อิงจันทร์ บ้านกลอนไฉไล
ครู รัชดาวัลย์ วงษ์ชื่น น้ำตาล จันทวงศ์

สัมผัส ๖ ชนิด ที่มิพึงปรารถนาในบทกลอน


 

       วันก่อน ครูอิงได้รับเกียรติ ให้เป็นคณะกรรมการร่วมตัดสินการ

แต่งกลอนแปดของนักเรียนระดับมัธยมต้น พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ ยังแต่งกลอน

ผิดสัมผัสกันอยู่มาก จริง ๆแล้วก็ไม่เชิงว่าจะผิด เพราะไม่ใช่สิ่งบังคับ

แต่ไม่เป็นที่นิยมหรือเป็นสิ่งที่ทำให้บทกลอนด้อยความไพเราะ

และดูประหลาด ๆ ไปซะงั้น

 

       วันนี้จะขออนุญาตกล่าวถึง "สัมผัส" ในกลอนแปด สัมผัสบังคับหรือ 

สัมผัสนอก  ครูอิงไม่ขอกล่าวถึงหละ เพราะว่าทุกคนคงทราบกันดีอยู่แล้ว

วันนี้จะว่ากันถึง สัมผัสในค่ะ เรียกว่ากลอนจะไพเราะหรือไม่

สัมผัสในนี่แหละค่ะ คือปัจจัยสำคัญ   ดังนั้นการใช้

สัมผัสใน ต้องระวังให้มากค่ะ บางทีเรามัวแต่คิดจะเล่นสัมผัสใน

จนเกิดปัญหาสัมผัสไม่พึงปรารถนาขึ้น สัมผัสเหล่านี้ ช่อประยงค์

 เขียนไว้ว่า คือ  

 สัมผัสเลือน สัมผัสซ้ำ  สัมผัสเกิน  สัมผัสแย่ง สัมผัสเผลอ และสัมผัสเพี้ยน 

 

 

๑. สัมผัสเลือน หมายถึงสัมผัสที่อยู่ใกล้กันหลายคำ

จนทำให้เลอะเลือนไปหมด   เช่น

โอ้เจ้าพวงบุปผามณฑาทิพย์ สูงลิบลิบเหลือหยิบถึงตะลึงแหงน

หรือ

 "แม้เธอเป็นดอกฟ้าน่าถนอม เหล่าชายล้อมอยู่พร้อมพรั่งดังฝูงผึ้ง

อย่าคิดฉันต่ำต้อยพลอยคะนึง เอื้อมไม่ถึงก็พึงเจียมเสงี่ยมใจ”

        คำว่า ลิบลิบ กับ หยิบ และ ล้อม กับ พร้อม เป็นสัมผัสรับได้ทั้งนั้นก็

คือทำให้สัมผัส เลือน ไป บางท่านว่า สัมผัสเลือน หมายถึง

การสัมผัสคำที่ ๓ และ ๕

ในวรรครับและส่ง    ปกติแล้ว กลอนจะไพเราะจริง ๆ ก็ต้อง ๘ คำ

จริงอยู่ที่บอกว่า สัมผัสบังคับที่คำที่ ๓ หรือ ๕ ของวรรคถัดไป

แต่ สำหรับกลอนที่วรรคหนึ่งมี ๙ คำหรือท่อนตรงกลางมี

๓ คำ หากจะใช้สัมผัสทีคำที่ ๕ ก็ต้องเลื่อนไป สัมผัสที่คำที่  ๖

ถึงจะไพเราะกว่า นะคะ

เช่นที่ ยกตัวอย่างมา สูงลิบลิบ เหลือหยิบถึง ตะลึงแหงน สัมผัสที่ดีที่สุดจะอยู่

ตรง คำที่  ๓ การที่ให้คำที่ ๕   สัมผัสด้วยจะไม่ไพเราะนะคะ

 

 

๒. สัมผัสซ้ำ หมายถึงคำที่เหมือนกันมาซ้ำกันในสัมผัสนอก

ของกลอนบทเดียวกันเช่น

           ถ้าฉันเป็นนักกลอนกระฉ่อนชื่อ คนนับถือทั่วหล้าพากล่าวขวัญ

               ฉันคงคุยฉอดฉอดตลอดวัน คงมีขวัญที่จะฝันเสกสรรกลอน

  ครูอิงก็เป็นบ่อยค่ะ คือหาคำมาสัมผัสไม่ได้ก็เอาคำเดิมมาใช้ หารู้ไม่ว่าทำให้

กลอนขาดความไพเราะ สังเกตตรงวรรคสุดท้ายว่า ขวัญ  กับ ฝัน ถือว่าเป็น

สัมผัสซ้ำด้วยนะคะ

 

 

 ๓. สัมผัสเกิน หมายถึงการใช้คำที่มีเสียงสระหรืออักษรอยู่ชิดกันในวรรค

มีทั้งสัมผัสเกินสระ และสัมผัสเกินอักษร แต่เกินอักษรไม่ถือว่าเป็นข้อห้าม

และใช้กันทั่วไป สัมผัสเกินสระนั้นก็ไม่ผิดแต่นักกลอนรุ่นหลัง

ไม่ค่อยนิยมกันเพราะไม่ไพเราะ เช่น

 ไม่เคยคิดบิดเบือนว่าเพื่อนเบ่ง ถึงเพื่อนเก่งเคร่งครัดไม่ขัดขวาง

     จะคิดแปลกแหวกออกไปนอกทาง ใจก็วางอย่างนั้นไม่ผันแปร 

 

 

 ๔. สัมผัสแย่ง คือคำที่มีเสียงสระตัวเดียวกันมาตัดหน้าแย่งสัมผัสตาม

ฉันทลักษณ์ไปก่อน เช่น 

เป็นนักเรียนไม่พอริก่อรัก มันดีนักหรือไฉนใคร่ขอถาม 

ถ้ามันงามหรือทำให้เรียนได้ความ   ก็น่าตามใจดูอยู่เหมือนกัน

แต่รู้กันความจริงมันไม่เหมาะ เพราะรักเกาะ   เรียนก็อ่อนหย่อนเหหัน

ดีไม่ดีอาจดับลับชีวัน จึงสำคัญคิดให้หนักเถิดนักเรียน

คำว่า งามไปแย่งกับคำว่า ความ ทำให้กลอนดูประหลาดไปเพราะเวลาอ่าน

จะลงคำว่า งาม ก่อน  เป็นการแย่ง ความ ไปอย่างหน้าตาเฉยเช่นเดียวกับ

เพราะ  ที่แย่งสัมผัสกับ เหมาะ ก่อน เกาะ ประหลาดมั้ยหล่ะคะ

 

 

๕. สัมผัสเผลอ หรือ สัมผัสเสียง คือ สัมผัสระหว่างคำที่ผสมสระเสียงสั้น

(รัสสระ)กับสระเสียงยาว (ฑีฆสระ) เช่น น้ำ กับ ความ, จ้าว  กับ เจ้า,

กาย กับ ใต้ เป็นต้น

ข้อนี้มีบ่อยในบทกลอนของครูอิงเองแหละค่ะ ไม่ใช่ไม่ทราบนะคะ

ทราบแต่หาสัมผัสไม่ได้ก็ใช้ไปก่อน เช่น

    ยุคสมัยก้าวหน้าลืมจารีต         เมื่อพลั้งผิดจึงยากจะแก้ไข

       ประมาท...หลงระเริงสุมเพลิงใจ มิดับไฟปรารถนาจึงราคี

หรือ

   เพราะลงเรือรีบลกเลยตกน้ำ    ไม่ได้ความเปียกปอนผ้าผ่อนเปื้อน

 

 

 ๖.สัมผัสเพี้ยน คือสัมผัสคำที่ไม่มีเสียงสระใกล้เคียงกัน แต่ความจริงเป็น

สระคนละรูป เช่น กำ กับ กัน เป็นต้น เช่น

       “พริกขี้หนูเม็ดเดียวแม้จะเล็ก มีรสเผ็ดหนักหนาคราเคี้ยวเข้า”

       คำว่า “เล็ก” กับ “เผ็ด” มีเสียงคล้ายกัน แต่ไม่ถือว่าเป็นสัมผัส ค่ะ หรืออีก

ประเภทหนึ่ง คือ “แข็ง” กับ “แรง” ก็ถือว่าเป็นสัมผัสเพี้ยน เพราะ “แข็ง”

มาจากสระ“แอะ” แต่ “แรง” มาจากสระ “แอ” หรือที่เจอบ่อยคือ เสียง ไอ   ใอ

กับ เสียง อาย ค่ะเช่น ไกล กับ กาย

 

 

        อย่าเพิ่งหมั่นไส้ ว่าครูอิงอวดรู้ นะคะ คือ ครูอิงเองก็ศึกษามา

จากงานเขียนของนักวิชาการด้านการแต่งกลอนแหละค่ะ

ครูอิงเองก็ใช่ว่าจะ

แต่งกลอนเก่งถึงขนาดจะมาสอนคนอื่นได้ เพียงแต่พอแต่งได้บ้าง

การแต่งกลอนในบันทึก ณ บ้านกลอนไฉไล ของครูอิง

ก็เป็นเพียงการฝึกหัด เท่านั้น

หากนักกลอนท่านใดจะติเพื่อก่อ ในบทกลอนที่ครูอิงแต่งก็ยินดีนะคะ

       

          

หมายเลขบันทึก: 410560เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2010 22:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

สวัสดีค่ะพี่ครูอิง มาเรียนรู้กับกลอนแปด ยากสำหรับคนที่ไม่เคยเรียนนะคะ มีสัมผัสอะไรตั้งเยอะแยะ อิอิ น่าสนใจมากๆค่ะ แต่งให้น้องบทสิคะ ประกอบเพลงเบริด์ที่บันทึกนั่นก็เพราะมากๆๆเนาะ ฝันดีค่ะ

สวัสดีครับพี่

มาสมัครเรียนเขียนกลอนครับ...

พยายามมาหลายทีแล้วแทนที่จะเป็นกลอนเพราะ ๆ กลับได้แค่กลอนหน้าต่าง กลอนประตู

แวะมาเยี่ยมด้วยความระลึกถึงครับ

  • ถ้าได้อาจารย์ดีขนาดนี้
  • อาจจะเขียนกลอนเป็นแล้วป่านนี้
  • สุดยอดครับ

สวัสดีค่ะน้องครูตูมIco32Rinda

  • พี่อิงเองก็ใช่ว่าจะเก่งเรื่องบทกลอน 
  • แค่พอแต่งได้เท่านั้นเองค่ะ
  • ถ้าเรื่องการเล่นคำ  เล่นความ  ยังอ่อนด้อยอยู่มากเหมือนกันค่ะ
  • ขอบคุณนะคะที่ส่งกำลังใจกันเสมอ ๆ

สวัสดีค่ะน้องIco32หนานเกียรติ

  • พีอิงเองก็พยายามอย่างมาก อยากเขียนบันทึก แบบของน้องหนานเกียรติ
  • ชอบมากค่ะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบันทึกที่เขียนถึง ท่านวอญ่า หน่ะค่ะ
  • ชอบวิธีการนำเสนอ ด้วยถ้อยคำที่แสนงดงามของน้องหนานอย่างมาก
  • พยายามเลียนแบบบ้าง แต่ก็ไม่สำเร็จ  ยากกว่าเขียนกลอนแปดเป็นไหน ๆ เลยค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ตาล

มาเรียนรู้ ที่แต่งอยู่ ดูสับสน มีสัมผัส เยอะแยะ เพี้ยนในบัดดล จึงเสกสรร กลอนกานท์ กลายเป็น กลอนบานประตู ดูฮาเฮ

 สัมผัสเลือน สัมผัสซ้ำ  สัมผัสเกิน  สัมผัสแย่ง สัมผัสเผลอ และสัมผัสเพี้ยน

ขอบคุณค่ะ

นามว่า"อิงจันทร์"

มาเห็นครูอิงร่ายวอน เกี่ยวกับกลอนแปด

หลักเณฑ์ไม่เท็จให้เรา เข้าใจศึกษา

เป็นครูดีไม่เย่อหยิ่ง ในวิชา

ปรารถนาให้เรา เข้าใจกัน

ครูบางท่านทำที ดีหนักหนา

เอากลอนมาว่าหาว่าเก่ง จริง ๆ นั่น

เขียนกลอนโอ้อวด วางมาดครัน

ดอกรักเห็นพลัน จะเป็นลม

นี้ครูอิงดูซี มีดีหนัก

เป็นครูน่ารัก อันเหมาะสม

ไม่ลืมตนว่าเด่น ไม่โม้พกลม

มาอบรมเรื่องกลอน วอนว่ามา...

******ชมครูอิงนะ******

สวัสดีค่ะคุณIco32คนบ้านไกล

  • ลองฝึกดูนะคะ  เดี๋ยวนี้หาคนแต่งกลอนแบบไทยแท้ค่อนข้างยากค่ะ
  • คนรุ่นใหม่มักจะแต่งกลอน แบบกลอนเปล่า ไม่ยึดสัมผัสดั้งเดิม
  • มาช่วยกันอนุรักษ์การแต่งกลอนที่ถูกต้องตามฉันทลักษณ์ไทยกันนะคะ
  • ขอบพระคุณค่ะที่แวะเข้ามาทักทาย

สวัสดีค่ะน้องIco32poo

  • เคยอ่านกลอนของน้องปู ก็ใช้ได้แล้วนะคะ
  • เพียงแต่อาจต้องเกลานิดนึง ให้ถูกต้องตามฉันทลักษณ์
  • และเรื่องของการลงเสียงวรรณยุกต์ ก็จะได้บทกลอนที่ไพเราะกว่าเดิมค่ะ
  • ขอบคุณนะคะที่แวะมาเยี่ยมเยือน ขอให้มีความสุขเสมอ ๆ นะคะ

ที่เวทีนี้ในงาน "มหกรรมการจัดการความรู้ครั้งที่ ๕" วิทยากรได้กล่าวถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์ GotoKnow " ว่า

นอกจากสิ่งดี ๆ ที่นำมาแลกเปลี่ยนกันแล้ว ยังมีคนรักการเขียนกลอนและ "บันทึกการแลกเปลี่ยนเรื่องการเขียนกลอน" อีกด้วย

ชื่นใจค่ะ  เมื่อได้ยิน  อยากให้นำเรื่องการเขียนกลอนแปดกลับขึ้นมาไว้หน้านี้ ทำอย่างไรละน้อง

ทำอย่างไร จะฝัน  ให้บรรเจิด

อันก่อเกิด  วจี  ที่อ่อนหวาน

จดจ้องจ่อ คราใด ไร้ชำนาญ

ขอแค่อ่าน  ชื่นใจ  ให้เกินพอ....ฮา ๆ ๆ ๆ คอเสียงปรบมือหน่อยคร๊า 

ดีใจที่มันครบ ๘  รีบกดส่งโดยเร็ว...ตื่นเต้น ๆ ๆ ค่ะ

ขอเข้าห้องเรียนนี้ด้วยคน.....

  • สวัสดีค่ะครูIco32ดอกรัก ดอนตรอ
  • ฟังคำยอ เขินจิต คิดก็ขัน
  • สาธยาย ว่าดี สารพัน
  • เดี๋ยวอิงจันทร์ โดนหมั่นไส้ จากหลายคน
  • มิได้เก่ง อย่าเอ็ดไป อายเพื่อนบ้าน
  • เรื่องกลอนกานท์ ฝึกหัด ยังขัดสน
  • ยังต้องเรียน รู้ให้ลึก หมั่นฝึกตน
  • ใครเขาพ่น ใส่ร้าย พ่ายภัยเอง

ที่เวทีนี้ในงาน "มหกรรมการจัดการความรู้ครั้งที่ ๕" วิทยากรได้กล่าวถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์ GotoKnow " ว่า

นอกจากสิ่งดี ๆ ที่นำมาแลกเปลี่ยนกันแล้ว ยังมีคนรักการเขียนกลอนและ "บันทึกการแลกเปลี่ยนเรื่องการเขียนกลอน" อีกด้วย

ชื่นใจค่ะ  เมื่อได้ยิน  อยากให้นำเรื่องการเขียนกลอนแปดกลับขึ้นมาไว้หน้านี้ ทำอย่างไรละน้อง

                                  

ขอบพระคุณค่ะพี่คิม Ico32ยายคิม

ที่เล่าให้ฟัง ท่านวิทยากรคงหมายถึงสมาชิกท่านอื่นมากกว่ามังคะพี่  คงไม่เกี่ยวกับตาลหรอกค่ะ  แค่เรื่องราวเล็ก ๆ ของคนเล็ก ๆ ไม่น่าจะเตะตา  อิ..อิ..อิ...แต่ถึงยังไง ก็อยากให้สมาชิกแต่งกลอนกันเยอะ ๆ ค่ะ เพราะนับวันจะหาคนแต่งกลอนยาก  เด็กรุ่นใหม่ก็มักจะแต่งแบบกลอนเปล่า ไม่ค่อยมีสัมผัส หรือเป็นแบบ "ไฮกุ"  อะไรประมาณนั้น

ทำอย่างไร จะฝัน  ให้บรรเจิด

อันก่อเกิด  วจี  ที่อ่อนหวาน

จดจ้องจ่อ คราใด ไร้ชำนาญ

ขอแค่อ่าน  ชื่นใจ  ให้เกินพอ

          

  • ใช้ได้เลยหล่ะค่ะพี่คิม
  • ถูกต้องตามฉันทลักษณ์บังคับเลยค่ะ
  • ว่าง ๆ มาต่อกลอนกันอีกนคะ

มาเยี่ยมเพื่อบอกว่า "เยี่ยม" ครับ

-ปณิธิ

ดีจัง

เพราะปัจจุบันไม่ได้แต่งกลอนนานแล้ว

ชักจะลืมๆ

ขอบคุณน้องอิงมากๆๆๆ

สวัสดีค่ะ Ico32ปณิธิ ภูศรีเทศ

  • อยากใช้คำนี้กับ คุณ "ปณิธิ" เช่นกันค่ะ
  • ไปอ่านบันทึกของคุณทีไร  รู้สึกดี  ให้ข้อคิดเตือนใจ คิดได้หลากหลาย
  • ยอดเยี่ยมจริง ๆ ค่ะ แบบว่า
  • "เล็กดี  รสโต"

สวัสดีค่ะคุณIco32พ.แจ่มจำรัส

  • กำลังใจให้เท่าไหร่ก็ไม่หมด ค่ะ  แล้วจะแวะไปส่งกำลังใจให้บ่อย  ๆ  นะคะ
  • สำคัญที่ตัวคุณเองก็ต้องให้กำลังใจตัวเองมา ๆ  อย่าท้อถอย
  • ขอให้สุขภาพดีขึ้นเรื่อย ๆ นะคะ

สวัสดีค่ะ คุณครูอิงจันทร์

ขอบคุณเสียอีกที่ได้เติมเต็มความรู้การแต่งกลอน

ครูปอสองก็ชอบแต่งกลอนแบบสัมผัสไปตาม..กลอนพาไปซะงั้น

คงฝึกฝนอีกมากแน่เลย..

             

สวัสดีค่ะพี่เขี้ยว Ico32มนัญญา ~ natachoei ( หน้าตาเฉย)

  • ลองรื้อฟื้นใหม่อีกสักรอบดีมั้ยคะ
  • ฝึกแต่งกลอนบทเดียวสั้น ๆ ที่อิงจันทร์ ณ บ้านกลอนไฉไล ก็ได้ค่ะ
  • มาร่วมแต่งกลอน เพื่ออนุรักษ์ภาษาอันงดงามกันนะคะ

สวัสดีค่ะIco32ครูปอสอง

  • ครูอิงเองก็ยังคงต้องฝึกอีกเยอะเลยหล่ะค่ะ
  • เรื่องของการลงสัมผัส ยังอ่อนด้อยอยู่มากเหมือนกัน

สวัสดีค่ะ

  • กิ่งไผ่ฯเป็นคนชอบแต่งกลอน  ทั้งกลอนเปล่า(ไร้ฉันทลักษณ์) และกลอนฉันทลักษณ์
  • แต่บ่อยครั้งที่ผิดเพี้ยนแบบที่ครูอิงบอกไว้ด้วยเหตุผลที่เหมือนคำแก้ตัว คือ  หาคำมาใส่ไม่ได้ก็ใส่ลงไปก่อน
  • ขอบคุณครูอิงจริงๆค่ะที่นำเรื่องราวที่มีประโยชน์แบบนี้มาเผยแพร่

สวัสดีค่ะน้องIco32กิ่งไผ่ใบหลิว

  • พี่อิงเอามะพร้าวมาขายสวนหรือเปล่า
  • สำหรับน้องกิ่งไผ่ การแต่งกลอนของน้องระดับมืออาชีพแล้วนะคะ
  • ขอบคุณนะคะที่แวะมาเยี่ยมเยียน

ขอบคุณมากค่ะ อ่านก่อนสอบได้ดีเยี่ยมเลย ออกทุกอัน ><

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท