ไหว้พระก่อนนอน


ไหว้พระก่อนนอน

           ยามเรานอนหลับ ถ้ามีภัยอันใดที่จะมาถึงเรา เราก็ไม่ทันรู้ตัว ไม่มีทางหลบหลีกได้เลย คนปัจจุบันบางคนกลัวผีเวลานอนปิดประตู ปิดหน้าต่างอย่างดีจนอากาศไม่ถ่ายเท ทำให้กลายเป็นคนซึมเศร้าเพราะขาดออกซิเจนหายใจ บางคนก็เปิดไฟฟ้านอนทั้งคืน โบราณหรือคนแต่ก่อนหาทางคุ้มกันภัยยามที่ตนเองนอนหลับไว้หลายทางหลายวิธีเช่นแขวนพระที่คอบ้าง เอาอาวุธมาไว้ใต้หมอนบ้าง และอีกวิธีหนึ่งที่คนสมัยก่อนนิยมปฏิบัติคือการสวดมนต์ไหว้พระ อาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยคือพุทธคุณธรรมคุณสังฆคุณให้ช่วยคุ้มกันเช่น สวดมนต์ว่า “ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” สามจบ กราบสามครั้งแล้วก็นอน  บางคนสวดคาถาประจำวันเกิดให้เท่าวันเกิดตนเอง  สุนทรภู่ก็ได้เขียนสอนให้เราไหว้พระไว้ว่า....

                “ อนึ่งเล่า เข้าที่ ศรีไสยสน์ อย่าประมาท หมั่นคำนับ ลงกับหมอน   

                  เป็นนิรันดร์สรรเสริญเจริญพร คุณบิดรมารดาครูอาจารย์”.....

คือสอนให้ไหว้พระไหว้บิดามารดาและครูอาจารย์โดยกราบพระที่หมอนสามครั้ง กราบบิดามารดาหนึ่งครั้ง กราบครูอาจารย์และผู้มีคุณอีกครั้งรวมห้าครั้ง

              พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4  ได้ทรงพระราชนิพนธ์คำนมัสการพระรัตนตรัยให้ครบสามคือพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ไว้ให้เราได้ใช้สวดกันถึงปัจจุบันหรือคำไหว้พระรัตนตรัยที่เราเรียกกัน เวลาไหว้พระทำได้ดังนี้ 

         สวดปณามคาถาว่า “ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” สามจบ

         ไหว้พระพุทธเจ้าให้สวดว่า “ อรหํ สมฺมา สมฺพุทฺโธ ภควา พุทฺธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิฯ

         ไหว้พระธรรมให้สวดว่า “สวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม  ธมฺมํ นมสฺสามิฯ

         ไหว้พระสงฆ์ให้สวดว่า “ สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ  สงฺฆํ นมามิฯ

         ไหว้พระครบสามบทแล้วก็เข้านอนหรือจะขออำนาจพระศรีรัตน์ตรัยคุ้มครองก่อนนอนหรืออธิษฐานอื่นๆตามปรารถนา ถ้าไหว้หลายพร้อมกันหลายคนก็สวดเฉพาะภาษาบาลีได้ สวดมนต์ไหว้พระทุกวันทำให้ มีสติ มีสัญญา เทวดาคุ้มครอง เกิดฌาน และความศักดิ์สิทธิ์ ถ้าสวด ถ้าสวดมนต์แปลด้วยจะเกิดสติ สัญญา ปัญญา เทวดาคุ้มครองฯ

         ปัจจุบันคนไทยเราไหว้พระไม่มีความเป็นเอกกภาพ  บางคนสวด “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส” สามจบ ก็กราบแล้วนอน บทสวดมนต์บทนี้ชาวพุทธสวดตั้งแต่ต้นพุทธกาล ก่อนนอนก็สวดบทนี้ กลัวภัยก็สวดบทนี้เพื่อให้พระคุ้มครอง หลายปีต่อมาจึงมีการสวด อิติปิโส ....สวากฺขาโต....สุปฏิปนฺโน...โดยเริ่มมีการสวดเมื่อพระพุทธเจ้าเทศนาธชัคคสูตรปรากฏในพระไตรเล่มที่ 15 สังยุตตนิกาย สคาถวรรค

         ปัจจุบันคนไทย ทุกค่ำคืนเราเราดูทีวีดูข่าวดูละครแต่ไม่ย้อนดูตัวเอง เราหลงละครทีวีที่มีคนแสดงเช่นแสดงบทกระเทย แสดงบทตัวร้ายชกต่อย แสดงบทรักส่งเสริมเรื่องกามตัณหา จนลืมไหว้พระก่อนนอน อันเป็นวัฒนธรรมเป็นฮีตคองประเพณีอันดีของคนอีสานดั้งเดิมไปสิ้น

              เมื่อเราลืมสิ่งที่พ่อแม่ไทยสอนไปหลงไหลเพลิดเพลินดูข่าวทีวีจากสื่อต่างๆว่าใครทำอะไรบ้างแต่ลืมหันกลับมาดูใจตัวเองลืมไหว้พระในบ้าน เราทุกท่านดูละครก่อนนอน ดูตัวอย่างต่างๆตามละครแล้วก็ทำตามละครนุ่งห่มผ้าตามพระเอกนางเอก  ลูกชายหญิงก็ดูทีวีตามพ่อแม่ ต่อไปอีกไม่นานเด็กก็คงไหว้พระไม่เป็นเพราะพ่อแม่ไม่เคยไหว้พระให้ลูกดู ไม่เคยใส่บาตรเลยก็มี ไม่เคยพาลูกไปทำบุญไม่เคยประนมมือไหว้พระ ไม่ประนมมือยามพูดกับพระ ไม่ไหว้พระก่อนนอนแล้วอะไรหละจะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองเราให้พ้นภัยยามนอนหลับ เราส่วนใหญ่พาลูกไปเดินห้างสรรพสินค้า บอกว่าไปเดินตากแอร์เย็นๆประหยัดไฟฟ้าที่บ้าน วันนี้ไปไม่ซื้อสินค้าแต่ไปตากแอร์เย็นๆสบายๆ แต่คนเราถ้าไปบ่อยๆ ไปเดินห้างวันต่อไปจะต้องซื้อสินค้าสักวันจนได้ คนส่วนมากเห็นว่าวัดในเมืองไทยไม่มีอะไรน่าสนใจหรือลืมคิดถึงความดีของวัด เราคิดถึงพระเฉพาะมีงานศพ มีพระไว้ส่งวิญญาณคนตายเป็นส่วนใหญ่.

               มีเรื่องเล่าว่า มีนกยูงตัวหนึ่งก่อนออกจากคอนไปหากินมันจะท่องมนต์แล้วจึงออกไปหากิน เมื่อค่ำมาก่อนนอนมันจะท่องสวดมนต์แล้วจึงนอนและมีความปลอดภัยมาตลอด นายพรานพยายามมจับอย่างไรก็จับไม่ได้ จึงวางแผนเอานกตัวเมียมาล่อ วันนั้นนกยูงได้ยินเสียงร้องของนกตัวเมียในเวลารุ่งอรุณ มันคิดถึงนกตัวเมียใจคิดพิศวาสจึงลืมท่องมนต์แล้วรีบบินไปหาตัวเมียและก็ลืมระวังจึงติดบ่วงที่นายพรานดักไว้โดยเอานกตัวเมียมาล่อ และนกยูงตัวผู้ก็ถูกจับฆ่าเป็นอาหารเพราะหลงเสน่ห์ตัณหาและลืมสวดมนต์ ด้วยเหตุนี้โบราณจึงให้เราสวดมนต์ก่อนนอนและออกจากบ้าน

              อีกเรื่องหนึ่ง เล่าในพระไตรปิฏกไว้ว่า พระสงฆ์หลายรูปเข้าป่าเจริญกรรมฐานแต่โดนผีหลอก หลอกหลอนโดยแสดงภาพต่างๆ พระพุทธเจ้าจึงบอกวิธีป้องกันโดยตรัสบอกให้พระสงฆ์เหล่านั้นสวดพุทธมนต์กรณียเมตตสูตร บทนี้กล่าวถึงความดีที่เป็นหน้าที่ของคนดีพึงทำมีความอ่อนน้อมถ่อมตน อย่าบ้าหอบฟาง จงเป็นผู้ซื่อตรง เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย ไม่ถือตัวว่าดีกว่าคนอื่น มีปัญญารักษาตนเป็นต้น และสอนให้รักษาความดีดุจดังมารดารักษาบุตรที่ตนเองรักและสอนแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ก่อนจำวัด (พระนอนเรียกว่าจำวัด)

              ก่อนนอนผู้อ่านได้ไหว้พระสวดมนต์หรือยัง  คนเฒ่าคนแก่กล่าวว่า “ เทวดาจะคุ้มครองคนไหว้พระก่อนนอน และเทวดาจะคุ้มครองเขาในขณะนอนหลับ” หมายความว่า ผู้ใดที่สวดมนต์ด้วยไหว้พระรัตนตรัยด้วย คนคนนั้นจะไม่ฝันร้ายและจะปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง คนก็รัก เทวดาก็คุ้มครองฯ    

                    

หมายเลขบันทึก: 408032เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2010 21:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:25 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สาธุครับ ชอบบทความนี้ครับ ยอดเยี่ยม ขอให้ช่วยกันเผยแพร่แนวคิดนี้ครับ พระสอนไว้เช่นนี้

ต้องสวดมนต์แล้วทำความดีในชีวิตประจำวันด้วยครับ

เห็นบางคนเคร่งครัดสวดมนต์ แ่ต่ในชีวิตประจำวันเอาเปรียบผู้อื่นสารพัด

ชอบมากค่ะ มีประโยชน์ มีความสุข มีความสบายใจ ต่อผู้ปฏิบัติ เป็นอย่างยิ่งค่ะ บางคนก่อนนอนก็แค่ ตั้งนะโม 3 จบ เท่านั้น แต่ที่สำคัญ ต้องทำความดีประกอบด้วยจะดีมากค่ะ

lสวดมนต์ทุกวันค่ะชอบสบายใจด้วยค่ะ

การสวดมนต์เป็นการทำบุญ สร้างเสริมบุญบารมีให้แก่ตนเอง โดยไม่ต้องรอโชคลาภ

การสวดมนต์ทำให้สบายใจสงบมีสติค่ะ

I sleep soundly last night.  God helps those who help themselves.

บทสวกมนต์ที่ควรสวดเพิ่มก่อนนอน

๑.  กะระณียะเมตตะสุตตัง

กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง
อะภิสะเมจจะ สักโก อุชู จะ สุหุชู สุวะโจ จัสสะ
มุทุ อะนะติมานี สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ อัปปะกิจโจ
จะ สัลละหุกะวุตติ สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ อัปปะ
คัพโภ กุเลสุ อะนะ นุคิทโ ธ นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ
เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ
สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา เย เกจิ ปาณะภู
ตัตถิ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา ทีฆา วา เย
มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา ทิฏฐา วา
เย จะ อัทิฏฐา เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร ภูตา วา สัมภะ
เวสี วา สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา นะ ปะโร ปะรัง
นิกุพเพถะ นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ พยาโรสะนา
ปะฏีฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ มาตา
ยะถานิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข เอวัมปิ
สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง เมตตัญจะ
สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง อุทธัง อะโธ
จะ ติริยัญจะ อะสัมพาธัง อะเวรังอะสะปัตตัง ติฏฐัญจะรัง
นิสินโน วา สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ เอตัง
สะติง อะธิฏเฐยยะ พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ ทิฏฐิญ
จะ อะนุปะคัมมะ สีละวา ทัสสะเนนะ สัมปันโน กาเมสุ
วิเนยยะ เคธัง นะหิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติ ฯ
___________________


บทที่๒


ขันธะปะริตตัง

วิรูปักเขหิ เม เมตตัง เมตตัง เอราปะเถหิ เม
ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง เมตตัง กัณหาโคตะระเกหิ จะ
อะปาทะเกหิ เม เมตตัง เมตตัง ทิปาทะเกหิ เม จะตุปปะ
เทหิ เม เมตตัง เมตตัง พะหุปปะเทหิ เม มา มัง อะปา
ทะโก หิงสิ มา มัง หิงสิ ทิปาทะโก มา มัง จะตุปปะโท
หิงสิ มา มัง หิงสิ พะหุปปะโท สัพเพ สัตตา สัพเพ
ปาณา สัพเพ ภูตา จะ เกวะลา สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ
มา กิญจิ ปาปะมาคะมา อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ
ธัมโม อัปปะมาโณ สังโฆ ปะมาณะวันตานิ สิริงสะปานิ
อะหิ วิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี สะระภู มูสิกา กะตา
เม รักขา กะตา เม ปะริตตา ปะฏิกกะมันตุ ภูตานิ โสหัง
นะโม ภะคะวะโต นะโม สันตันนัง สัมมาสัมพุทธานังฯ
___________________

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท