การสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ


การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ

            การสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ

        การนำทฤษฎีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือไปสู่การปฏิบัตินั้น  เป็นขั้นตอนที่จำเป็นและสำคัญยิ่งเพื่อให้การสร้างเครือข่ายเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้  ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1.  การเชื่อมโยงเครือข่ายหรือการสร้างเครือข่าย   ควรมีกิจกรรมดังต่อไปนี้

     1.1  กิจกรรมการวางภาพในอุดมคติ (Rich  Picture)  ของเครือข่าย 

        โดยให้สมาชิกแต่ละกลุ่มร่วมกันวาดภาพอนาคตของสถานศึกษาหรือปัญหาที่ได้รับการแก้ไข  เป็นการวาดภาพสถานการณ์ที่แสดงถึงส่วนประกอบต่างๆ  ที่สำคัญและความสัมพันธ์ของส่วนประกอบต่างๆ ที่ต้องปรับปรุง  และนำเสนอ

      1.2  กิจกรรมการสร้างแผนผังการเชื่อมโยงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder  Identification) 

        เป็นการเขียนแผนผังเชื่อมโยงผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง  โดยระบุถึงขนาดและความสำคัญของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อวัตถุประสงค์หลักของเครือข่ายหรือปัญหาที่ต้องการแก้ไข

      1.3    กิจกรรมจัดทำตารางกำหนดจุดเด่นและจุดด้อยความสามารถของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

       เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่อง  โดยมีจุดประสงค์เพื่อระบุถึงระดับความสามารถ  จุดเด่น  ปานกลาง  จุดด้อย  ของสมาชิกแต่ละคนในการดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ของเครือข่าย

2.       การประเมินความพร้อมของเครือข่าย

   แต่ละเครือข่ายควรมีกิจกรรมการประเมินดังต่อไปนี้

      2.1    ประเมินความพร้อมของโครงการ

      เป็นการประเมินโดยผู้ประสานงานเครือข่ายหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย  จะทำการลง

พื้นที่เพื่อเยี่ยมชมการทำงาน  ตลอดจนอธิบายแนวทางการดำเนินงานและโครงการที่จะร่วมกันดำเนินการ

      2.2    ประเมินความพร้อมของบุคลากร

      จะทำการประเมินคุณลักษณะของตัวหลักในการดำเนินกิจกรรม  เช่น  ผู้นำการทำ

กิจกรรม  ผู้นำการประชุมเพื่อกำหนดทิศทาง  ผู้ประสานกิจกรรม  วิทยากรประจำกิจกรรม  ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน  เป็นต้น

      2.3    ประเมินความร่วมมือในเครือข่าย

       แบบประเมินนี้จะมีลักษณะของผลลัพธ์จากการส่งแบบสอบถามหรือโทรศัพท์

สอบถามความคิดเห็นของสมาชิกว่ายินดีที่จะช่วยเหลือสมาชิกคนอื่นๆ  ในกิจกรรมใดบ้าง  และในรูปแบบใดบ้าง  เช่น

             1)      ความช่วยเหลือในด้านความรู้  ประสบการณ์  แนวทางการดำเนินงาน

             2)      ความช่วยเหลือในด้านกำลังคน 

             3)      ความช่วยเหลือด้านงบประมาณ

 

      2.4    ประเมินความพร้อมในด้านข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่ปฏิบัติการ

      ผู้ประสานงานเครือข่ายจะต้องมีข้อมูลให้พร้อมในทุกๆ  ด้าน  เพื่อให้การทำงานมี

ประสิทธิภาพและชัดเจน

3.   การดำเนินการปฏิบัติงานในรูปแบบเครือข่าย

      ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงาน  ผู้ประสานงานของเครือข่ายควรมีการตรวจสอบว่ามีข้อมูลที่

สำคัญดังต่อไปนี้หรือไม่

      3.1    มีตารางเวลาของแต่ละกิจกรรม  พร้อมทั้งระบุทรัพยากรที่ต้องใช้

      3.2    มีรายชื่อของสมาชิกที่สำคัญในแต่ละกิจกรรม

      3.3    ระบุถึงความสอดคล้องของกิจกรรมกับวัตถุประสงค์ของเครือข่าย 

4.  การตรวจติดตามและประเมินผลงานของเครือข่าย

     การตรวจติดตามและประเมินผล  ควรแบ่งการตรวจติดตามออกเป็น  3  ประเด็นหลัก

ดังต่อไปนี้

       4.1  ตรวจว่ามีการจัดกิจกรรมตามแผนที่วางไว้  พร้อมทั้งพิจารณาลักษณะของการดำเนินการเพื่อหาจุดปรับปรุง

       4.2  ในกรณีที่กิจกรรมต้องทำงานกันหลายเครือข่าย  ผู้ตรวจต้องดูลักษณะการทำงานว่าร่วมมือกัน  ต่างคนต่างทำ  มีหลักฐานของการประสารนงานก่อนหน้ากิจกรรมหรือไม่  เช่น การประชุม  แต่งตั้งคณะทำงาน  เป็นต้น

       4.3  ภายหลังการจัดกิจกรรม  ต้องนำเอาผลการดำเนินการกับเป้าหมายที่ตั้งไว้มาวิเคราะห์ร่วมกันกับเครือข่ายเพื่อหาสาเหตุและแนวทางการปรับปรุงการทำกิจกรรมต่อไป

 

                                     .........................................

 

                                                     อ้างอิง

คณะครุศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2553).  การสร้างเครือข่ายและการมี   

      ส่วนร่วม. กรุงเทพฯ: กพร.

                                         .....................................

 

หมายเลขบันทึก: 417507เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2010 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 06:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท