การใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียในนาข้าว


      

      สำนักงานเกษตรจังหวัดชัยนาทได้ร่วมกับศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดชัยนาท และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการทำเกษตรแบบลดต้นทุน ด้วยการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสานโดยรณรงค์ปลูกข้าวไม่เผาตอซังและฟางข้าว การใช้เมล็ดข้าวพันธุ์ดีในอัตราที่เหมาะสม การใช้ปุ๋ยเคมีถูกสูตร ถูกอัตรา และถูกระยะเวลา ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ (อินทรีย์นำ เคมีตาม และชีวภาพเสริม ขออนุญาตนำแนวทางของหัวหน้ารังสรรค์ กองเงิน อดีตเกษตรจังหวัดชัยนาทมาใช้) การใช้สารสมุนไพร และสารชีวภัณฑ์ในการป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช สำหรับการส่งเสริมการใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย ในปี ๒๕๕๑ และ ๒๕๕๒ ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรจำนวน ๔๐ กลุ่ม ดังนี้ ภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวปลอดภัยและได้มาตรฐานจังหวัดชัยนาท ปี ๒๕๕๒ จำนวน ๒๐ กลุ่ม และโครงการส่งเสริมการลดต้นทุนและผลิตข้าวปลอดภัยได้มาตรฐานจังหวัดชัยนาท ปี  ๒๕๕๓ จะสนับสนุนการผลิตและการใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียต่อไป  ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่าผู้ที่ใช้เชื้อราบิวเวอร์เรียที่ถูกวิธีสามารถลดการระบาดลงได้มาก อีกทั้งยังประหยัดต้นทุนอีกด้วย  ลักษณะการนำไปใช้พบ 2 วิธีคือ การใช้วิธีการฉีดพ่น และ นำไปใส่ในกระบอกไม้ไผ่ วิธีนี้จะช่วยประหยัดเวลาไปได้มากและเชื้อราก็กระจายได้ดีไม่แพ้กัน

มารู้จักกับเชื้อราบิวเวอร์เรีย

         เชื้อราบิวเวอร์เรียเป็นเชื้อราที่สามารถให้เกิดโรคได้กับแมลงได้หลายชนิด โดยเฉพาะเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และหนอนศัตรูพืช  เนื่องจากสปอร์ของเชื้อราบิวเวอร์เรียที่ตกที่ผนังลำตัวแมลง เมื่อมีสภาพที่เหมาะสมสปอร์จะงอกแทงทะลุผ่านลำตัวแมลงเข้าไปไชช่องว่างภายในลำตัวและเจริญเติบโตเป็นเส้นใยท่อนสั้นๆ ทำลายเซลล์เม็ดเลือดในตัวของแมลง  ทำให้แมลงเป็นอัมพาตและตายไปในที่สุด  หลังจากแมลงตายแล้วเชื้อราจะสร้างสปอร์แพร่กระจายได้ตามธรรมชาติ  เฝ้าระวังแปลงนาของเกษตรกรจากแมลงศัตรูข้าง เพราะสามารถทำลายแมลงได้ทุกระยะ  แต่เมื่อเกษตรกรฉีดพ่นสารเคมีหรือเชื้อราไตรโคเดอร์มา กำจัดเชื้อราสาเหตุของโรคข้าว  จะทำให้เชื้อราบิวเวอร์เรียถูกทำลายไปด้วย  เป็นการสร้างความสมดุลให้แก่ระบบนิเวศน์วิทยาในนาข้าวต่อไป 

การผลิตเชื้อราบิวเวอร์เรีย

        การเพาะเลี้ยงเชื้อราบิวเวอร์เรีย ว่า จะต้องเตรียมอุปกรณ์ คือ เมล็ดข้าวโพดแห้ง  ถุงพลาสติกเพาะเห็ด  คอขวด เชื้อราบิวเวอร์เรียบริสุทธ์ แอลกอร์ฮอร์  ลวดเขี่ยเชื้อ  ถังนึ่ง(แปลงมาจากถังน้ำมัน 200 ลิตร) และสำลี(หรือใช้จากไส้ในที่นอนซักให้สะอาดตากให้แห้งแล้วนึ่งฆ่าเชื้อขณะนึ่งห่อด้วยกระดาษกันความชื้น)

                 วิธีทำ นำข้าวโพดแช่น้ำ 12 ชม. นำไปผึ่งลมหรือตากแดดอ่อนๆ ทิ้งไว้ให้หมาดๆ  กรอกลงถุงพลาสติกถุงละ 400  กรัม  ใส่คอขวดก่อนปิดด้วยสำลีที่เตรีมไว้เพื่อปิดกันแมลงและเชื้อโรคอื่นเข้าไป  หุ้มด้วยกระดาษใช้ยางรัดไว้เพื่อกันความชื้นหรือหยดน้ำลงไป   นำลงนึ่งในถังให้ห่างจากขอบถังประมาณ 2 ซม.เพื่อกันถุงเสียหายจากความร้อน วางทับหันประมาณ 2 ชั้น เพื่อให้ความร้อนเข้าถึงอย่างสม่ำเสมอ ใส่น้ำลงไปประมาณ 15  ซม. ปิดฝาให้มีช่องระบายไอน้ำเล็กน้อย  นึ่งโดยใช้ไฟแรงให้เดือนแล้ว จับเวลาตั้งทิ้งไว้จำนวน 2  ชม. นำออกมาไว้ในที่ร่มให้อุ่น (ทดสอบโดยวางบนหน้าแขนพอทนได้สักพัก)  จึงเขี่ยเชื้อจากขวดที่ได้รับจากศูนย์บริหารศัตรูพืชจังหวัดชัยนาท

            การเขี่ยเชื้อ  เป็นขั้นตอนที่ต้องระวังความสะอาดเป็นพิเศษ จึงต้องดำเนินการในที่ปิดมิดชิดลมไม่โกรก  ผู้ปฏิบัติปิดปาก ปิดจมูกและสวมถุงมือ ก่อนเขี่ยต้องเตรียมจุดไฟด้วยการเทแอลกอร์ฮอร์ลงบนสำลีที่วางไว้บนถ้วยแก้วหรือกระเบื้อง ติดไฟไว้สำหรับฆ่าเชื้อลวดเขี่ยเชื้อ นำขวดเชื้อลงนอนตะแคง เขี่ยให้ได้ประมาณเท่าหัวไม้ขีด นำออกจากขวดพร้อมกับปิดจุกสำลีที่ขวดหัวเชื้อทันที  หย่อนหัวเชื้อที่ได้ลงถุงข้าวโพด ปิดสำลีทันที

            การบ่มเชื้อ นำไปเก็บไว้ในที่เย็นไม่โดนแดด แต่จะต้องให้ได้รับแสงสว่างอย่างน้อยวันละ 6 ชม.และอย่าให้ถูกความร้อน (สำหรับตนเองเอาไว้ในห้องน้ำ) ทิ้งไว้ 15 วันสังเกตเส้นใยสีขาวเดินรอบถุงจึงนำออกเก็บไว้ในที่เย็นไม่ให้โดนความร้อน ถ้าเป็นโรงเก็บรถหรือเก็บของจะต้องใช้วัสดุป้องกันไอร้อนกระทบกับก้อนเชื้อราบิวเวอร์เรียเสียหายได้ ก่อนที่จะนำไปใช้มาฟังเพลงอีกสัก 1 เพลงครับ

การเก็บรักษาเมื่อเชื้อเดินเต็มแล้ว ควรเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น จะทำให้เก็บไว้ได้นานขึ้น

วิธีใช้ 

          1.  การนำไปใช้สำหรับฉีดพ่น  นำเชื้อราบิวเวอร์เรีย 1-2  กก./น้ำ 20 ลิตร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยนำน้ำ 5 ลิตร ใส่ถุงมือขยำก้อนเชื้อกับน้ำให้สปอร์เชื้อราหลุดจากเมล็ดข้าวโพดแล้วกรองด้วยผ้าบางๆ  แล้วจึงนำไปผสมกับน้ำอีก 15 ลิตร ผสมกับสารจับใบ(ตามฉลาก) คนให้เข้ากัน นำไปฉีดพ้นในช่วงเช้าตรู่หรือเย็นแดดอ่อน(ช่วงเย็นดีที่สุดเมื่อพ่นไปแล้วเชื้อรามีช่วงเวลาฟื้นตัวนานก่อนที่จะพบกับอากาศร้อนช่วงกลางวันวันถัดไป) ควรปรับหัวฉีดให้พ่นเป็นฝอยละเอียดจะทำให้ได้ผลดีและได้พื้นที่เพิ่มขึ้น และควรติดตามตรวจสอบเมื่อฉีดพ่นได้ 2-3 วัน  ข้อควรระวังในการใช้คือ สวมถุงมือ ปิดปาก ปิดจมูก  เหมือนกับใช้สารเคมีทั่วไป  ไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมีกำจัดศัตรูพืชทุกชนิด และควรล้างเครื่องฉีดพ้นที่เคยพ่นสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชให้สะอาด และเชื้อราบิวเวอร์เรียจะอยู่ได้นานจนถึงระยะเก็บเกี่ยวเมื่อใช้กับข้าวที่อายุ 40-50  วัน  เพราะจะมีใบข้าวที่ปกคลุมป้องกันแสงแดดส่อง อีกทั้งสภาพแวดล้อมในควรมีความชื้นทีเหมาะสม (80%)

            2.  ใส่เชื้อราบิวเวอร์เรียในกระบอก    การทำไผ่สำหรับใส่เชื้อราบิวเวอร์เรีย นำกระบอกที่ทำไว้ปักหลักตั้งกระบอกที่อาจทำจากท่อพลาสติก PVC  หรือกระบอกไม้ไผ่ห่างกันประมาณ 10-20 เมตรกระจายทั่วแปลงนา สำหรับการใช้กระบอกไม้ไผ่เกษตรกรจะตัดเหนือข้อ 1 ด้านส่วนอีกด้านตัดเลยข้อประมาณ 1.5 นิ้ว  ก่อนที่จะตัดเหนือข้อต่อกระบอกตัดเหนือข้อลึกลงไปครึ่งกระบอก ก่อนผ่านำส่วนที่ไม่ต้องการออกจะเหลือข้อเพื่อกันก้อนเชื้อราบิวเวอร์เรียปลิวกระเด็น เมื่อตัดและทำกระบอกได้ทรงตรงตามที่ต้องการแล้วนำเชือกมาผูกและนำใบตาลตอกติดกระบอกที่เตรียมไว้ ทำเป็นหางเสือ เมื่อนำกระบอกปักหรือแขวนติดกับเสาจะหมุนหันปากกระบอกรับลม เพื่อพัดพาสปอร์ล่องลอยไปตกลงในแปลงนาหรือเปื้อนติดตัวแมลงศัตรูพืช และทำลายจนตายก่อนที่จะขยายพันธุ์โดยอาศัยตัวแมลงพร้อมกับขยายเจริญเติบโตในแปลงนาเหมือนกับว่ามียามหรือหน่วยป้องกันในนาของเกษตรกร  นำกระบอกไม้ไผ่ที่เสียบฐานเรียบร้อยแล้วไปปักในนาข้าว 1 ไร่ใช้ 4 กระบอก

 กลุ่มส่งเสริมการผลิตและการใช้เชื้อราบิวเวอร์เรีย(บางส่วน)

ที่

ชื่อกลุ่ม

ประธาน

โทร.

หมู่ที่

ตำบล

 

เมืองชัยนาท

 

 

 

 

1

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านวังไผ่

นายประดิษฐ์ ฤทธิ์พันธ์

0894608366

4

ชัยนาท

2

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเรียบ

นายประเสริฐ สอนพระการ

0871975913

6

ธรรมมูล

3

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านท่าแห

นายบำเรอ เบ็ญจวชิระ

056-439186

4

หาดท่าเสา

4

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านบ้านหนองแค

นายลำพอง ภู่วงษ์

0871943101

8

นางลือ

5

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านหาดกองสิน

นายสมจิตร หงษ์สะ

0898391739

5

หาดท่าเสา

6

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านสาริกา

นางอรัญญา หมั่นมาก

0818877523

2

เสือโฮก

7

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านหนองป่าน

นางประชวน ปานสมบุญ

0862033889

11

เสือโฮก

8

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านบ้านห้วยยาง

นายถวัลย์ พิเชล

0837053110

5

ท่าชัย

10

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโพธิ์เจริญ

นายวินัย จีนจัน

0871978133

10

ท่าชัย

 

อำเภอมโนรมย์

 

 

 

 

1

ปลูกผักบ้านหลั่น

นางสาววิไลวรรณ ดีอ่วม

056434050

4

ท่าฉนวน

2

กลุ่มเกษตรกรบ้านไผ่พักช้าง

นายมงคล นิลทับ

056553036

8

ท่าฉนวน

3

โรงเรียนเกษตรกรบ้านดอนฉนวน

นางสาวริน  สุ่มฝาง

0894376942

6

ท่าฉนวน

4

โรงเรียนเกษตรกรบ้านดอนสำโรง

นายเสา พุทธโกสัย

0831653491

2

อู่ตะเภา

5

กลุ่มผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ

นางสาวสุนีย์ งามอยู่เจริญ

0895114125

2

ศิลาดาน

6

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านท่าแขก

นายกิติพัฒน์ เอี่ยมทัด

0897029585

1

ศิลาดาน

 

อำเภอวัดสิงห์

 

 

 

 

1

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้าน

นายชัยวัฒน์ ไพรหนู

0897651274

3

หนองขุ่น

2

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้าน

นางธัญลักษณ์ สวนบ่อแร่

0836292567

1

บ่อแร่

3

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้าน

นายกิตติ สุ่มทา

0810432285

2

หนองน้อย

4

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้าน

นายทองอยู่ โหมดเทศ

0858187331

4

มะขามเฒ่า

5

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้าน

นายสุนิจ สุขประเสริฐ

0873168361

6

มะขามเฒ่า

6

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้าน

นายไพบูลย์ เมืองช้าง

0895663772

7

วังหมัน

 

อำเภอสรรคบุรี

 

 

 

 

1

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านดงคอน

นายรักสันติ ยอดดำเนิน

0865921363

3

ดงคอน

2

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านหัวเด่น

นายเสนห์ แทนรอด

0898602383

10

บางขุด

3

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านบางขุด

นายโพธิ์ วงษ์ไร

056484231

7

บางขุด

4

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านดอนกำ

นายถุงเงิน พรคำ

0804362042

8

คอนกำ

5

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านหัวตะพาน

นายจรัญ ภูนาพลอย

0878470497

14

แพรกศรีราชา

6

กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านสระไม้แดง

นางสมพิศ  ศรีทอง

0894594747

16

แพรกศรีราชา

7

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านโพงาม

นายสมนึก  เกตุจิตร์

0847615692

5

โพงาม

8

กลุ่มผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ

นายธิษณุพงษ์ สุรินทร์

0872066985

2

โพงาม

9

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเที่ยวแท้

นายสุทิน บางจั่น

0897024017

1

เที่ยงแท้

10

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านวังยาว

นายพายัพ บุญสาลี

0872077381

9

เที่ยงแท้

11

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านห้วยกรดพัฒนา

นายวิเชียร สอนปาน

0810467596

1

ห้วยกรดพัฒนา

 

อำเภอหันคา

 

 

 

 

1

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านยางต้นเดียว

นายสมคิด ศิริอ่อน

0895667974

5

หันคา

2

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านหนองหวาย

นางสุธรรมา เรืองทอง

0890413747

4

หันคา

3

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านพวก

นายสมนึก พุ่มเข็ม

0852696090

11

หันคา

4

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านทับนา

นายน้อย โฉมเชิด

0836211437

5

บ้านเชี่ยน

5

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านบางลี่

นายสายยันต์ โฉมเชิด

0814758519

12

บ้านเชี่ยน

6

กลุ่มส่งเสริมการผลิตฯ(ข้าว)

นายสุรัตน์ ไกรเพ็ชร

-

3

วังไก่เถื่อน

7

กลุ่มส่งเสริมการผลิตฯ(ข้าว)

สันติ แก้วกล่ำ

-

2

ห้วยงู

8

กลุ่มส่งเสริมการผลิตฯ(ผัก)

นางสาวไสว ม่วงศรีจันทร์

-

5

ห้วยงู

9

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านวังจิกตก

นางสมพร บุญวาส

0862002447

1

สามง่ามฯ

10

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านวังจิกออก

นายทองดี ใจแสน

0862039878

4

สามง่ามฯ

11

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านท่ากรวด

นายสมศักดิ์ ทองดอนน้อย

0879024149

10

สามง่ามฯ

12

กลุ่มส่งเสริมการผลิตฯ(ข้าว)

นายสุชิน เทียนชัย

-

3

หนองแซง

13

กลุ่มส่งเสริมการผลิตฯ(ข้าว)

นายสมมิคร ชุ่มแพ

0852678720

6

หนองแซง

14

กลุ่มส่งเสริมการผลิตฯ(ข้าว)

นายบุญชู หลำดี

0899591623

9

หนองแซง

15

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านไพรนกยูง

นายสถิต มีเมืองตูม

0898010399

1

ไพรนกยูง

16

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านเด่นใหญ่

นายสมคิด อ่ำทิม

-

6

เด่นใหญ่

 

อำเภอหนองมะโมง

 

 

 

 

1

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านหนองรังนก

นายวิทยา ศรีคิรินธิ์

0828871071

13

วังตะเคียน

2

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านบ่อลึก

นยพิสิฐ สวนบ่อแร่

0898605114

6

วังตะเคียน

3

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านดอนใหญ่

นายเชน นิลฉ่ำ

0869343068

5

หนองมะโมง

4

ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านสะพานหิน

นายสวอง สระเสริม

0856040141

1

สะพานหิน

หมายเลขบันทึก: 412294เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2010 20:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เคยเข้าไปศึกษา กับปราชญ์ชาวบ้าน ที่ อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ได้ผลดีครับ

คำแนะนำ ให้ฉีดพ่น ลงในโคนกอข้าว ใต้ใบข้าว  ให้ฟุ้งกระจาย ด้านล่างโคน สปอร์จะไปจับกับเพลี้ย พ่นทุก ๆ สิบเก้า เช้า เย็น ในเเปลงนา

ขอบคุณเรื่องราวที่เเบ่งปันครับ

 

ขอบพระคุณ คุณต้นกล้า มากครับที่แวะเยี่ยมเยียน พร้อมคำแนะนำดีๆ

ขอบคุณมากมายสำหรับความรู้ครับ

ขอขอบคุณมิตรภาพและบันทึกดีๆที่ได้รับมาตลอดปีนี้ และขอส่งความสุขสำหรับปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงค่ะ..

(บัตรอวยพร ดอกม่วงเทพรัตน์ ของมูลนิธิรามาธิบดีฯ ) คลิ๊กที่:

http://gotoknow.org/blog/nongnarts3/348844

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท