เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการห้องสมุดเชิงรุก


เทคโนโลยีสารสนเทศ

                                                                           

ความต้องการเทคโนโลยีสารสนเทศ

กระบวนการในการนำอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ มาใช้งานเพื่อ รวบรวมข้อมูล จัดเก็บประมวลผล และแสดงผลลัพธ์เป็นสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ต่อไป คือการมุ่งสู่วิธีดำเนินงานสารสนเทศมัลติมีเดีย


เทคโนโลยีของระบบสารสนเทศในปัจจุบัน ประกอบด้วย

ระบบประมวลผลข้อมูล (Data Processing System)

  • ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System)

  • ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)

  • ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System)

  • ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems

เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริการห้องสมุดเชิงรุก

เทคโนโลยีสารสนเทศ

ปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทอย่างกว้างขวางในทุกวงการ และเทคโนโลยีสารสนเทศกลายเป็นเครื่องมือสำคัญของการทำงานทุกด้าน นับตั้งแต่ทางด้านการศึกษา พาณิชยกรรม เกษตรกรรม อุตสาหกรรม สาธารณสุข การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนด้านการเมืองและราชการ จะเห็นได้ว่าไม่มีงานด้านใดที่ไม่ใช้ผู้คิดประยุกต์หรือนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้าไปช่วยให้การทำงานนั้น ๆ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น ดังนั้นเทคโนโลยีสารสนเทศจึงเข้ามามีบทบาทในวงการห้องสมุดอย่างแพร่หลาย

ข้อมูลกับสารสนเทศ

ข้อมูล (Data) หมายถึง กลุ่มตัวอักขระที่เมื่อนำมารวมกันแล้วมีความหมายอย่างใดอย่างหนึ่งและมีความสำคัญควรค่าแก่การจัดเก็บเพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่อ ๆ ไป ข้อมูลมักเป็นข้อความที่อธิบายถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาจเป็นตัวอักษร ตัวเลข หรือสัญลักษณ์ใด ๆ ที่สามารถนำไปประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ได้ (ทักษิณา สวนานนท์ และฐานิศรา เกียรติบารมี 2546: 165)

สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ต่าง ๆ ที่ได้รับการสรุป คำนวณ จัดเรียง หรือประมวลแล้วจากข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ จนได้เป็นข้อความรู้ เพื่อนำมาเผยแพร่และใช้ประโยชน์ในงานด้านต่าง ๆ (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี 2538: 3)

ข้อมูลและสารสนเทศนับว่ามีประโยชน์ต่อการนำไปใช้บริหารงานด้านต่าง ๆ มากมาย อาทิเช่น

1. ด้านการวางแผน สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการวางแผนเกี่ยวกับการจัดการองค์การ การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการผลิตสินค้า การตลาด เป็นต้น

2. ด้านการตัดสินใจ สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการตัดสินใจเพื่อเลือกแนวทางหรือทางเลือกที่มีปัญหาน้อยที่สุดในการแก้ปัญหาต่าง ๆ การมีสารสนเทศที่สมบูรณ์ ทันสมัย และครบถ้วนจะช่วยให้การตัดสินใจถูกต้อง รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

3. ด้านการดำเนินงาน สามารถนำสารสนเทศไปใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น ใช้เพื่อควบคุมหรือติดตามผลการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ

การบริการห้องสมุด

     ห้องสมุดมีบทบาทสำคัญ ในการจัดเก็บรวบรวมและเผยแพร่ หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิคส์ทางวิชาการต่าง ๆ ไปสู่ผู้ใช้ เพื่อให้ผู้ใช้มีการศึกษาต่อเนื่องตลอดชีวิต และการที่ห้องสมุดจะเป็นแหล่งการเรียนรู้ได้นั้น จะต้องมีบทบาทหลักอยู่ 2 ประการ คือ

1. การเข้าถึง ห้องสมุดจะต้องเป็นแหล่งให้ผู้เรียน/ประชาชน/ผู้ใช้บริการ ส่วนใหญ่เข้าถึงข้อมูล หรือไปใช้บริการได้

2. การนำเสนอวิธีการถ่ายทอดความรู้ที่คุ้มค่า คือจะต้องรู้ว่าผู้เรียน/ประชาชน/ ผู้ใช้บริการมีวัตถุประสงค์อะไรในการใช้ห้องสมุด ส่วนใหญ่แล้วผู้เข้าใช้บริการจะใช้ห้องสมุดเพื่อ ความเจริญก้าวหน้าในด้านอาชีพของตน เพื่อพัฒนาความรู้ในการเรียน การทำงานทักษะ และความสามารถของตนเองในปัจจุบันกระแสโลกาภิวัฒน์เข้ามากระทบห้องสมุด คือมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมากขึ้น ผู้ใช้มีความต้องการใช้สารสนเทศอย่างสะดวกสบาย และที่สำคัญคือมีขุมความรู้มากมายมหาศาลที่จัดเก็บในรูปหนังสือ สิ่งพิมพ์ไม่ได้อีกแล้วแต่จะจัดเก็บในรูปอิเล็กทรอนิคส์ หรือในรูปดิจิทัลทำให้ห้องสมุดต้องก้าวออกมาจากการเป็นห้องสมุดที่จัดเก็บเฉพาะสิ่งพิมพ์ ไปเป็นห้องสมุดอิเล็กทรอนิคส์หรือห้องสมุดดิจิทัลมีข้อมูลจำนวนมากที่ถูกจัดเก็บในรูปแบบดังกล่าว ซึ่งต้องส่งผ่านระบบเครือข่าย ดังนั้น ห้องสมุดจะต้องเตรียมอุปกรณ์จัดเก็บ (Storage)สำหรับบันทึกข้อมูลจำนวนมาก และมี

ชอฟต์แวร์ที่มีความสามารถในการจัดการ ข้อมูลดิจิทัล การบริหารเนื้อที่การจัดเก็บข้อมูล การสืบค้น และการเข้าถึงข้อมูล การเผยแพร่ข้อมูลและการบริหารด้านลิขสิทธิ์

แนวโน้มของห้องสมุดในอนาคต นอกจากจะยังคงมีทรัพยากรสารสนเทศในรูปสิ่งพิมพ์แล้ว ยังมีสารสนเทศในรูปอิเล็กทรอนิคส์หรือดิจิทัล ห้องสมุดจึงเป็นศูนย์รวมของสารสนเทศในทุกรูปแบบ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นและเข้าถึงได้มากขึ้น ดังนั้นเทคโนโลยี เพื่อการจัดเก็บและสืบค้นข้อมูล และการพัฒนารูปแบบการบริการจึงมีความสำคัญในการดำเนินงานของห้องสมุดยุคใหม่ จากการวิเคราะห์สถานภาพและบทบาท ตลอดจนภาพในอนาคตของห้องสมุดแล้วพบว่าห้องสมุดมีจุดแข็ง คือ

1. การเข้าถึง คือ ห้องสมุดจัดเป็นสถานที่เพื่อการเรียนรู้แบบต่อเนื่องตลอดชีวิต ดังนั้นสิ่งที่ต้องคิด และควรทำคือ เวลาที่ให้บริการต้องมากกว่าเวลาทำการของราชการ และความเชี่ยวชาญในการจัดการแหล่งวิทยาการต่าง ๆ ด้วย ระบบรายชื่อหนังสือ (บรรณานุกรม), และระบบดรรชนีต่าง ๆ ที่มีคุณภาพ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถช่วยเหลือตนเองในการสืบค้นข้อมูลได้ รวมทั้งการนำเสนอที่ดึงดูดใจ

2. เครือข่าย ห้องสมุดควรคำนึงถึง โครงสร้างพื้นฐาน สำหรับการเตรียมระบบที่ดีไว้เพื่อการบริการอย่างเต็มที่และคุ้มค่า เพื่อให้ผู้ใช้ได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารที่กว้างไกล ด้วยบริการออนไลน์ และระบบเครือข่ายระหว่างประเทศ หรือInternetในด้านการให้บริการแก่ผู้ใช้ ห้องสมุดควรจัดทำ Home page ของตน โดยจัดทำเป็นตัวเลือกให้ผู้ใช้เข้าระบบได้ง่าย และควรมีศูนย์กลางซึ่งจัดทำสารบัญ (Directory) ของ Home page ของห้องสมุดทุกแห่งที่อยู่ในเครือข่ายไว้ในที่เดียวกัน

3. ความเชี่ยวชาญ บรรณารักษ์จะต้องมีความเชี่ยวชาญในการจัดการ และการสร้างชุดความรู้ ต้องทราบถึงประเภทของสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ เพื่อจัดให้เหมาะสมกับผู้ใช้ ควรมีความเชี่ยวชาญในการเข้าถึงแหล่งวิทยาการ ชนิดและประเภทต่าง ๆ ที่มีความแตกต่างกันในการตอบคำถามทุกวิชา และทุกระดับ ต้องมียุทธศาสตร์ในการค้นหาที่มีประสิทธิภาพ และความเชี่ยวชาญที่เพิ่มขึ้นในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้น ห้องสมุดในอนาคต จะมีขนาดเล็กลง (Physical Size)และมีความพอเหมาะ (Right Size)มีการบริการแบบเครือข่าย (Service on Network)กระจายการดำเนินการอยู่บนพื้นฐานขุมความรู้ ที่มีมากกว่า หนังสือสิ่งพิมพ์ ระยะทางการให้บริการหมดความหมาย กรอบการทำงานกว้างไกล (Internet) และขุมความรู้มีมากมายมหาศาล ดังนั้นบรรณารักษ์ทุกคน ควร "ร่วมแรง ร่วมใจ " ทำให้ห้องสมุดสามารถไปถึงภาพอนาคตนี้ได้ สังคมไทยจะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ตามหลักการและเจตนารมย์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

การบริการเชิงรุก (Proactive Service)

การบริการเชิงรุกเป็นการวางแผนการในการให้บริการผู้ใช้ห้องสมุดล่วงหน้า อย่างละเอียดและรอบคอบ มีความรับผิดชอบ  รวมถึงเป็นการแสดงออกถึงความต้องการและปรารถนาที่จะช่วยเหลือผู้ใช้โดยไม่รีรอให้ผู้ใช้ร้องขอ โดยผู้ให้บริการต้องคำนึงถึงความต้องการเฉพาะของผู้ใช้และให้ผู้ใช้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด   โดยยึดแนวปฏิบัติ 4 ประการในการสร้างบริการเชิงรุก ดังนี้

  1. การวางแผน คือ การหาคำตอบสำหรับคำถามที่ว่า จะทำอะไร ทำไมต้องทำ จะทำอย่างไร จะทำเมื่อใด จะทำที่ไหน จะให้ใครทำ จะต้องใช้ทรัพยากรอะไร
  2. การเน้นผู้ใช้บริการเป็นศูนย์กลาง 
  3. จิตสำนึกในการบริการ  หรือ   การบริการด้วยหัวใจ
  4. ทักษะ    ความรวดเร็ว  ความชัดเจน และความทันสมัยในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

       จากแนวปฏิบัติการทำงานบริการเชิงรุกทั้ง 4 ด้าน ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานทางด้านการบริการห้องสมุดมีความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดเป็นทักษะ  และลดปัญหาขณะปฏิบัติงานได้ รวมทั้งเป็นการเสริมสร้างกำลังใจในการปฏิบัติงาน ไม่หลีกหนีปัญหา สามารถรับมือกับปัญหาทางด้านงานบริการได้ และนำมาซึ่งความพึงพอใจของผู้ใช้บริการตลอดไป

การให้บริการเชิงรุก

  1. ประสบความสำเร็จต้องบริการตอบผู้ใช้ได้ตรงตามความต้องการ
  2. ไม่สร้างความเสี่ยงให้กับผู้ปฏิบัติงานและผู้ใช้บริการห้องสมุด 

 

บรรณานุกรม

การบริการห้องสมุด. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2553, จาก

http://www.unc.ac.th/lib/web lib/libFuture.html

เทคโนโลยีสารสนเทศ. สืบค้นเมื่อ 3 ตุลาคม 2553, จาก http://dusithost.dusit.ac.th/~librarian/it107/C1.html, http://www.ranong2.dusit.ac.th/KM&R/tec2.doc

หมายเลขบันทึก: 413365เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2010 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท