ถอดบทเรียนเเละการจัดการความรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นเเบบ


จากประสบการณ์ที่พอมีอยู่บ้างเรื่องการจัดการความรู้ เเละเป็นความเข้าใจส่วนตัว ขอย้ำว่าเป็นความเข้าใจส่วนตัวเท่านั้น

 

 ระยะนี้กรมการพัฒนาชุมชนมีเเนวทางเเละข้อสั่งการให้ทุกจังหวัดดำเนินการพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นเเบบ โดยมีกรอบการดำเนินการสนับสนุนให้ทุกจังหวัดดำเนินการ เเละท้ายสุดให้จัดการความรู้เเละถอดบทเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง นี่คือประเด็นที่ผมจะชวนคุยวันนี้ ผมเองไม่ได้รับผิดชอบกิจกรรมนี้เพราะเป็น หัวหน้ากลุ่มสารสนเทศฯรับผิดชอบการสนับสนุนด้านอื่นๆเสียมากกว่า เเต่ที่ต้องชวนคุยเพราะมีพรรคพวกที่เคยอบรมพัฒนาการอำเภอด้วยกัน ตั้งเป็นโจทย์ให้ช่วยคิดหน่อยว่าจะจัดการความรู้ หรือจะถอดบทเรียนอย่างไรดี เอาละครับงานเข้าขึ้นมาทันที

      จากประสบการณ์ที่พอมีอยู่บ้างเรื่องการจัดการความรู้ เเละเป็นความเข้าใจส่วนตัว ขอย้ำว่าเป็นความเข้าใจส่วนตัวเท่านั้น ใครจะนำไปขบคิดต่อก็ไม่เสียหายครับ เมื่อได้รับโจทย์มาว่าจะจัดการความรู้หรือจะถอดบทเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจอย่างไรดีนั้นก่อนอื่นผมว่าเราต้องศึกษาเเละตั้งคำถามเหล่านี้ครับ

1.การจัดการความรู้ คืออะไร?

2.การถอดบทเรียนคืออะไร?

3.ข้อ 1 เเละข้อ 2 ต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร เพราะที่ผ่านมาบางปี กรมฯให้จัดการความรู้ บางกิจกรรมให้ถอดบทเรียน อ้าวเเล้วต่างกันมั้ย....?

4.หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงที่จะไปจัดการความรู้หรือไปถอดบทเรียน คืออะไร? ขอบเขตเเค่ไหน?ใครให้ข้อมูลได้บ้าง?

5.จะไปจัดการหรือถอดความรู้อะไรของเขา? ถอดความรู้ที่ว่าเพื่ออะไร?

6.จะไปถอดความรู้กับใคร? ใครเกี่ยวข้องที่จะสามารถให้ข้อมูลได้บ้าง? มีกี่คน ?

7.จะใช้เครื่องมืออะไรไปจัดการความรู้หรือถอดความรู้กับเขา?

8.จะวางแผนเตรียมการอย่างไรในการถอดบทเรียนที่ว่าน?

9. ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์อะไรบ้าง?

10.จะจดบันทึกประเด็น ข้อความ ภาพและเสียงอย่างไร?

11.ได้ข้อ 10 มาแล้วทำอย่างไรต่อ จะมีวิธีการเขียนรายงานอย่างไร?(รูปแบบ)

12. นำไปตอบโจทย์การศึกษาได้หรือไม่และติดตามประเมินผลงานอย่างไร

       นี่คือคำถามตั้งต้นที่ชวนทุกท่านช่วยกันตอบก่อนที่จะลงไปปฏิบัติงานจริงในพื้นที่ จากประสบการณ์(ของผมคนเดียว) ผมขอให้ความชัดเจนในแนวทางดังนี้ครับ การถอดบทเรียนเป็นเครื่องมือหนึ่งในเรื่องการจัดการความรู้ เพราะเป็นการแกะ แคะ เอาความรู้(เทคนิคการทำงาน/วิธีปฎิบัติงานที่ดี/กลเม็ดเคล็ดลับในการทำงาน)ของคนทำงานและประสบผลสำเร็จมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้ที่ว่าก็คือความรู้ที่ตกผลึกฝังแน่นในตัวคน ที่นักวิชาการเรียกว่า ความรู้ฝังลึก หรือความรู้ซ่อนเร้น(TACIT KNOWLEDGE) ทำอย่างไรเราจะนำความรู้เหล่านี้มาใช้ประโยชน์ได้ คำว่าบทเรียนมีความหมายใกล้เคียงหรือแนบแน่นกับวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ บทเรียนที่เกิดขึ้นมีทั้งที่เป็นบทเรียนเชิงบวกที่เป็น HOW TO ให้คนที่จะทำงานแบบเดียวกันได้เรียนรู้แล้วนำไปสู่การประยุกต์ใช้ กับบทเรียนที่เป็นจุดต้องหลีกเลี่ยงมิให้เกิดขึ้นอีก จะเป็นข้อพึงระวังและข้อควรคำนึงนั่นเอง ในการจัดการความรู้หรือถอดบทเรียนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักปฏิบัติดังนี้ครับ

1.ท่านต้องกำหนดให้ชัดก่อนว่าท่านอยากเรียนรู้หรือต้องการหาบทเรียนอะไร? ในหมู่บ้านฯ (นั่นคือการตั้งคำถามในการถอดบทเรียนและกำหนดวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน)

2.สิ่งที่ท่านอยากรู้ตามข้อ 1 ใครมีบทเรียนดีๆเป็นแบบอย่างได้บ้าง? นั่นคือหาแหล่งข้อมูลหรือผู้ที่เกี่ยวข้องที่จะเป็นเจ้าของความรู้ตัวจริงนั่นเอง

3.เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์ชัด รู้ตัว KEY (คนรู้เรื่องนั้นจริงๆ=เจ้าของความรู้) แล้ว สิ่งที่ต้องคิดต่อคือ แล้วจะใช้เครื่องมืออะไรในการ สกัดความรู้ หรือถอดความรู้ที่ว่า ได้เหมาะสมกับแหล่งความรู้ที่กำหนด (หาวิธีการ)

4.ประสานการจัดเวทีถอดบทเรียน โดยนักจัดการความรู้ต้องตั้งประเด็นคำถามให้ชัดไว้แต่ต้น เช่น สถานการณ์อะไรที่ทำให้ต้องดำเนินกิจกรรม? กิจกรรมที่ดำเนินการมีเป้าหมายอย่างไร? มีการวางแผนเช่นไร? สิ่งที่เกิดขึ้นจริงแตกต่างจากเป้าหมายหรือสิ่งที่คาดหวังไว้หรือไม่อย่างไร ทำไมเป็นเช่นนั้น? มีปัญหา อุปสรรคหรือไม่แก้ปัญหาเหล่านั้นอย่างไร? ครั้งต่อไปเราควรจะปรับปรุงอย่างไรที่จะทำให้งานดีขึ้นกว่าเดิม?

5.ในการจัดการความรู้หรือถอดบทเรียนมีลักษณะให้ต้องคำนึงอีกข้อหนึ่ง คือ จำนวนกลุ่มเป้าหมายที่เราจะถอดความรู้ โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 3 ลักษณะดังนี้

5.1 การจัดการความรู้หรือถอดบทเรียนเป็นรายบุคคล

5.2 การจัดการความรู้หรือถอดบทเรียนรายกลุ่มองค์กร/เครือข่าย/ชุมชน

5.3  การจัดการความรู้หรือถอดบทเรียนรายโครงการ/กิจกรรม(ย่อย)

6. การเขียนรายงานการจัดการความรู้หรือถอดบทเรียน มักไม่คำนึงถึงระเบียบวิธีเช่นเดียวกับงานวิจัย มักเริ่มจาก

6.1 ชื่อเรื่อง

6.2 ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

6.3 กระบวนการ/ขั้นตอนในการดำเนินงาน

6.4 ผลการดำเนินงาน(สิ่งที่เกิดขึ้นจริง)ประกอบด้วย สถานการณ์/เงื่อนไขที่เกิดขึ้นและผลที่ตามมา

6.5 บทเรียนหรือวิธีปฏิบัติที่ดีที่เกิดขึ้นในการดำเนินการ

6.6 การวิเคราะห์หาปัจจัยแห่งความสำเร็จ

6.7 ข้อเสนอเพื่อการพัฒนางานในครั้งต่อๆไป

ที่เขียนมาทั้งหมดเป็นประสบการณ์ที่ไม่เน้นข้อมูลอ้างอิง แต่ผมเขียนเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เท่านั้น หลายๆท่านอาจทำได้ดีกว่านี้มากมาย เสมือนเป็นเวทีเรียนรู้กันนะครับ แต่ข้อควรคำนึงสำคัญในการนำไปสู่การถอดบทเรียน จังหวัดต้องสร้างความเข้าใจเรื่องการจัดการความรู้ให้ชัดเจนแต่ผู้รับผิดชอบเรื่องนี้ก่อน จึงจะสมามารถขับเคลื่อนได้สะดวกโยธินครับ.....


ที่มา...http://www.facebook.com/notes/kukiat-cartoon/thxd-bth-reiyn-elea-kar-cadkar-khwam-ru-hmuban-sersthkic-phx-pheiyng-tn-ebeb/10150103988294750

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 414924เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2010 20:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • สวัสดีค่ะ
  • สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๔ ขอให้ อาจารย์ k-kukiat มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง  สุข สดชื่น สมหวัง ดั่งใจปอง ตลอดปี และตลอดไปนะคะ" 
  • ขอบคุณค่ะ

                                      

สวัสดีค่ะ

อาจารย์สบายดีนะคะ  ระยะนี้กำลังสนใจเรื่องนี้อยู่พอดีค่ะ  ได้ข้อ 10 มาแล้วทำอย่างไรต่อ จะมีวิธีการเขียนรายงานอย่างไร?(รูปแบบ)

ขอขอบพระคุณกับความรู้ที่อาจารย์ถ่ายทอดค่ะ

อาจารย์ธนิตย์ ชวนมาเยี่ยมอาจารย์กู้เกียรติ พร้อมกับสวัสดีปีใหม่ 2554 นะครับ

ด้วยความระลึกถึง ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท