

สงเคราะห์และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดทั่วประเทศ (๒๕๕๑)

๓.๓.๓ การบำบัดโดยชุมชน จำนวน ๑ เรื่อง คือ บทวิเคราะห์และสรุปผลการดำเนินการ

โครงการฟื้นฟูสมรรถภาพระยะแรกโดยใช้กระบวนการชุมชน บ้านดอนไพลหมู่ ๘ ต.ท่าเยี่ยม อ.โชคชัย      จ.นครราชสีมา (๒๕๔๙)

๓.๓.๔ การบำบัดรูปแบบจิตสังคมบำบัด จำนวน ๑ เรื่องคือ ประสบการณ์การดูแลตนเอง

ภายหลังการบำบัดทางจิตสังคมของผู้ติดสารเสพติด (๒๕๕๑)

๓.๔ ระบบบังคับบำบัด จำนวน ๒ เรื่อง การสำรวจสภาพการดำเนินงานศูนย์ฟื้นฟู

สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดกองทัพอากาศ ปี พ.ศ.๒๕๔๗ (๒๕๔๗) และ ผลการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ.๒๕๔๕ (๒๕๔๘)

๓.๕ การบริหารงานด้านบำบัดรักษา จำนวน ๔ เรื่อง ได้แก่

๓.๕.๑ เรื่องต้นทุน/ค่าใช้จ่าย/และประสิทธิผลการบำบัด จำนวน ๒ เรื่อง คือ การวิจัย

การศึกษาต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการบำบัดรักษายาเสพติด (Unit Cost Analysis) (๒๕๕๐) และการศึกษาวิเคราะห์ต้นทุนและประสิทธิผลของระบบบำบัดรักษายาเสพติด (๒๕๕๒)   

                   ๓.๕.๒ กระบวนทัศน์ จำนวน ๑ เรื่อง คือ สรุปการประชุมกลุ่มย่อยที่ ๓ กระบวนทัศน์ใหม่ของงานยุติธรรมสำหรับผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในประเทศไทย (๒๕๔๙)

๓.๕.๓ การบูรณาการระดับจังหวัด จำนวน ๑ เรื่อง คือ การวิจัยเพื่อติดตามและประเมินผล

การดำเนินงานของทีมวิทยากรบูรณาการบำบัดรักษายาเสพติดจังหวัด (๒๕๕๐)   

                    

๔.  ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ (Management)

จากการจัดหมวดหมู่งานวิจัยในคลังข้อมูลวิชาการด้านยาเสพติดพบว่ามีงานวิจัยตาม          

ยุทธศาสตร์ด้านการบริหารจัดการ (Management) จำนวนทั้งสิ้น ๖๒ เรื่อง โดยจัดหมวดหมู่ได้ดังนี้

                   ๔.๑ การศึกษาวิจัยเพื่อถอดบทเรียนการดำเนินงาน/จัดการความรู้ จำนวน ๕ เรื่อง ได้แก่ ถอดบทเรียนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดระดับหมู่บ้าน บ้านกำแมด หมู่ ๑๖ ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร (๒๕๔๘)  ถอดบทเรียนการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดระดับตำบล ตำบลห้วยแก้ง อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร (๒๕๔๘) สรุปบทเรียน อำเภอชานุมานจังหวัดอำนาจเจริญ ปี พ.ศ. ๒๕๔๘ (๒๕๔๘) การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ (๒๕๔๙) และการจัดการความรู้วิชาการสารเสพติด ภาคเหนือตอนบน ปี ๒๕๕๑ (๒๕๕๑)

                   ๔.๒  การเฝ้าระวัง จำนวน ๑๙ เรื่อง ประกอบด้วย  

๔.๒.๑ การศึกษาข้อมูล/เฝ้าระวังในกลุ่มเป้าหมายเฉพาะระดับพื้นที่  จำนวน ๑๖ เรื่อง

ประกอบด้วย

๔.๒.๑.๑ เฝ้าระวังสถานบริการ/สถานบันเทิง จำนวน ๗ เรื่อง ประกอบด้วย การเฝ้าระวังการ

ใช้สารเสพติดและยากล่อมประสาทของผู้ใช้บริการในสถานบริการต่างๆ (๒๕๔๖) การเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดสารเสพติดและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานบันเทิง พื้นที่ตำบลบ้านกลาง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน (๒๕๕๐) โครงการวิจัยเรื่องปัญหายาเสพติดและผลกระทบต่อชุมชนที่ตั้งและรอบนิคมอุตสาหกรรมจังหวัดลำพูน (๒๕๕๑)  การเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดสารเสพติดและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในสถานบันเทิง พื้นที่จังหวัดพิษณุโลก (๒๕๕๑) การเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดสารเสพติดและการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานบันเทิงพื้นที่  อ.เมือง        จ.นครราชสีมา (๒๕๕๒) โครงการพัฒนาองค์ความรู้สถานการณ์ปัญหาการเสพและการค้าไอซ์ในกลุ่มเยาวชนและสถานบันเทิง ในพื้นที่ ปปส.ภาค ๑ และภาค ๒ (๒๕๕๒) สถานการณ์การเสพและการค้าไอซ์ในกลุ่มเยาวชนและสถานบันเทิงในพื้นที่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี และเพชรบุรี (๒๕๕๒)

๔.๒.๑.๒ เฝ้าระวังสถานประกอบการขนาดเล็ก จำนวน ๑ เรื่อง คือ การศึกษาคุณลักษณะ

ของการแพร่ระบาดยาเสพติดเพื่อการเฝ้าระวังในสถานประกอบการขนาดเล็กในประเทศไทย (๒๕๕๐)

๔.๒.๑.๓ การศึกษาข้อมูลเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จำนวน ๖ เรื่อง

ได้แก่ สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานพินิจ:จังหวัดชลบุรีและระยอง (๒๕๕๐)  สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานพินิจฯ และศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนจังหวัดชลบุรีและระยอง: ข้อมูลจากเยาวชนที่ถูกจับกุมตั้งแต่ตุลาคม ๒๕๕๐ ถึง มีนาคม ๒๕๕๑(๒๕๕๑)  สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานพินิจฯ และศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนจังหวัดชลบุรี และระยอง (๒๕๕๑)การร่วมมือศึกษาสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานพินิจฯ และศูนย์ฝึกเด็กและเยาวชนฯ  (๒๕๕๒)  สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานพินิจฯและศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรี (๒๕๕๒)   การร่วมมือศึกษาสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชนในสถานพินิจฯ และศูนย์ฝึกเด็กและเยาวชนฯ (พื้นที่สำนักงาน ป.ป.ส. ภาค ๒ จำนวน ๔ จังหวัด : ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และปราจีนบุรี) (๒๕๕๒)  

                    ๔.๒.๑.๔ การเฝ้าระวังกลุ่มผู้ประกอบอาชีพประมง จำนวน ๑ เรื่องคือ การพัฒนาองค์ความรู้สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพการประมง (๒๕๕๒)

                   ๔.๒.๒ การพัฒนาระบบ/รูปแบบการเฝ้าระวัง จำนวน  ๓ เรื่องประกอบด้วย การพัฒนาศูนย์และเครือข่ายเรียนรู้ระบบข้อมูลเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดเพื่อการแก้ไขปัญหาในระดับจังหวัด (๒๕๕๒)การพัฒนาตัวแบบระบบเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของสารเสพติดระดับอำเภอ (๒๕๕๒) การศึกษารูปแบบการส่งเสริมหมู่บ้านชายแดนเพื่อการเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด กรณีศึกษาหมู่บ้านชายแดนในพื้นที่ ๔ จังหวัดภาคตะวันตก (กาญจนบุรี ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์) (๒๕๕๒)

๔.๓  การศึกษาสถานการณ์ สถานภาพ รูปแบบการค้า/การใช้ยาเสพติดในระดับภาค/

พื้นที่ จำนวน ๑๑ เรื่องประกอบด้วย

๔.๓.๑ ภาคเหนือ จำนวน ๕ เรื่อง ได้แก่ การศึกษาสถานการณ์ตลาดยาอีในอำเภอเมือง

จังหวัดเชียงใหม่ (๒๕๔๕)การศึกษาบูรณาการสถานภาพอุปทาน-อุปสงค์ ผล และผลกระทบ ระดับพื้นที่อำเภอ ปี ๒๕๔๗: ภาคเหนือ (๒๕๔๗) การศึกษาพฤติกรรมการใช้สารระเหยของเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ พิจิตรและพิษณุโลก (๒๕๔๙) สถานภาพการใช้สารเสพติด พ.ศ.๒๕๕๐: ภาคเหนือตอนล่าง (๒๕๕๐) แบบแผนการใช้และอันตรายที่ได้รับจากการใช้สารเสพติด กรณีศึกษาพื้นที่อำเภอปาย (๒๕๕๒)

๔.๓.๒ ภาคกลาง จำนวน ๑ เรื่องคือ ปัญหายาเสพติดชายแดนภาคตะวันออก : ตราด

สระแก้ว (๒๕๔๙)

                   ๔.๓.๓ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ๑ เรื่อง คือ การประเมินสถานการณ์การค้าและการแพร่ระบาดยาเสพติดตามแนวชายแดน (๒๕๕๒)

                   ๔.๓.๔ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน ๒ เรื่องคือ การคาดประมาณจำนวนผู้ใช้  ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้นในพื้นที่กรุงเทพมหานคร (๒๕๔๘) และ รูปแบบและวิธีการค้ายาเสพติดรายย่อย  ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล (๒๕๕๑)

                   ๔.๓.๕ ภาคใต้ จำนวน ๑ เรื่องคือ สถานภาพการใช้สารเสพติด พ.ศ.๒๕๕๑ ภาคใต้ (๒๕๕๒)

                   ๔.๓.๖ ภาพรวมทั่วประเทศ  จำนวน ๑ เรื่อง คือ สถานภาพการใช้สารเสพติด พ.ศ.๒๕๕๑(๒๕๕๒)

๔.๔ การพัฒนาระบบงาน จำนวน ๒ เรื่อง ได้แก่ การศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบด้าน

ทัณฑวิทยา (๒๕๕๐) และ การปรับปรุงและพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลผู้ต้องขังกระทำผิดซ้ำ (๒๕๕๐)

                   ๔.๕ การประเมินผล จำนวน ๒๕ เรื่องประกอบด้วย

                   ๔.๕.๑ การประเมินนโยบายและยุทธศาสตร์ จำนวน ๘ เรื่อง ประกอบด้วย

                   -ยุทธศาสตร์ Supply จำนวน ๒ เรื่อง คือ การประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การควบคุมตัวยาและผู้ค้ายาเสพติด (Supply) ครั้งที่ ๑ (๒๕๔๙) และการประเมินโครงการสกัดกั้นการนำเข้ายาเสพติดตามแนวชายแดน (รั้วชายแดน) (๒๕๕๒)

                   -ยุทธศาสตร์ Potential Demand  จำนวน ๒ เรื่องคือ การประเมินยุทธศาสตร์การป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด (Potential Demand) ครั้งที่ ๑ (๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ - ๓๑ มีนาคม ๒๕๔๘) (๒๕๔๘)  และ การวิเคราะห์นโยบาย มาตรการ และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในประเทศไทย (๒๕๔๙)

                   -ยุทธศาสตร์ Demand จำนวน ๑ เรื่องคือ ผลการประเมินการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand) ครั้งที่ ๑ (๒๕๔๘)

                   -ยุทธศาสตร์ Management จำนวน ๑ เรื่องคือ รายงานผลการวิจัยโครงการประเมินยุทธศาสตร์บริหารจัดการเพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติดครั้งที่ ๑ (๒๕๔๙)

                   -การปฏิบัติการตามยุทธศาสตร์ จำนวน ๒ เรื่อง ได้แก่ รายงานผลการสำรวจประเมินผลการปฏิบัติการ“รวมพลังไทยทั้งชาติ ขจัดยาเสพติด” (๑ มีนาคม - ๓๑ สิงหาคม ๒๕๔๙) (๒๕๔๙) และการสำรวจประเมิน “ปฏิบัติการรวมพลังไทย ขจัดภัยยาเสพติด ร่วมเทิดไท้องค์ราชัน” ระยะที่ ๑  (๑ ธันวาคม ๒๕๔๙ – ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐)  (๒๕๕๐)

                   ๔.๕.๒ การประเมินผลการดำเนินงาน จำนวน ๘ เรื่อง ประกอบด้วย

                   ๔.๕.๒.๑ ด้านรณรงค์/ประชาสัมพันธ์ จำนวน ๖ เรื่อง ได้แก่ การติดตามประเมินผลการรณรงค์ป้องกันยาเสพติด ปี ๒๕๔๕ (๒๕๔๕) การประเมินผลการรณรงค์ประชาสัมพันธ์งานยาเสพติดผ่านสื่อมวลชนประจำปี ๒๕๕๐ ของ สำนักงาน ป.ป.ส.โครงการ ๑ (๒๕๕๑) การประเมินผลการรณรงค์ประชาสัมพันธ์งานยาเสพติดผ่านสื่อมวลชนประจำปี ๒๕๕๐ ของ สำนักงาน ป.ป.ส. โครงการที่ ๒ (๒๕๕๑)

การประเมินผลการรณรงค์ประชาสัมพันธ์งานยาเสพติดผ่านสื่อมวลชนประจำปี ๒๕๕๐ ของ สำนักงาน ป.ป.ส.โครงการ ๓ (๒๕๕๑) การประเมินผลการรณรงค์ประชาสัมพันธ์งานยาเสพติดผ่านสื่อมวลชนประจำปี ๒๕๕๐ ของ สำนักงาน ป.ป.ส.โครงการ ๔ (๒๕๕๑)  การประเมินผลโครงการรณรงค์ผ่านสื่อมวลชนเพื่อปรับเจตคติการยอมรับผู้เคยเสพ/ติดยาเสพติดกลับสู่สังคม ปี ๒๕๕๒ ของสำนักงาน ป.ป.ส. (๒๕๕๒)

๔.๕.๒.๒  การประเมินโครงการเฉพาะ จำนวน ๒ เรื่องได้แก่ การประเมินผลโครงการทำ

ความดีเพื่อแผ่นดิน ปี ๒๕๔๖ (๒๕๔๖) และการประเมินผลโครงการ D.A.R.E. ของตำรวจภูธรภาค ๑ (๒๕๕๒)

                   ๔.๕.๓  การประเมินการดำเนินงานจังหวัดนำร่อง จำนวน ๕ โครงการได้แก่  การติดตามการดำเนินงานจังหวัดนำร่องเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (๒๕๕๑) การติดตามการดำเนินงานจังหวัดนำร่องเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภาคกลาง (๒๕๕๑)  การติดตามการดำเนินงานจังหวัดนำร่องเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (๒๕๕๑)  การติดตามการดำเนินงานจังหวัดนำร่องเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภาคใต้  (๒๕๕๑)  การติดตามการดำเนินงานจังหวัดนำร่องเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดภาคเหนือ (๒๕๕๑)

                   ๔.๕.๔  การประเมินระบบงบประมาณ จำนวน ๑ เรื่อง คือ การประเมินผลการขอและการใช้งบประมาณด้านยาเสพติดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี ๒๕๕๑ (๒๕๕๒)

                   ๔.๕.๕  การประเมินกลไก/ระบบงาน จำนวน ๓ เรื่องได้แก่ ยาเสพติด : มิติเชิงจัดการ (๒๕๔๗) โครงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดกรุงเทพมหานคร (ศตส.กทม.) (๒๕๔๘) และ การประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานคุมประพฤติประจำปีงบประมาณพ.ศ. ๒๕๔๘ (๒๕๔๘) 

 


[1] มีงานวิจัยที่สำนักงาน ป.ป.ส. อยู่ระหว่างดำเนินการอีก ๓ เรื่องและยังไม่ได้รวมไว้ในคลังข้อมูลวิชาการ คือ ๑) โครงการศึกษาศักยภาพอุปทานชนกลุ่มน้อยสำคัญ  ๒) โครงการการเก็บข้อมูลและประมวลสถานการณ์ด้านการบังคับใช้กฎหมาย เพื่อการพัฒนาวิธีพิจารณาคดีเกี่ยวกับยาเสพติด และ ๓) การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติด : กรณีศึกษาจากผู้กระทำผิดร้ายแรงและมีโทษสูงและที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ

หมายเลขบันทึก: 407964เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2010 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ไม่มีภาพประกอบหรอครับ ขอบคุณสำหรับข้อมูลและรายละเอียด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท