Semantic web


Semantic web

         

สังคมสารสนเทศในปัจจุบัน มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากการจัดการสารสนเทศในรูปแบบต่างๆ ได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว การศึกษาสารสนเทศในปัจจุบัน สามารถศึกษาได้อย่างกว้างไกล แบบไร้พรมแดน แหล่งข้อมูลที่ต้องการศึกษา จึงต้องมีการบริหารจัดการสารสนเทศเกิดขึ้น การจัดเก็บค้นคืนจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย แหล่งการจัดเก็บหนึ่งที่สำคัญสามารถจัดเก็บและค้นคืนทาง Internet ในรูปแบบ Online ได้ ที่รู้จักและเรียกกันว่า Semantic web อรรถศาสตร์ที่มีแบบแผนโครงสร้างข้อมูลที่เป็นความหมายของคำมีความสัมพันธ์กันในส่วนโครงสร้างได้แก่ XML RDF และ Ontology อีกทางเลือกหนึ่ง คือ  Search Engine  นำมาใช้เพิ่มประสิทธิภาพ ในการให้ผลลัพท์ของการค้นหามากขึ้น

Semantic web  คือเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดเก็บ และนำเสนอเนื้อหาแบบมีโครงสร้าง รวมถึงสามารถที่จะวิเคราะห์จำแนกหรือจัดแบ่งได้ว่า ข้อมูลที่ปรากฎนั้น มีความสัมพันธ์กับข้อมูลอื่นๆ ในแต่ละระดับอย่างไร กล่าวคือ เป็นการจัดเก็บและนำเสนอแบบมีลำดับชั้นนั่นเอง

            เป็นการจัดการข้อมูลในลักษณะของการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของข้อมูล ในระดับเมตะเดต้า (Metadata) โดยทำการอ่านข้อมูลแบบออนไลน์ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจความหมายของข้อมูลต่างๆ ได้ว่าเป็นอะไรมาจากข้อมูลส่วนไหนของชุดข้อมูล ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถนำข้อมูลที่ได้นั้นไปประมวลผลได้โดยอัตโนมัติ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคอมพิวเตอร์พบข้อมูลว่า A เป็นน้องของ B และ C เป็นลูกของ B คอมพิวเตอร์จะสามารถรับรู้ได้เองว่า C เป็นหลานของ A เป็นต้น กล่าวโดยคือซีแมนติก จะทำทุกสิ่งทุกอย่าง โดยออนไลน์หมดและข้อมูลทุกอย่างที่ ออนไลน์นั้น จะเชื่อมโยงกัน ด้วยความสัมพันธ์กันทั่วทั้งระบบ ทำให้เราสามารถลดขนาดและระยะเวลาในการทำงานให้น้อยลงได้

นอกจากนี้ Semantic web ยังมีความเกี่ยวข้องกับ Ontology คือศาสตร์ว่าด้วยการจัดกลุ่มสรรพสิ่งต่างๆ บนโลกนี้  โดยใช้วิธีการแยกความแตกต่าง เรื่องคำ และความหมายของคำ แล้วนำมาเข้าพวก เพื่อง่ายต่อการสืบค้น และอ้างอิงในลักษณะภาษาที่นำมาใช้บรรยายโครงสร้างและความสัมพันธ์ของระบบแบบลำดับชั้น

RSS  หรือ  Really Simple Syndication  คือรูปแบบไฟล์ของภาษา XML ใช้สำหรับการแบ่งปันหัวเรื่อง ข้อมูลบนเว็บระหว่างเว็บด้วยกัน หรือสำหรับดึงข่าวจากเว็บต่างๆ มาแสดง 

ประโยชน์ของการนำ RSS ไปใช้งาน 

1. ลดข้อจำกัดในการคัดลอกข้อมูลในเว็บไซต์ โดยที่ผู้สร้างเว็บไซต์ไม่ต้องทำหน้าแสดงผลข่าวเอง เพราะสามารถดึงข่าวจากแหล่งข่าวต้นทางมาแสดงได้โดยอัตโนมัติ

2. ผู้ใช้ไม่ต้องเข้าไปหลายๆ เว็บไซต์เพื่อดูข่าวใหม่ๆ เพราะข้อมูลที่ถูกอัพเดทจากเว็บไซต์ต้นทาง จะถูกดึงมาแสดงที่หน้าเว็บไซต์ที่แสดงผลโดยอัตโนมัติ

RSS Feed  นำ  Feature  ของ Semantic web  มาใช้ เกี่ยวกับ เรื่องของความหมาย การบ่งบอกถึงความหมายของแต่ละข้อมูล 

Search Engine Website           

เป็นโปรแกรมที่ถูกออกแบบมาเป็นเครื่องมือในการค้นหาข้อมูลบน Website ต่างๆ ส่วนใหญ่จะเป็นการค้นหาคำสั้นๆ หรือที่เรียกว่า Keyword โดยข้อมูลการเก็บรายชื่อ Website และข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่างๆ ของ Website และนำมาจัดเก็บไว้ใน server เพื่อให้สามารถค้นหาและแสดงผลได้สะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น  การทำงานของ Search Engine นั้นจะทำงานก็ต่อเมื่อมีคนป้อนคำหรือที่เรียกว่า Keyword ลงไปใน Search Engine นั้นๆ จากนั้น Search Engine ก็จะแสดงรายการผลลัพท์ออกมา 

หากจะแบ่งประเภทของ Search Engine ตามหลักการทำงาน จะได้ 3 ประเภท คือ 

  1. Crawler Based Search Engines

คือ เครื่องมือการค้นหาทางอินเตอร์เน็ต แบบอาศัยการบันทึกข้อมูล และจัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นจำพวก Search Engine ที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากให้ผลการค้นหาแม่นยำที่สุดและการประมวลผลการค้นหาสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีบทบาทในการค้นหาข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน

  2. Web Directory หรือ Blog Directory

คือ สารบัญเว็บไซต์ที่ให้บุคคลทั่วไปสามารถค้นหาข่าวสารข้อมูล ด้วยหมวดหมู่ข่าวสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน ในปริมาณมากๆ คล้ายๆ กับสมุดหน้าเหลือง ซึ่งจะมีการสร้าง ดรรชนี มีการระบุหมวดหมู่ อย่างชัดเจน ซึ่งจะช่วยให้การค้นหาข้อมูลต่างๆ ตามหมวดหมู่นั้นๆ ได้รับการเปรียบเทียบอ้างอิง เพื่อหาข้อเท็จจริงได้ 

  3. Meta Search Engine

คือ Search Engine ที่ใช้หลักการในการค้นหา โดยอาศัย Meta Tag ในภาษา HTML ซึ่งมีการประกาศชุดคำสั่งต่างๆ เป็นรูปแบบของ Tex Editor ด้วยภาษา HTML เช่น ชื่อผู้พัฒนาคำค้นหา เจ้าของเว็บ หรือ บล็อก คำอธิบายเว็บหรือบล็อกอย่างย่อ

ประโยชน์ของ Semantic web  

  1. สร้างเครือข่ายของข้อมูลเพื่อให้ค้นหาได้ง่ายและรวดเร็ว
  2. เป็นเอกสารในเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่อยู่ในเครือข่ายได้
  3. เป็นการจัดกลุ่มคำที่มีความหมาย  ใช้วิธีการแยกความแตกต่าง แล้วนำมาเข้าพวก เพื่อง่ายต่อการสืบค้น
  4. การค้นหาได้ผลลัพท์เป็นชุด ของข้อมูล ที่มีความหมายจำเพาะตรงตามความต้องการ
  5. เป็นแหล่งรวบรวมแลกเปลี่ยนข้อมูลและความรู้

 

บรรณานุกรม 

“Thawee Beer Report”  http://wiki.neetec.or.th  4-14 December 2008.

 สมศักดิ์ ศรีบริสุทธิ์กุล. การจัดระบบทรัพยากรสารนิเทศโดยใช้เมทาเดทา. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549.

 น้ำทิพย์  วิภาวิน.  ห้องสมุดดิจิตอล . กรุงเทพฯ : บริษัทดวงกมลสมัย จำกัด, 2543 

หมายเลขบันทึก: 413961เขียนเมื่อ 15 ธันวาคม 2010 21:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2012 13:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ชัดเจน แจ๋มกระจ่าง จริง ๆ เขียนจนไม่มีข้อคิดเห็นอะไรเลย สู้ ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท