การบริหารพัสดุและสินทรัพย์


การบริหารพัสดุและสินทรัพย์

                             การบริหารพัสดุและสินทรัพย์

1.  การจัดทำระบบฐานข้อมูลสินทรัพย์ของสถานศึกษา

     แนวปฏิบัติ

     1)  ตั้งคณะกรรมการหรือบุคลากรขึ้นสำรวจวัสดุ  ครุภัณฑ์  ที่ดิน  อาคารและสิ่งก่อสร้างทั้งหมดเพื่อทราบสภาพการใช้งาน

     2)  จำหน่วย  บริจาค  หรือขายทอดตลาดให้เป็นไปตามระเบียบในกรณีที่หมดสภาพหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์

     3)  จัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สินที่เป็นวัสดุ  ครุภัณฑ์ให้เป็นปัจจุบัน  ทั้งที่ซื้อหรือจัดหาจากเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ  ตลอดจนที่ได้จากการบริจาคที่ยังไม่ได้บันทึกคุมไว้โดยบันทึกทะเบียนคุมราคา  วันเวลาที่ได้รับสินทรัพย์

     4)  จดทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุสำหรับที่ดิน  อาคารและสิ่งก่อสร้างในกรณีที่ยังไม่ดำเนินการและที่ยังไม่สมบูรณ์ให้ประสานกับกรมธนารักษ์  หรือสำนักงานธนารักษ์จังหวัดเพื่อดำเนินการให้เป็นปัจจุบัน   และให้จัดทำทะเบียนคุมในส่วนของโรงเรียนให้เป็นปัจจุบัน

     5)  จัดทำระบบฐานข้อมูลทรัพย์สินของสถานศึกษา  ซึ่งอาจใช้โปรแกรมระบบทะเบียนคุมสินทรัพย์ก็ได้  ถ้าสถานศึกษามีความพร้อม

     6)  จัดทำระเบียบการใช้ทรัพย์สินที่เกิดจากการจัดหาของสถานศึกษา  โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

กฎหมายระเบียบและเอกสารที่เกี่ยวข้อง

  1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ  พ.ศ. 2535  และที่แก้ไขเพิ่มเติม
  2. พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ  พ.ศ. 2518
  3. การจัดหาพัสดุ

แนวทางการปฏิบัติ

   1)   วิเคราะห์แผนงาน  งาน/โครงการ  ที่จัดทำกรอบรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง  เพื่อตรวจดูกิจกรรมที่ต้องใช้พัสดุที่ยังไม่มีตามทะเบียนคุมทรัพย์สิน  และเป็นไปตามเกณฑ์ความขาดที่กำหนดตามมาตรฐานกลาง

   2)   จัดทำแผนระยะปานกลางและจัดหาพัสดุทั้งในส่วนที่สถานศึกษาจัดหาเองและที่ร่วมมือกับสถานศึกษาหรือหน่วยงานอื่นจัดหา

2.  การกำหนดแบบรูปรายการหรือคุณลักษณะเฉพาะและจัดซื้อจัดจ้าง

แนวทางการปฏิบัติ

    1)   จัดทำเอกสารแบบรูปรายการหรือคุณลักษณะเฉพาะของครุภัณฑ์  สิ่งก่อสร้างในกรณีที่เป็นแบบมาตรฐาน

    2)   ตั้งคณะกรรมการขึ้น  กำหนดคุณลักษณะเฉพาะหรือแบบรูปรายการในกรณีที่ไม่เป็นแบบมาตรฐาน  โดยดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบ

    3)   จัดซื้อจัดจ้าง  โดยตรวจสอบงบประมาณ  รายละเอียด  เกณฑ์  คุณลักษณะเฉพาะ  ประกาศ  จ่าย/ขายแบบรูปรายการหรือคุณลักษณะเฉพาะ  พิจารณาซองโดยคณะกรรมการ  จัดทำสัญญาและเมื่อตรวจรับงานให้มอบเรื่องแก่เจ้าหน้าที่การเงิน  วางฎีกาเบิกเงินเพื่อจ่ายแก่ผู้ขาย/ผู้จ้าง

3.  การควบคุม  บำรุงรักษา  และจำหน่ายพัสดุ

     แนวทางการปฏิบัติ

     1)   จัดทำทะเบียนคุมทรัพย์สินให้เป็นปัจจุบัน

     2)   กำหนดระเบียบและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สิน

     3)   กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการจัดเก็บควบคุม  และเบิกจ่ายให้เป็นไปตามระบบและแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบพัสดุประจำปีอย่างสม่ำเสมอทุกปี

     4)   ตรวจสอบสภาพและบำรุงรักษาและซ่อมแซมทั้งก่อนและหลังการใช้งานสำหรับทรัพย์สินที่มีสภาพไม่สามารถใช้งานให้ตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณาและทำจำหน่ายหรือขอรื้อถอนกรณีเป็นสิ่งปลูกสร้าง

                                 ……………………….

 

หมายเลขบันทึก: 419919เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2011 19:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

     สวัสดีครับ   เป็นการทบทวนความรู้ให้กับท่านที่รู้แล้วและเป็นความรู้อย่างดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานพัสดุใหม่  ไม่ต้องค้นคว้าให้ยุ่งยาก  ขอบคุณที่แบ่งปันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท