ร่ายสุภาพ


ลักษณะบังคับของโคลงสองสุภาพ

            ก.  คณะและพยางค์    บทหนึ่งมี  ๓  วรรค  วรรคที่  ๑  และวรรคที่  ๒  มีวรรคละ  ๕  คำ  วรรคที่  ๓  มี  ๔  คำ  รวม ๓  วรรคเป็น  ๑๔  คำ  นอกจากนี้อาจมีคำสร้อยเติมในวรรคสุดท้ายได้อีก  ๒  คำ

            ข.  สัมผัสและคำเอกคำโท

                        ๑)  สัมผัสบังคับ     ดูได้จากแผนผังของโคลงสองดังนี้

คำที่  ๕  ของวรรคที่  ๑ สัมผัสกับคำที่  ๕  ของวรรคที่  ๒  เพียงแห่งเดียวตามเส้นที่โยงไว้  ถ้าแต่งต่ออีกหลายบท  คำสุดท้ายของวรรคที่  ๓  จะสัมผัสกับคำที่  ๑ หรือ  ๒  หรือ  ๓  ของวรรคแรกในบทต่อไป

    ๒)  คำเอกคำโท    ต้องมีคำเอก  ๓  คำโท  ๓  ตามตำแหน่งที่ระบุไว้ในแผน       คำตาย  ใช้แทนคำเอกได้  ส่วนคำโท  ต้องใช้แต่คำที่มีรูปวรรณยุกต์โท  เท่านั้น

 ตัวอย่าง  โคลงสองสุภาพ

 

บทที่  ๑                                มิตรดีมีแต่เอื้อ                         แม้บ่ใช่ญาติเกื้อ

                                    ก่อให้สัมพันธ์   ทวีนา

บทที่  ๒                                รัก  กัน  เตือนเพื่อนแก้ว          พลั้งผิดยอมอภัยแล้ว

                                    ห่อนรู้หน่ายแหนง  เพื่อนเอย

 

หมายเหตุ    :    คำ  พันธ์  ท้ายวรรคที่  ๓  ของบทที่  ๑    สัมผัสกับคำ  กัน   ซึ่งเป็นคำที่  ๒ ของวรรคแรกของบทที่  ๒

ร่ายสุภาพ

ร่ายเป็นคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง  ซึ่งไม่กำหนดจำนวนบทหรือบาท  ผู้แต่งจะแต่งยาวเท่าไรก็ได้    แต่ต้องเรียงคำให้คล้องจองกันตามข้อบังคับเท่านั้น

            ร่ายที่นิยมแต่งในวรรณกรรมไทยมี  ๔  ชนิดคือ ร่ายสุภาพ  ร่ายดั้น  ร่ายโบราณ  และร่ายยาว

            ร่ายมีลักษณะบังคับ  ๕  อย่าง  คือ  คณะ  พยางค์  สัมผัส  คำเอกคำโท  และคำสร้อย

                ร่ายที่นิยมกันแพร่หลายตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน  คือ  ร่ายสุภาพ  และมักมีการนำร่ายสุภาพไปแต่งเป็นส่วนหนึ่งของลิลิต  เช่น  ลิลิตพระลอ  ลิลิตตะเลงพ่าย

 

ลักษณะบังคับของร่ายสุภาพ

๑.  แผนผัง

˜ศรีสวัสดิเดชะ  ชนะราชอรินทร์  ยินพระยศเกริกเกรียง เพียงพกแผ่นฟากฟ้า

หล้าหล่มเลื่องชัยเชวง  เกรงพระเกียรติระย่อ  ฝ่อใจห้าวบมิหาญ  ลาญใจแกล้วบมิกล้า

บค้าอาตม์ออกรงค์  บคงอาตม์ออกฤทธิ์  ท้าวทั่วทิศทั่วเทศ  ไท้ทุกเขตทุกด้าว

น้าวมกุฎมานบ  น้าวพิภพมานอบ  เถลิงพระเกียรติฟุ้งฟ้า  ลือตรลบแหล่งหล้า

โลกล้วนสดุดี

(ลิลิตตะเลงพ่าย : สมเด็จพระมหาสมณเจ้า  กรมพระปรมานุชิตชิโนรส)

๒.  คณะและพยางค์     ร่ายสุภาพบทหนึ่งมี  ๕  วรรคขึ้นไป  แต่ละวรรคมี  ๕  คำ

จะแต่งกี่วรรคก็ได้     แต่ตอนจบต้องจบด้วยโคลงสองสุภาพ

                        โคลงสองเป็นอย่างนี้               แสดงแก่กุลบุตรชี้

                        เช่นให้เห็นเลบง    แบบนา

                                                                                           (ของโบราณ)

 

                ๓.  สัมผัส   ร่ายสุภาพมีการส่งสัมผัสท้ายวรรค  และมีสัมผัสรับตรงคำที่  ๑ , ๒ , ๓      คำใดคำหนึ่งจนถึงตอนท้าย  พอจะจบก็ส่งสัมผัสไปยังบทต้นของโคลงสองสุภาพ  ต่อจากนั้น   ก็บังคับสัมผัสตามแบบของโคลงสอง  จึงถือว่าจบร่ายแต่ละบท  ส่วนสัมผัสในนั้นไม่บังคับ       มีทั้งสัมผัสสระและสัมผัสอักษร

 

            ๔.  คำเอกคำโท  มีบังคับคำเอกคำโทเฉพาะที่โคลงสองสุภาพตอนท้ายบทเท่านั้น

 

           ๕.  คำสร้อย  ร่ายสุภาพแต่ละบท  มีคำสร้อยได้เพียง  ๒  คำ  คือ  สองคำสุดท้าย 

ของโคลงสองสุภาพ

หมายเลขบันทึก: 414076เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2010 12:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท