ระบบการควบคุมคุณภาพหรือกลุ่มคูณภาพ


การควบคุมคุณภาพหรือกลุ่มคูณภาพ

                       ระบบการควบคุมคุณภาพหรือกลุ่มคูณภาพ

                          (Quality  Control Circle :Q.C.C)

        ความหมายของ  Q.C.C.

        Q.C.C.  หมายถึง  กิจกรรมที่ดำเนินการโดยคนกลุ่มน้อย  ณ  สถานปฏิบัติงานเดียวกัน  รวมตัวกันโดยความสมัครใจ  โดยมีผู้บังคับบัญชาระดับต้น (first  Line  Supervisor)  เป็นแกนกลางเพื่อทำกิจกรรมเกี่ยวกับการปรับปรุงโดยตนเองอย่างเป็นอิสระ  แต่ต้องไม่ขัดต่อนโยบายหลักขอรัฐวิสาหกิจ  ซึ่งจากความหมายของ Q.C.C.  จะประกอบไปด้วยคุณลักษณะ  10  ประการคือ

       1.  คนกลุ่มย่อย

       2.  ดำเนินกิจกรรมเพิ่มพูนคุณภาพ

       3.  โดยตนเองอย่างอิสระ

       4.  ณ  สถานที่ทำงานเดียวกัน

       5.  ร่วมกันทุกคน

       6.  อย่างต่อเนื่อง

       7.  ปรับปรุงและควบคุมดูแลสถานที่ทำงานให้สะอาดแจ่มใสน่าอยู่

       8.  โดยใช้เทคนิควิธีการ  Q.C.

       9.  พัฒนาตนเองและพัฒนาร่วมกัน

     10.  โดยถือว่ากิจกรรมควบคุมคุณภาพทั่วทั้งบริษัทเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน

 

       หลักการของ  Q.C.C.

  1. ต้องการเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุมงานและภาวะผู้นำของผู้บังคับบัญชา
  2. ได้อาศัยหลักการของวัฏจักรเดมมิ่ง (Deming  Cycle)  ซึ่งประกอบด้วย  4  ขั้นตอน ดังนี้

       2.1  การงางแผน (Plan: P)

       2.2  การปฏิบัติ (Do : D)

       2.3  การตรวจสอน (Check:C)

       2.4 การแก้ไขปรับปรุง (Action : A) 

  

       โครงสร้างการบริหารงาน การควบคุมคุณภาพ

       โครงสร้างการบริหารการควบคุมคุณภาพออกเป็น  3  ส่วน  ดังนี้

       1.  หน้าที่ตรวจรับ  (Acceptance  Function)  เป็นงานที่ต้องปฏิบัติประจำ  ได้แก่การตรวจสอบตัดสินว่าผลผลิตภัณฑ์ได้ตามมาตรฐานที่กำหนหรือไม่  และดำเนินการแก้ไขปรับปรุงตลอดจนการจดบันทึกที่จำเป็นทั้งปวง  รวมถึงหน้าที่การเก็บรักษา  เครื่องมือเครื่องใช้ในการตรวจสอบและการใช้ประโยชน์จากของเสียด้วย

       2.  หน้าที่ป้องกัน (Prevention  Function)  ได้แก่การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์การสำรวจและการวิจัยขีดความสามารถของกรรมวิธี  การวางแผน  ทดลอง  การตรวจสอบตัวอย่าง  การวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล  การให้การวิธีการทางสถิติ  และฝึกอบรมผู้เกี่ยวข้องกับงานต่างๆ  ข้างต้น

       3.  หน้าที่ประกัน (Assurance  Function)  ได้แก่  การทำรายงานเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพสำหรับผู้บริหารระดับสูง  หรือเรียกว่ามีหน้าที่สนับสนุนผู้บริหารระดับสูงในสายบริหารที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมคุณภาพ

        ฝ่ายส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ

       โดยทั่วไปหน้าที่ของฝ่ายส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ  มีดังนี้

  1. ร่างแผนงานส่งเสริมกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ  ระดับบริษัท  และให้การส่งเสริมสนับสนุน
  2. พยายามปรับกิจกรรมการควบคุมคุณภาพตามโครงสร้างการบริหารกับกิจกรรมกลุ่มคุณภาพที่มีลักษณะโดยตนเองอย่างอิสระให้มีความสอดคล้อง
  3. จัดให้มีการประชุมใหญ่แถลงและประกวดกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ  การพบปะสังสรรค์คณะศึกษาและค้นคว้า  และดำเนินการให้การส่งเสริมโดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกในคณะอนุกรรมการส่งเสริมด้วย
  4. วางแผนและส่งเสริมให้มีการประกาศและมอบรางวัลการประกวดกิจกรรมกลุ่มคุณภาพประจำปี
  5. จัดหาวารสารที่เกี่ยวกับกลุ่มคุณภาพและการควบคุมคุณภาพ  รับผิดชอบการทดทะเบียนไว้กับสำนักงานใหญ่  กิจกรรมกลุ่มคุณภาพ  ถ้าต้องการจะได้รับสิทธิในการส่งผลงานกลุ่มคุณภาพไปประกวดระดับสากล
  6. วางแผนและดำเนินการฝึกอบรมผู้นำกลุ่มคุณภาพและสมาชิก

  

        เทคนิคต่างๆ   ในกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ

        1.  ปาเรโตกราฟ (Pareto  Diagram  Graph)  ใช้สำหรับพิจารณาระดับของปัญหาในบรรดาปัญหาทั้งหมด  โดยเขียนแสดงลำดับความสำคัญมากไปหาน้อย มีลักษณะเป็น  Accumulative  Histogram

        2.  ผังก้างปลา  หรือผังแสดงเหตและผลของปัญหา  (Cause  and  Effect  Diagram)  ใช้ค้นหาสาเหตุของปัญหา  แล้วจัดเรียงลำดับซึ่งเป็นประโยชน์ในการแก้ปัญหาอย่างมีระบบ

        3.  การระดมปัญญา (Brain  Storming)    เป็นการรวมกลุ่ม  5-10 คน  เพื่อพิจารณาแก้ปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นการใช้ความคิดอย่างเสรี  ลักษณะการระดมปัญญา  ประกอบด้วยลักษณะ  4  ประการ  ดังนี้

             3.1  ต้องไม่มีการวิพากวิจารณ์ด้วยความคิดเห็นว่าดีหรือไม่

             3.2  ความคิดเห็นยิ่งมากยิ่งดี  คุณภาพไม่ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ

             3.3  ต้องรับความคิดเห็นเสริมหรือสนับสนุนความคิดเห็นของผู้อื่น

             3.4  ต้องรับความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระและเป็นกันเอง

         การนำกิจกรรมกลุ่มคุณภาพไปใช้งาน

  1. จัดทำคู่มือเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายของกิจกรรมกลุ่มคุณภาพและวิธีดำเนินการ
  2. เริ่มฝึกอบรมผู้ที่จะเป็นผู้นำกลุ่มคุณภาพตามแนวทางที่กำหนดไว้ในคู่มือ
  3. จัดตั้งกลุ่มคุณภาพขึ้น
  4. ให้มีการคัดเลือกหัวข้อเรื่องในครั้งแรกไม่จำเป็นต้องเลือกหัวข้อเรื่องที่ยากแต่ควรเลือกหัวข้อใกล้ตัวที่ประสบอยู่เป็นประจำ
  5. รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหัวข้อเรื่องที่ได้เลือกแล้ว  และทำการวิเคราะห์ซึ่งอาจจะใช้ปาเรโตกราฟ  หรือผังก้างปลาก็ได้
  6. เมื่อได้คัดเลือกหัวข้อเรื่องที่แน่นอนแล้ว  แบ่งภาระของปัญหานั้นให้แต่ละคนที่เป็นสมาชิกกลุ่มคุณภาพ  ในการนี้ต้องเสนอแนะให้ทุกคนนั้นได้รู้วิธีการแบ่งความรับผิดชอบด้วยว่าใครควรจะได้รับส่วนไหนไป   และให้กำหนดเวลาถึงเมื่อไร
  7. ปล่อยให้การดำเนินกิจกรรมกลุ่มคุณภาพเป้นไปในลักษณะโดยตนเองอย่างอิสร่ะและให้มีการเสนอรายงานผลงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบด้วย

                                     …………………………………….

 

หมายเลขบันทึก: 419710เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2011 22:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 13:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท