การบริหารสถาบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ


การประเมินผลโครงการ

การประเมินผล : หลักการเบื้องต้น

          การประเมินผล เป็นกระบวนการที่สอดแทรกในการวางแผนและบริหารจัดการในทุกขั้นตอนที่ผู้บริหารสามารถนำมาใช้ในการวินิจฉัยตัดสินใจได้

          การประเมินผล เป็นกระบวนการที่ควบคู่ไปกับการวางแผนงาน การประเมินผลเป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลและนำเสนอข้อมูลอย่างมีระบบ เพื่อประโยชน์ในการวินัจฉัย ตัดสินใจในการปรับปรุงแผนงานและการดำเนินการแก้ไขปัญหาตามแผน การประเมินผล มีบทบาทในกระบวนการรตัดสินใจสำหรับการวางแผนและบริหารงานด้วยบทบาท 2 ประการ คือ

          1.  การประเมินผลเป็นแหล่งข้อมูลในการวางแผน มีจุดมุ่งหมายเพื่อเสนอข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจในการดำเนินงานระยะจ่าง ๆ

          2.  บทบาทด้านการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงวิธีการดำเนินงาน การประเมินผลมีส่วนช่วยในการตัดสินใจว่าทางเลือกใด หรือกลวิธีใดที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งผู้บริหารอาจใช้ข้อมูลจากการประเมินผลในการเปลี่ยนทิศทางวิธีการดำเนินงานได้

          การประเมินผลที่ดี ควรประอบด้วยจุดมุ่งหมายที่สำคัญ 3 ประการ คือ

          1.  เพื่อการวางแผนและกำหนดนโยบาย

          2.  เพื่อการบริหารจัดการ

ประเภทของการประเมินผล

     1.  การจำแนกประเภทโดยใช้เวลาเป็นหลัก

          1.1 การประเมินผลก่อนการปฏิบัติงาน (pre-evaluation)

          1.2 การประเมินผลขณะปฏิบัติงาน (ongoing-evaluation)

          1.3 การประเมินผลหลังการปฏิบัติงาน (post-evaluation)

     2.  การจำแนกประเภทของการประเมินผล โดยใช้วิธีการและรุปแบบของการประเมินผลเป็นหลัก

          2.1 การประเมินความพยายามในการปฏิบัติงาน (effort-evaluation)

          2.2 การประเมินผลการปฏิบัติงาน (performance-evaluation)

       2.3 การประเมินผลความเพียงพอของการปฏิบัติงาน (adequacy of performance)

          2.4 การประเมินผลประสิทธิภาพ (efficiency-evaluation)

          2.5 การประเมินผลกระบวนการ (process-evaluation)

     การประเมินผลจะต้องประกอบไปด้วยการประเมินผลตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้

     1.  การประเมินผลปัจจัยนำเข้า (Input evaluation) ได้แก่

          1.1 การประเมินทรัพยากรที่ใช้ในโครงการ

          1.2 จำนวนคนหรือแรงงานที่ใช้ในโครงการ

          1.3 ทักษะ และเทคโนโลยีที่ใช้ในโครงการ

          1.4 เครื่องอำนวยความสะดวก เช่น ยานพาหนะ บ้านพัก หรือเครื่องอำนวยความสะดวกอื่น ๆ

          1.5 วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในโครงการ

          1.6 งบประมาณที่ใช้ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

     2.  การประเมินผลกระบวนการ (Process evaluation)

          2.1 การเตรียมชุมชน เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ วิธีการในการดำเนินงาน

          2.2 การค้นหาผ้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการหรืองานที่ต้องประเมิน

          2.3 การประเมินการฝึกอบรม

          2.4 การนิเทศ

     3.  การประเมินผลเบื้องต้น/การครอบคลุมประชากร (Outputs)

          3.1 การครอบคลุมของบริเวณที่เราให้แก่ประชาชน

          3.2 จำนวนครั้งของการบริการที่เจ้าหน้าที่จัดให้แก่ประชาชน

          3.3 จำนวนครั้งของการบริการที่เจ้าหน้าที่จัดให้แก่ประชาชนครอบคลุมประชากรกี่คน

     4.  การประเมินผลการดำเนินงาน (Effects)

          4.1 ระดับของการเรียนรู้ของชุมชน

          4.2 ระดับของการมีส่วนร่วมของชุมชน

          4.3 ทุกหลังคาเรือนในชุมชนได้รับผลประโยชน์อย่างต่อเนื่องตามเป้าประสงค์ของโครงการ

     5.  การประเมินผลกระทบ (Impact evaluaiton)

          เพื่อดูว่าโดยภาพรวมแล้วโครงการก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนหรือชุมชนโดยส่วนรวม หรือสภาวะเศรษฐกิจ สังคม อย่างไร

    ที่มา :  ศ.ดร. เวคิน  นพนิตย์, ผศ. ชัยณรงค์  อภิณหพัฒน์, การประเมินผลโครงการ

หมายเลขบันทึก: 413281เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2010 23:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท