การวางแผนกลยุทธ์


การวางแผนกลยุทธ์

                                        การวางแผนกลยุทธ์

        การวางแผนกลยุทธ์

       ในการวางแผนเชิงกลยุทธ์  ผู้บริหารสถานศึกษาต้องตอบคำถามต่อไปนี้ให้ได้อย่างชัดเจน

       1.  สถานศึกษากำลังจะก้าวไปทางไหน   นั่นคือจะต้องมีการกำหนดสภาพที่คาดหวังของสถานศึกษา  ซึ่งจะแสดงออกมาในรูปของวิสัยทัศน์(Vision)  เป้าประสงค์ (Goal)  วัตถุประสงค์ ( Objective)  และเป้าหมาย(target)

       2.  สภาพแวดล้อมของสถานศึกษาเป็นอย่างไรบ้าง 

       3.  สถานศึกษาจะไปถึงจุดหมายปลายทางที่คาดหวังไว้ได้อย่างไร

       ลักษณะสำคัญของการวางแผนเชิงกลยุทธ์

       1.  การมุ่งอนาคต

       2.  การมุ่งเป้าหมายรวมของหน่วยงาน

       3.  การมุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับสถานศึกษา

       4.  การมุ่งเน้นภาพรวมมากกว่าการพิจารณาแบบแยกส่วน

       5.  คำนึงถึงสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก  คือ  จุดแข็งจุดอ่อน  รวมทั้งโอกาสและอุปสรรคในการดำเนินงาน

       6. การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 

      การกำหนดกลยุทธ์

      การที่จะกำหนดกลยุทธ์ได้นั้น  ต้องทราบสถานภาพขององค์กรก่อนว่ามีสภาพใด  ซึ่งนิยมใช้วิธีวิเคราะห์  3  ลักษณะ  ในลักษณะของเมตริกซ์  ดังนี้

         1)  เมตริกซ์ความเจริญเติบโต-ส่วนครองตลาด

         2)  เมตริกซ์ปัจจัยภายใน-ภายนอก

         3)  เมตริกซ์ส่วนประกอบของหน่วยงานภาครัฐ

         ในที่นี้ขอนำเสนอวิธีการในการหาสภาพปัจจุบันตามรูปแบบเมตริกความเจริญเติบโต-ส่วนคลองตลาด  ดังนี้

         เมตริกซ์ความเจริญเติบโต-ส่วนครองตลาด BCG (BCG  Growth-share  matrix) เป็นการวิเคราะห์ใน  2  มิติ  คือ 

         1.1 ความเจริญเติบโตของตลาด

         1.2 ส่วนครองตลาด

                                                  

       ถ้าองค์กรมีสถานภาพเป็นดาวรุ่ง (Stars)  คือ  มีส่วนครองตลาดสูงและยอดขายสูง  ต้องใช้กลยุทธ์การเจริญเติบโต (Growth  strategy)  และขยายธุรกิจ (Build)

       ถ้าองค์กรมีสถานภาพมีปัญหา (Questionmarks)  คือมีส่วนครองตลาดต่ำแต่มียอดขายสูง  ต้องใช้กลยุทธ์การเจริญเติบโต (Growth  strategy)  โดยการเจาะตลาด  (Market  penetration)  และการพัฒนาตลาด  (Market  development)  และใช้กลยุทธ์การตัดทอน (Retrenchment)

       ถ้าองค์กรมีสถานภาพทำเงิน (Cash  cows)  คือ  มียอดขายต่ำ  แต่มีส่วนครองตลาดสูง  ต้องใช้กลยุทธ์การคงสภาพ  (Stability)  และกลยุทธ์การเจริญเติบโตในระดับปานกลาง (Modest  growth)

       ถ้าองค์กรมีสถานภาพาตกต่ำ  (Dogs)  คือ มียอดขายต่ำ  และส่วนครองตลาดต่ำ ต้องใช้กลยุทธ์การตัดทอน (Retrenchment)  เช่น  การไม่ลงทุน  (Divestiture)  การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ (Harvest)  การปรับเปลี่ยน (Turnaround)  การขาด  (sell)  หรือเลิกกิจการ (Liquidate)

         การศึกษาสถานภาพของสถานศึกษา

         1.  การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของสถานศึกษา

         ในการหาจุดแข็ง (Strength)  และจุดอ่อน (Weakness)  ของสถานศึกษาให้พยายามเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหลายๆ  แหล่ง                   ประเด็นที่จะนำมาวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน  ควรเปิดกว้างให้ผู้เกี่ยวข้องได้แสดงความเห็นอย่างเต็มที่  ซึ่งเป็นเรื่องของปัจจัย  (Input)  กระบวนการดำเนินงาน (Process)  และผลผลิต (Output)  ของสถานศึกษา  ซึ่งเกี่ยวกับ

               1) บุคลากร (Man) 

               2)    เงิน (Money) 

               3)   วัสดุอุปกรณ์  (Materials) 

               4)    การบริหารจัดการ (Management) 

         2.  จุดอ่อน

         สะดวก   คล่องตัว  มีประสิทธิภาพ  ก็ถือว่าเป็นจุดแข็ง  แต่ถ้ามีลักษณณะตรงกันข้ามก็การวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคการดำเนินงานของสถานศึกษา

         การวิเคราะห์โอกาส (Opportunity)  และอุปสรรค (Treat)  ในการดำเนินงานของสถานศึกษานั้น   เป็นการศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอก (External  environment)  ซึ่งจำแนกได้เป็น  2  กลุ่ม  ดังนี้

            1)  สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้องโดยตรง (Task  environment)  เป็นสภาพแวดล้อมที่มีผลและรับผลโดยตรงจากการดำเนินงานของ

            2)  สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไป  (Societal  environment)  เป็นสภาพแวดล้อมที่ไม่ได้ส่งผลโดยตรงในระยะสั้น  แต่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการดำเนินการของสถานศึกษา ซึ่งประกอบด้วย

                 2.1  ด้านเศรษฐกิจ  (Economic) 

                 2.2  ด้านสังคมวัฒนธรรม (Sociocultural)

                 2.3  ด้านเทคโนโลยี (Technological )

                ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก  จะดำเนินการคล้ายๆ  กับการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา 

 

          การกำหนดทิศทางการดำเนินงานของสถานศึกษา

          เมื่อทราบสถานภาพของสถานศึกษาแล้ว  ขั้นต่อไปก็คือ  การกำหนดทิศทางของสถานศึกษา  ซึ่งประกอบด้วย  วิสัยทัศน์  (Vision)  พันธกิจ (Mission)  และเป้าประสงค์ (Goal)ของสถานศึกษา

          วิสัยทัศน์  (Vision) 

          วิสัยทัศน์  (Vision)  เป็นสิ่งที่มุ่งหวังจะให้มีหรือเกิดขึ้นในอนาคต  ซึ่งผู้บริหารของหน่วยงานต้องเป็นผู้กำหนด  โดยทุกคนในหน่วยงานมีส่วนร่วม  โดยมุ่งตอบคำถามว่า  เราต้องการเป็นอะไร  (What  do  we  want  to  become) 

          พันธกิจ (Mission) 

          เป็นพันธะสัญญาที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้  พันธกิจมุ่งตอบคำถามว่างาน/ธุรกิจของเราคืออะไร (What do our  business?)

          เป้าประสงค์ (Goal)

          หมายถึงผลที่ต้องการให้เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของสถานศึกษา  เป็นภาพรวมที่มุ่งตอบคำถามว่าผลลัพธ์( Outcome)  ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษาคืออะไร 

          การประมาณการจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง  มีขั้นตอนดังนี้

          1.  กำหนดเวลา   ในการประมาณการจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลางจะต้องตรงกับแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา

          2.  งาน/โครงการต้องสอดคล้องกับกลยุทธ์ของสถานศึกษา

          3.  ประมาณการรายรับของสถานศึกษาให้ประมาณการทั้งเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ  โดยจำแนกเป็นงบบุคลากร งบดำเนินงาน  งบลงทุน  งบอุดหนุน  และงบรายจ่ายอื่น

          4.  ประมาณการรายจ่ายของสถานศึกษา  ให้ประมาณการทั้ง  5  งบรายจ่าย  คืองบบุคลากร  งบดำเนินงาน  งบลงทุน  งบอุดหนุน  และงบรายจ่ายอื่น  ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็นรายจ่ายประจำ  และรายจ่ายที่ต้องดำเนินการตามกลยุทธ์ 

          การเชื่อมโยงในการดำเนินงาน

                แผนพัฒนาระยะยาว          เป็นแผนที่มุ่งเน้นองค์การ เหตุการณ์ในอดีตส่งผลมายังปัจจุบันและปัจจุบันจะส่งผลถึงอนาคต  มุ่งเน้นกรอบวงเงิน  งบประมาณ และผลลัพธ์ระยะยาว

                แผนกลยุทธ์/แผนยุทธศาสตร์   เป็นแผนที่มุ่งเน้นองค์การ  คำนึงถึงภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์กร  มุ่งแก้ปัญหา  มุ่งเน้นไปสู่วิสัยทัศน์  ซึ่งถือว่าเป็นภาพแห่งความสำเร็จ

                แผนปฏิบัติการประจำปี   เป็นแผนที่มีรายละเอียดมากกว่าแผนอื่นๆ  โดยเฉพาะงาน/โครงการ  กิจกรรม  ระยะเวลาดำเนินงาน  งบประมาณ  และผู้รับผิดชอบ  ซึ่งจะต้องกำหนดไว้ชัดเจน  มี  2  ลักษณะ คือ  จัดทำแผนตามปีการศึกษา  และจัดทำปีงบประมาณ

 

                เอกสารอ้างอิง  การวางแผนกลยุทธ์ และการจัดทำงบประมาณในสถานศึกษา   ของ ดร.รังสรรค์  มณีเล็ก  สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ  พ.ศ. 2549

          

                              ……………………………………..

 

หมายเลขบันทึก: 419945เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2011 21:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท