วิสัยทัศน์ ( Vision)


วิสัยทัศน์

 

                                        วิสัยทัศน์  ( Vision)

 

วิสัยทัศน์คืออะไร

                วิสัยทัศน์เป็นสิ่งที่มุ่งหวังจะให้มีหรือเกิดขึ้นในอนาคตซึ่งผู้บริหารของหน่วยงานต้องเป็นผู้กำหนด  โดยทุกคนในหน่วยงานมีส่วนร่วม  โดยมุ่งตอบคำถามว่า  เราต้องการเป็นอะไร (What  do  we  want  to  come ) 

                วิสัยทัศน์หมายถึง  เป้าหมายที่มีลักษณะกว้างๆ   เป็นความต้องการในอนาคต  โดยมิได้กำหนดวิธีการไว้เป็นข้อความทั่วไป  ซึ่งกำหนดทิศทางของภารกิจ  เป็นความมุ่งหมายในสถานภาพที่เราจะไปเป็น  หรือเราไปอยู่  ณ  วันหนึ่งในอนาคต  ที่องค์กรมุ่งหมาย  มุ่งหวังหรือประสงค์จะเป็น  หรือจะมีในอนาคต 

 

ความสำคัญของวิสัยทัศน์
                1. ช่วยกำหนดทิศทางที่จะดำเนินชีวิตหรือกิจกรรมองค์กร โดยมีจุดหมายปลายทางที่ชัดเจน
                2. ช่วยให้สมาชิกทุกคนรู้ว่า แต่ละคนมีความสำคัญต่อการมุ่งไปสู่จุดหมายปลายทาง และรู้ว่าจะทำอะไร (What) ทำไมต้องทำ (Why) ทำอย่างไร (How) และทำเมื่อใด (When)
                3. ช่วยกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนมีความรู้สึกน่าสนใจ มีความผูกพัน มุ่งมั่นปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ ท้าท้าย เกิดความหมายในชีวิตการทำงาน  มีการทำงานและมีชีวิตอยู่อย่างมีเป้าหมายด้วยความภูมิใจ และทุ่มเทเพื่อคุณภาพของผลงานที่ปฏิบัติ
                4. ช่วยกำหนดมาตรฐานของชีวิต องค์กร และสังคมที่แสดงถึงการมีชีวิตที่มีคุณภาพ องค์กรที่มีคุณภาพ และสังคมที่เจริญก้าวหน้ามีความเป็นเลิศในทุกด้าน  

 

ลักษณะของวิสัยทัศน์ที่ดี

  1. มีความชัดเจน สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้
  2. เป็นภาพเชิงบวกที่สะท้อนถึงความเป็นเลิศของโรงเรียนในอนาคต  ซึ่งอาจจะกำหนดเวลาไว้ด้วยก็ได้
  3. ต้องท้าทายความสามารถของสมาชิกทุกคน
  4. คำนึงถึงผู้รับบริการเป็นสำคัญ
  5. มีความสอดคล้องกับแนวโน้มในอนาคต

 

 กระบวนการสร้างวิสัยทัศน์
                1. ขั้นเตรียมการ เป็นขั้นตอนการสร้างความรู้ความเข้าใจ     เกี่ยวกับความหมายและให้เห็นความสำคัญและความจำเป็นในการสร้างวิสัยทัศน์ในองค์การรวมถึงการมีเจตคติที่ดีของสมาชิกที่มีต่อองค์กร
                2. ขั้นดำเนินการสร้างวิสัยทัศน์ มีขั้นตอนดังนี้
                    2.1  รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน เช่น วัตถุประสงค์ ภารกิจหน่วยงาน ความคาดหวังและความต้องการของสมาชิก ผู้รับบริการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
                    2.2  วิเคราะห์สถานภาพปัจจุบันของหน่วยงาน      เพื่อให้ผู้บริหารเข้าใจและตระหนักในสถานภาพปัจจุบัน และศักยภาพของหน่วยงาน
                    2.3  กลุ่มผู้บริหารเสนอมุมมองแห่งอนาคต   เป็นลักษณะของการสร้างฝันของผู้บริหารแต่ละคน (Create Individuals Dream) จะได้มุมมองที่หลากหลายและครอบคลุม
                    2.4  นำมุมมองของผู้บริหารแต่ละคนมารวมและเชื่อมโยงกัน (Share and Relate the Dreams) เพื่อให้มุมมองของแต่ละคนมาเชื่อมโยงกัน แล้วเรียงลำดับความสำคัญ
                    2.5  คัดเลือกและตัดสินใจอนาคตของหน่วยงานที่เป็นความฝันของทุกคน
                    2.6  ขัดเกลาสำนวนให้สื่อความหมายชัดเจน ปลุกเร้า ท้าท้าย สร้างพลังดลใจ มีสาระครอบคลุมองค์ประกอบของวิสัยทัศน์
                3. ขั้นนำวิสัยทัศน์ไปปฏิบัติ เมื่อกำหนดวิสัยทัศน์ตามขั้นตอนการสร้างวิสัยทัศน์แล้ว     จะได้วิสัยทัศน์ของหน่วยงาน และเมื่อคณะกรรมการบริหารแล้ว ควรสื่อสารให้สมาชิกทุกคนได้รับทราบและเข้าใจตรงกัน กำหนดแผนงานและโครงการให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ และนำแผน/โครงการไปปฏิบัติ
                4. ขั้นประเมินวิสัยทัศน์ การประเมินวิสัยทัศน์ทำให้ทราบว่า     วิสัยทัศน์นั้น มีพลังและมีประสิทธิภาพเพียงใด โดยพิจารณาจากผลการดำเนินงานตามแผน     และโครงการว่ามีความก้าวหน้าที่มุ่งไปสู่วิสัยทัศน์เพียงใด ควรปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานเพื่อให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์อย่างไร   

 

                                   ................................

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 419959เขียนเมื่อ 12 มกราคม 2011 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 11:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท