การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์


การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

 

                            เรื่อง  การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์

                     (Results  Based  Management  : RBM)

        การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results  Based  Management :RBM)  หัวใจสำคัญของความสำเร็จในการใช้วิธีการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์นั้นอยู่ที่การสร้างตัวบ่งชี้ผลการปฏิบัติงาน(KPI)  ที่มีความเที่ยงตรง  เป็นที่ยอมรับ  และสะดวกในการนำไปใช้  เพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศสำหรับการกำกับ  ติดตาม  และรายงานผลการดำเนินงานขององค์การ

         กระบวนการของการบริหารแบบมุ่งผลาสัมฤทธิ์ (RBM)

         การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์จะประกอบด้วยขั้นตอนที่สำคัญๆ  4  ขั้นตอน  ดังนี้

         1.  การวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร  ซึ่งองค์กรจะต้องกำหนดทิศทางโดยรวมว่าต้องการที่จะทำอะไร อย่างไร  ซึ่งเป็นเรื่องของการวางยุทธศาสตร์หรือวางแผนกลยุทธ์  เพื่อทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์การ(SWOT Analysis)  และให้ได้มาซึ่งเป้าประสงค์สุดท้ายที่ต้องการขององค์การหรือวิสัยทัสน์  (Vision)  อันจะนำไปสู่การกำหนดพันธกิจ (Mission)  วัตถุประสงค์(Objective)  เป้าหมาย (Target)  และกลยุทธ์การดำเนินงาน  (strategy)  รวมทั้งพิจารณาถึงปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จขององค์การ(Critical  Success Factors)  และสร้างตัวบ่งชี้วัดผลการดำเนินงาน  (Key  Performance  Indicators)  ในด้านต่างๆ

         2.  การกำหนดรายละเอียดของตัวบ่งชี้วัดผลการดำเนินงาน  จะต้องดำเนินการสำรวจหาข้อมูลหลักฐานเกี่ยวกับสภาพภายในปัจจุบัน (Baseline  Data)  เพื่อนำมารช่วยในการกำหนดความชัดเจนของตัวบ่งชี้  ทั้งในเชิงปริมาณ   คุณภาพ  เวลา  และสถานที่หรือความครอบคลุม  อันเป็นเป้าหมายที่ต้องการของแต่ละตัวบ่งชี้

         3.  การวัดและการตรวจสอบผลการดำเนินงาน  จะต้องจัดให้มีการตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงานของแต่ละตัวบ่งชี้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้  เช่น  รายเดือน  รายไตรมาศ  เป็นต้น  เพื่อแสดงความก้าวหน้าและสัมฤทธิ์ผลของการดำเนินงานว่าไปไปตามเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่  อย่างไร  อาจจะแต่งตั้งเป็นคณะบุคคลในการดำเนินการตรวจสอบก็ได้

         4.  การให้รางวัลตอบแทน  หลังจากที่ได้พิจารณาดำเนินงานแล้ว  จะต้องมีการให้รางวัลตอบแทนตามระดับของผลงานที่ได้ตกลงกันไว้ 

  

          ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ  (RBM)

          1.  ผู้บริหารระดับสูงมีความเข้าใจและสนับสนุน   คือ  สนับสนุนในการจัดทำระบบวัดผลการปฏิบัติงาน  การใช้ข้อมูลผลการวัดผลการปฏิบัติงาน  การจัดสรรงบประมาณ  การสร้างสิ่งจูงใจเพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์  รวมถึงการมอบอำนาจในการตัดสินใจเพื่อแลกเปลี่ยนกับความรับผ

              1.1  การกำหนดพันธกิจและแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจน  ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญและเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการกำหนดพันธกิจและแผนกลยุทธ์  วัตถุประสงค์  และเป้าหมายของโครงการเพื่อให้เกิดผล

              1.2  การใช้ข้อมูลผลการปฏิบัติงานในการบริหาร  ข้อมูลจากการวัดผลการปฏิบัติงานจะเป็นข้อมูลที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถปรับปรุงเกณฑ์มาตรฐานในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น  แก้ปัญหาได้ถูกต้องมากขึ้น 

          2.  การจัดระบบข้อมูลผลการปฏิบัติงาน  การจัดทำระบบข้อมูลผลการปฏิบัติงานจะต้องคำนึงเสมอว่า  ระบบข้อมูลนั้นสามารถที่จะแสดงถึงระดับการเปลี่ยนแปลงของผลลัพธ์สู่เป้าหมายขององค์การได้ 

              2.1  การพัฒนาตัวบ่งชี้  จะต้องเลือกตัวบ่งชี้ให้ครอบคลุมความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง  ซึ่งจะต้องพัฒนาโดยผู้ที่มีประสบการณ์ในงานด้านนั้นๆ  กั้บผู้มีส่วนเสียกับงานนั้นๆ  ด้วย  โดยตัวบ่งชี้จะมีทั้งส่วนของปัจจัยนำเข้า  กิจกรรม  ผลผลิต  และผลลัพธ์  รวมถึงตัวบ่งชี้ที่แสดงความพึงพอใจของผู้รับบริการ  แต่ควรจะให้มีตัวบ่งชี้ในจำนวนที่จำเป็น  โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าของการจัดทำและรักษาระบบข้อมูลด้วย

             2.2  การวางระบบสารสนเทศเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลและประมวลผลข้อมูล   ผู้พัฒนาระบบจะต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาสาระของโครงการหรืองานที่จะวัดผลการปฏิบัติงาน  โดยต้องคำนึงถึงการจัดทำรรายงานผล ซึ่งแยกเป็น  2  ส่วน  คือ  ส่วนที่จะรายงานเป็นช่วงเวลาตามกำหนดทุกครึ่งปีหรือหนึ่งปี  เพื่อประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและวางแผนหรือการจัดทำงบประมาณประจำปี  และส่วนที่เป็นรายงานเฉพาะกิจที่สามารถเรียกดูข้อมูลตัวบ่งชี้ได้ทันในกรณีที่เกิดปัญหาขึ้น  ซึ่งความสำเร็จในการจัดทำระบบข้อมูลผลการปฏิบัติงานที่ใช้ประโยชน์ได้  จึงอยู่ที่การจัดทำข้อมูลที่สะท้อนผลงานจริง  ทันเวลา  และมีปริมาณข้อมูลที่เหมาะสม  โดยมีค่าใช้จ่ายที่ประหยัด

        3.  การพัฒนาบุคลากรและองค์การ  ผู้บริหารทุกระดับถือได้ว่ามีบทบาทสำคัญในการดำเนินงานโครงการต่างๆ  ให้บรรลุเป้าหมายภายใต้ระบบการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้การพัฒนาผู้บริหารไว้ล่วงหน้าให้สามารถปฏิบัติงานที่ต้องรับผิดชอบต่อผลสัมฤทธิ์ของงาน  ภายใต้สภาวะที่มีความคล่องตัวและมีอำนาจในการบริหารเพิ่มขึ้น  ผู้บริหารทุกคตจะต้องมีความรู้ในการวางแผนกลยุทธ์  การวัดผลการปฏิบัติงาน  รวมถึงการใช้ข้อมูลผลการปฏิบัติงานให้มีคยวามชำนาญที่หลากหลายมากขึ้น  เพื่อให้มีศักยภาพที่จะสับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ที่ได้ใวนยุคที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  และเข้าใจเรื่องการวัดและการใช้ข้อมูลผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานประจำวันด้วย

                                ..........................................

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 419717เขียนเมื่อ 11 มกราคม 2011 22:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท