การบริหารสถาบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ


ระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี

          ระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (Good Governance) หมายถึง กรอบในการบริหารจัดการขององค์การต่าง ๆ ซึ่งถ้านำไปใช้ในการบริหารระดับบริษัทจะเรียกว่า Corporate Governance ถ้านำไปใช้ในราชการจะเรียกว่า Public Governance กรอบการบริหารที่ดีเรียกว่า Good Governance ที่ไม่ดีเรียกว่า Bad Governance

          เพื่อให้กระบวนการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เกิดผลอย่างจริงจัง คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบ ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี เมื่อวันที่ ๑๑  พฤษภาคม ๒๕๔๒ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศทั่วไป เล่ม ๑๑๖ ตอนที ๖๓ ง วันที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๒ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันถัดจากประกาศ เพื่อให้องค์กรทุกส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของภาครัฐ ให้สามารถนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพโดยเร็ว

          หลักการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบด้วยหลัก ๖ ประการ คือ

          ๑.  หลักนิติธรรม ได้แก่ การตรากฎหมาย กฎ ข้อบังคับต่าง ๆ ให้ทันสมัยและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย กฎ   ข้อบังคับเหล่านั้น และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย

          ๒.  หลักคุณธรรม ได้แก่ การยึดมั่นในความถูกต้อง ดีงาม โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคม และส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกัน เพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัย ประกอบอาชีพสุจริต จนเป็นนิสัย

          ๓.  หลักความโปร่งใส  ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติ โดยปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวกและเข้าใจง่าย และมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้

          ๔.  หลักความมีส่วนร่วม  ได้แก่ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับร้และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศ ไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น การไต่สวนสาธารณะ การประชาพิจารณ์ การแสดงประชามติ หรืออื่น ๆ

          ๕.  หลักความรับผิดชอบ หมายถึง การตระหนักในสิทธิหน้าที่ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมืองและกระตือร้นในการแก้ปัญหา ตลอดจนการเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างและความกล้าที่จะยอมรับผลดีและเสียจากการกระทำของตน

          ๖.  หลักความคุ้มค่า  หมายถึง การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีอย่างจำกัด เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด ใช้ของอย่างคุ้มค่า สร้างสรรค์สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ สามารถแข่งขันได้ในเวทีโลกและรักษาพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน

 

ที่มา : สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน, ชุดการเรียนด้วยตนเอง หลักสูตร           

         การบริหารงาน : การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่ ชุดวิชาที่ ๕ การสร้างระบบ

         บริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี

 

หมายเลขบันทึก: 413264เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2010 22:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท