การบริหารสถาบันการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ


เครื่องมือการบริหารธุรกิจ

บริษัท Bain & Company กับ เครื่องมือที่ที่นิยมใช้กันที่สุด 25 ตัว คือ

1. Balanced ScoreCard  : BSC  หมายถึง เครื่องมือที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพันธกิจ (Mission) และกลยุทธ์(Strategy) เป็นชุดของการวัดผลการปฏิบัติงานที่มีส่วนช่วยกำหนดกรอบของระบบการวัดและการบริหารกลยุทธ์ที่ครอบคลุมประเด็นครบถ้วน ตัวเลขที่ได้จากการวัดจะทำหน้าที่วัดผลการปฏิบัติงานขององค์การที่ครอบคลุมด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไว้ครบถ้วน เช่น ด้านการเงิน ด้านลูกค้า ด้านกิจการภายใน และด้านการเรียนรู้แลการเติบโตขององค์การ

2. Benchmarking คือวิธีการในการวัดและเปรียบเทียบ ผลิตภัณฑ์ บริการ และวิธีการปฏิบัติกับองค์กรที่สามารถทำได้ดีกว่า เพื่อนำผลของการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงองค์กรของตนเอง เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศในธุรกิจ

3.  Business Process Reengineering หรือ Business Process Redisign : BPR คือความพยายามเชิงการจัดการ ที่มีความมุ่งหมายเพื่อยกระดับประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของกระบวนการทำงานขององค์กรตลอดทั้งระบบ

4.  Collaborative Innovation Collaborative Innovation เป็นการใช้แนวทางของความเสรีทางการค้ากับตลาดกลาง(marketplace) สำหรับความคิดใหม่ต่าง ๆ อันเป็นการส่งเสริมตามแนวทางความได้เปรียบในการแข่งขันเพื่อผลักดันการกำหนดทรัพยากรทางด้านวิจัยและพัฒนาขึ้นมาอย่างพอเพียง โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่อยู่ภายนอกองค์กร อันได้แก่ ลูกค้า ตัวแทนจำหน่าย หรือแม้กระทั่งคู่แข่ง คนเหล่านี้จะทำให้บริษัทสามารถดึงเอาแนวความคิดที่ดี ๆ (แต่มีค่าใช้จ่ายต่ำ)ออกมาจากทรัพยากรที่สุดยอดของโลก

5.   Core Competencies  คือ ความรู้สั่งสมที่ได้จากการเรียนรู้ในองค์การ  โดยเฉพาะในเรื่องของการจัดการ  และสร้างความแตกต่างหลากหลายให้แก่ผลิตภัณฑ์  ทักษะ และการบูรณาการให้เกิดความหลากหลายทางเทคโนโลยี

6. Customer Relationship Management : CRM  คือกระบวนการซึ่งบริษัทนำมาใช้ เพื่อทำความเข้าใจกลุ่มลูกค้าของบริษัทและสนองตอบความต้องการได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว

7.  Customer Segmentation คือ การแบ่งตลาดออกเป็นกลุ่มลูกค้าที่มีคุณลักษณะคล้าย ๆ กัน เพื่อทำให้บริษัทค้นหาความต้องการของลูกค้าลงไปในรายละเอียดได้มากขึ้น ทำให้ค้นพบในส่งที่ยังไม่เคยพบมาก่อน ในกรณีเช่นนี้ถ้าบริษัทสามารถรองรับความต้องการเช่นนี้ได้ก็จะเกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน

8.  Decision Rights Tools เครื่องมือที่ชวยให้ตัดสินใจอย่างถูกต้อง

9. Downsizing คือยุทธวิธีขององค์กรที่ตอบสนองความจำเป็นในการลดขนาดของธุรกิจที่ทำลง ให้เหลือแต่เฉพาะธุรกิจที่นำไปสู่ผลประกอบการทางการเงินที่ดีขึ้น หรือการลดอัตรากำลังที่มีมากเกินไปในธุรกิจหลัก

10. Growth Strategy Tools มุ่งเน้นไปที่การใช้ทรัพยากรเข้าเกาะกุมโอกาสเพื่อให้ผลประโยชน์เติบโตมากขึ้น จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่า การเติบโตของผลกำไรซึ่งมาจากการเพิ่มขึ้นของรายได้สามารถทำให้ราคาหุ้นเพิ่มขึ้นมากกว่าผลกำไรซึ่งได้มาจากการลดต้นทุน ประมาณ 25-100%

11. Knowledge Management : KM เป็นการสร้างระบบและกระบวนการเพื่อรวบรวมองค์ความรู้อันถือเป็นทรัพย์สินทางปัญญาและแบ่งปันให้พนักงานแต่ละคนหรือกลุ่มที่เกี่ยวข้องได้เรียนรู้

12. Lean Six Sigma สามารถประยุกต์ใช้ได้กับทุกกระบวนการ เพื่อขจัดลดสาเหตุความสูญเปล่าทางด้านเวลา โดยเฉพาะการวิเคราะห์ขั้นตอนหรือกิจกรรมที่ใช้เวลาการไหลในกระบวนการสูงสุดและส่งผลให้เกิดปัญหาคอขวด และดำเนินการขจัดสาเหตุหลักของความสูญเปล่าด้วยปรัชญาไคเซ็นและเครื่องมือลีน เพื่อให้กระบวนการเกิดความน่าเชื่อถือทั้งในด้านต้นทุน คุณภาพ และมีความยืดหยุ่นในการการตอบสนองกับความเปลี่ยนแปลง ทำให้องค์กรมีความสามารถในการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น

13. Loyalty Management Tools เป็นการเพิ่มรายได้และผลกำไรให้กับธุรกิจโดยการปรับปรุงการรักษาเอาไว้ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้าของบริษัท พนักงาน และ ผู้ลงทุนทั้งหลาย

14. Mergers and Acquisition คือการควบรวมและการเข้าซื้อกิจการ

15. Mission and Vision Statement เป็นการกำหนดธุรกิจขององค์กร เป้าประสงค์ และแนวทางการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ข้างต้น

16. Online Communities  การสร้างชุมชนออนไลน์

17. Outsourcing การจัดหาจากภายนอก เป็นวิธีการที่องค์กรธุรกิจจัดหาวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และบริการต่างๆ ซึ่งครั้งหนึ่งอาจจะเคยถูกดำเนินการภายในองค์กร มาเป็นการจัดหาจากแหล่ง ภายนอกแทน (Outsourcing) จะทำให้องค์กรเล็กลงแต่คล่องตัวขึ้น ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายในด้านต่างๆลงได้ และสามารถเน้นการดำเนินการเฉพาะแต่กิจกรรมที่เป็นกิจกรรมหลักซึ่งองค์กรมีความถนัดจัดเจน ทำให้สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

18. Price Optimization Models   หากแปลตรงตัวก็คือแบบของการใช้ราคาที่เหมาะสม  เป็นเครื่องมือในทางธุรกิจที่ผู้บริหารใช้ในการช่วยในการหาราคาที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดกำไร  เป็นเครื่องมือทางคณิตศาสตร์ที่คำนวณปัจจัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความยืดหยุ่นของราคา  อุปสงค์ที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละช่วงราคา   รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนของสินค้า  รวมตลอดถึงข้อมูลการ Stockสินค้าของบริษัทของบริษัท  เพื่อกำหนดเป็นราคาที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดกำไร และราคาที่สอดคล้องกับอุปสงค์/อุปทาน หรือราคาที่ขายสินค้าหรือบริการได้ ซึ่งมองทั้งด้านของผู้ขายและผู้ซื้อ   หรืออีกนัยหนึ่งก็เป็นเครื่องมือในการคำนวณราคาที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดกำไร  โดยดูจากปัจจัยต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด  แทนที่ผู้บริหารจะมากำหนดราคาสินค้าหรือราคาของบริการโดยอาศัยสัญชาตญาณ หรือความรู้สึกส่วนตัว 

19. Scenario & Contingency Planning  : SCP  เป็นการวางแผนรองรับสิ่งที่ถ้าเกิดขึ้นในวันข้างหน้า  โดย  Scenario Planning จะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูง สำรวจและเตรียมการทางเลือกต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในอนาคต   เนื่องจากเป็นการวางแผนรับสถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

20. Shared Service Centers : SSC เป็นการลดต้นทุนโดยการใช้การดำเนินการร่วมกันจากหลาย ๆ แผนก เช่น แผนกการเงิน แผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ แผนกให้บริการลูกค้า แผนกทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น (จะเห็นว่า เป็นแผนกที่อยู่ด้านหลัง (Back office))

21. Strategic Alliances คือข้อตกลงระหว่างองค์การต่าง ๆ โดยแต่ละฝ่ายมุ่งมั่นว่าจะ ให้ทรัพยากรต่าง ๆ บรรลุถึงเป้าสงค์อันใดอันหนึ่งในกลุ่มของเป้าประสงค์หลาย ตัว

22. Strategic Planning คือ กระบวนการทำความเข้าใจในการหาว่า ธุรกิจจะเป็นอะไร และจะทำอย่างไรธุรกิจจึงจะไปถึงเป้าหมายได้ดีที่สุด

23. Supply Chain Management : SCM  เป็นการการบริหารวัตถุดิบ ข้อมูล และการเงิน นับตั้งแต่กระบวนการจากผู้ส่งมอบวัตถุดิบ ถึงผู้ผลิต ถึงผู้กระจายสินค้า ถึงตัวแทนจำหน่าย และถึงผู้บริโภคในขั้นตอนสุดท้าย การบริหารห่วงโซ่อุปทานจึงเป็นการประสานกลยุทธ์การทำงานของหน่วยธุรกิจทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดจำนวนสินค้าคงคลัง และเพื่อสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้สูงสุด

24. Total Quality Management : TQM หรือการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ และการบริหารคุณภาพแบบองค์รวม เป็นต้น ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า TQM หมายถึง การบริหารคุณภาพโดยรวม

25. Voice of the Customer Innovation  หากแปลตรงตัวก็คือการรับฟังเสียง(ความคิดเห็น)ของลูกค้าหรือผู้รับบริการเพื่อนำไปสู่นวัตกรรม  มองจากภาคเอกชน กระบวนการรับฟังเสียงของลูกค้าจะเริ่ม จำแนกลูกค้า กลุ่มลูกค้าที่เกี่ยวข้องออกอย่างชัดเจน  แล้วจึงกำหนดว่าลูกค้าประเภทใด หรือกลุ่มลูกค้าลักษณะใดเป็นกลุ่มเป้าหมาย เพื่อสามารถกำหนดวิธีการและกลยุทธ์ที่จะทำให้ลูกค้าเป้าหมายหันมารับบริการหรือซื้อสินค้า ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

 

หมายเลขบันทึก: 414707เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2010 00:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท