การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic Planning)


การวางแผนกลยุทธ์

                      การวางแผนกลยุทธ์  (Strategic  Planning)

       กลยุทธ์  หมายถึง  วิธีการดำเนินงาน  ที่คาดว่าจะนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร

       องค์ประกอบที่เป็นจุดมุ่งเน้นของการวางแผนกลยุทธ์

  1. มุ่งอนาคต
  2. เน้นจุดมุ่งหมายรวมขององค์กร
  3. เน้นกระบวนการ
  4. เน้นภาพรวม

      กระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์

  1. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมขององค์กร 
  2. จัดวางทิศทางขององค์กร
  3. กำหนดกลยุทธ์  คือการสร้างทางเลือกเพื่อนำไปสู่วิธีการบรรลุเป้าหมายขององค์กร
  4. ปฏิบัติตามกลยุทธ์
  5. ควบคุมเชิงกลยุทธ์  เป็นกระบวนการติดตามผลการปฏิบัติงาน

     การวางแผนกลยุทธ์ที่ประสบความสำเร็จ

  1. มีการนำไปสู่การปฏิบัติจริง
  2. สร้างวิสัยทัศน์ร่วมที่มีค่านิยม  ศรัทธา  ความเชื่อเป็นพื้นฐาน
  3. เน้นการมองออกไปภายนอก  และไวต่อสภาพแวดล้อมขององค์กร
  4. อยู่บนรากฐานของข้อมูลที่มีคุณภาพเชื่อถือได้
  5. ต้องการความเปิดกว้างและเปิดใจยอมรับต่อการตรวจสอบสภาวการณ์ที่เป็นอยู่ร่วมด้วยเหตุผลและข้อเท็จจริง
  6. จัดให้เป็นส่วนสำคัญของการบริหารจัดการที่มีประสิทธิผล

    ขั้นตอนการจัดทำแผนกลยุทธ์ของโรงเรียน

  1. จัดตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานจัดทำแผนกลยุทธ์
  2. ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ให้ความรู้แก่บุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง
  3. รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน จัดทำฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศเกี่ยวกับสภาพโรงเรียน  สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ  สังคม  การศึกษา
  4. ศึกษาสภาพขององค์กรและจัดทำภาพรวมของโรงเรียน
  5. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียนทั้งสภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายใน
  6. ประเมินสถานภาพของโรงเรียน  โดยการประเมินความรุนแรงของผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมและสมรรถนะของโรงเรียน
  7. จัดวางทิศทางของโรงเรียน  โดยการกำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ  และเป้าประสงค์ของโรงเรียน

  8.  กำหนดกลยุทธ์โดยสร้างกลยุทธ์ทางเลือกในระดับโรงเรียน ระดับแผนงาน ระดับโครงการ  และจัดทำกรอบแผนกลยุทธ์

  9.  ตรวจสอบทบทวนและปรับปรุงแผนกลยุทธ์

10.  เผยแพร่  ประชาสัมพันธ์แผนกลยุทธ์

   ประเด็นที่ควรศึกษามีอะไรบ้าง

  1. ประวัติความเป็นมาของโรงเรียน
  2. สภาพปัจจุบัน
  3. ภาระที่โรงเรียนรับผิดชอบหรือเกี่ยวข้องในการดำเนินการ
  4. สภาพการดำเนินงานที่ผ่านมา

      4.1 ระบบและกระบวนการวางแผน

      4.2 สภาพผู้เรียน

      4.3 ผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการในรอบปีที่ผ่านมา

  5. สภาพแวดล้อมและชุมชน

   การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโรงเรียน

     สภาพแวดล้อมของโรงเรียนเป็นสภาพแวดล้อมขององค์กร จำแนกได้ 2  ประเภท คือ  สภาพแวดล้อมภายนอกและสภาพแวดล้อมภายใน

  1.  สภาพแวดล้อมภายนอก  ได้แก่ปัจจัยต่างๆ  ภายนอกระบบโรงเรียนที่ส่งผลกระทบต่อโรงเรียน  มี  2  ลักษณะ  คือ

       1.1  สภาพแวดล้อมภายนอกทั่วไปที่มีผลกระทบต่อโรงเรียน  ซึ่งแยกออกเป็น  4  ด้าน  คือ

             1)  ปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรม

             2)  ปัจจัยด้านเทคโนโลยี

             3)  ปัจจัยด้านเศรษฐกิจ

             4)  ปัจจัยด้านการเมือ

        1.2  สภาพแวดล้อมเชิงปฏิบัติการที่มีผลโดยตรงต่อการดำเนินงานของโรงเรียน  เช่น

             1)  สภาพปัญหาที่เกี่ยวข้องกับภารกิจโดยตรงของโรงเรียน

             2)  ลักษณะของกลุ่มสังคมผู้รับผลประโยชน์ และผู้รับบริการ

             3)  ภาระงานที่เป็นความต้องการเร่งด่วน

             4)  ความพร้อมของสถานการณ์ในการจัดการศึกษาในปัจจุบัน

             5)  ความร่วมมือของกลุ่มบุคคลผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจดำเนินการของโรงเรียนรวมทั้งเจตคติของประชาชน

   2.  สภาพแวดล้อมภายใน  ได้แก่ปัจจัยต่างๆ  ภายในระบบโรงเรียนที่เป็นจุดอ่อนและจุดแข็ง   จำแนกออกเป็น  6  ประเภทคื

       2.1  โครงสร้างและนโยบายขององค์กร

       2.2  การบริการและคุณลักษณะผู้เรียน

       2.3  บุคลากร

       2.4  การเงิน

       2.5  วัสดุอุปกรณ์

       2.6  การบริหารจัดการ

    การวางทิศทางของโรงเรียน

       การจัดวางทิศทางของโรงเรียน  คือการกำหนด  วิสัยทัศน์  พันธกิจ  และเป้าประสงค์ของโรงเรียน

    วิสัยทัศน์

       การกำหนดวิสัยทัศน์ของโรงเรียนจำเป็นต้องใช้ศิลปะ  เพราะวิสัยทัศน์เป็นจินตภาพที่ปราศจากรายละเอียด...วิสัยทัศน์เป็นสิ่งที่โรงเรียนเชื่อมั่นว่าต้องการจะบรรลุผล...เมื่อได้กระทำแล้ว

    ลักษณะวิสัยทัศน์ที่ดี

  1. มีความชัดเจน  สามารถนำไปปฏิบัติได้
  2. เป็นภาพเชิงบวกที่สะท้อนถึงความเป็นเลิศขององค์กร
  3. ต้องท้าทายความสามารถของสมาชิกทุกคนในองค์กร
  4. คำนึงถึงผู้รับบริการเป็นสำคัญ
  5. มีความสอดคล้องกับแนวโน้มในอนาคต

     พันธ์กิจ

     พันธ์กิจ  เป็นแนวทางที่องค์กรจะดำเนินงานให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ที่กำหนด  องค์ประกอบของข้อความพันธ์กิจ  ควรครอบคลุมสาระสำคัญดังนี้

  1. ลักษณะของผลผลิตและบริการ
  2. ผู้รับประโยชน์และบริการโดยตรงจาการดำเนินงาน
  3. วิธีการดำเนินงาน
  4. ประโยชน์ที่จะได้รับจากองค์กร
  5. ความเชื่อ  ค่านิยมพื้นฐานในการดำเนินงานของบุคลากร
  6. หลักการพื้นฐานขององค์กร

      เป้าประสงค์

      เป้าประสงค์  คือความคาดหวังสำคัญที่ต้องการให้เกิดขึ้น  โดยสอดคล้องกับพันธกิจและวิสัยทัศน์ 

      กระบวนการกำหนดกลยุทธ์ของโรงเรียน

  1. ทบทวนสถานภาพของโรงเรียนและทิศทางที่กำหนดไว้
  2. พิจารณาตรวจสอบประเด็นต่างๆ ที่เป็นวิกฤตหรือสำคัญต่อการดำเนินงานของโรงเรียนมากๆ
  3. คิดหาวิธีการที่จะนำสมรรถนะเชิงเด่นที่เป็นจุดแข็งและความสามารถของโรงเรียนที่มีอยู่มาใช้ในการกำหนดกลยุทธ์
  4. วิเคราะห์โอกาส  อุปสรรค  และจุดแข็ง  จุดอ่อน  แล้วพิจารณาสังเคราะห์เชื่อมโยงปัจจัยทั้งสองส่วนเพื่อสร้างทางเลือก
  5. คิดค้นแสวงหาและเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดเพื่อการดำเนินงาน

 

                                              เอกสารอ้างอิง 

การวางแผนกลยุทธ์  ของศูนย์ประสานงานปรับระบบงบประมาณ กรมสามัญศึกษา

                                    ........................................

 

หมายเลขบันทึก: 419955เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2011 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท