เมื่อนิสิตใช้ Google translate เขียนงานส่ง


วันก่อนพานิสิตในรายวิชา Academic Writing ไปห้องคอมพิวเตอร์เพื่อเขียนงานกลุ่มส่ง นิสิตบอกว่าชอบให้อาจารย์พามาใช้คอมพิวเตอร์มากๆ เพราะสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้หลากหลาย แปลคำศัพท์อะไรไม่ได้ก็เปิดดิกชันนารีออนไลน์ได้เลย อาจารย์ก็ค่อนข้างจะทุ่นแรงได้มากเพราะนิสิตกลุ่มนี้คุ้นเคยกับการเขียนงานส่งโดยใช้คอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี เครื่องมือทุ่นแรงของนิสิตอย่างหนึ่งคือ Google translate หลายคนที่เคยลองใช้ก็รู้ดีว่าถ้าพิมพ์ภาษาไทยแล้วมันจะแปลออกมาเป็นภาษาอังกฤษให้เลย

 http://translate.google.co.th/#th|en|

 ว้าวว....แหม อย่างนี้ใครก็เขียนภาษาอังกฤษได้แล้วสิ แต่อ๊ะ อ๊ะ เดี๋ยวก่อน เครื่องแปลภาษานี้มันจะเก่งขนาดนั้นทีเดียวหรือ บางประโยคก็แปลใช้ได้ แต่หากไปเจอประโยคซับซ้อนหรือคำที่มีหลายความหมายเข้าไป คุณก็จะได้ประโยคผิดไวยากรณ์กระจุย หากมาเขียนมาส่งอาจารย์ อาจารย์ก็จะกาๆ แดงเถือกผิดไปหมด

 

อย่างเช่นลองพิมพ์คำว่า "แม้ว่าแม่จะเหนื่อยแต่ยังสู้เพื่อลูก"

มันจะออกมาเป็น Even though tired, but still fight for the ball.

ผิดมหันต์ ประธานของประโยคก็ไม่มี แถมลูกก็กลายเป็นลูกบอลซะงั้น
คนละเรื่องเลย นี่แม่กลายเป็นมิดฟิลด์ไปตั้งแต่เมื่อไหร่หว่า...ฮิฮิ

 

ทีนี้อยากจะเขียนอะไรก็เขียนไป บางคำบางประโยคมันก็พอได้ แต่อย่างลืมว่าโครงสร้างภาษาไทยกับอังกฤษมีความต่างกันมาก บางทีประโยคที่ได้มันผิดความหมายไปมาก นิสิตก็ด้วยความอยากเขียนให้เสร็จก็ไม่ทันดู ส่งมาทีไรอาจารย์แทบจะตกเก้าอีัด้วยความประหลาดใจ

ฉันอยากทำให้พ่อแม่   ไม่ใช่ I want to be parents. อยากเป็นพ่อแม่ ซะงั้น

ควรจะเขียนว่า

I want to do it for my parents.

 

ฉันเคยเที่ยวกลางคืนบ่อย ไม่ใช่ I used to frequent at night.

ควรจะเขียนว่า

I used to go out very often at night.

 

ดังนั้นดิฉันจึงได้บอกนิสิตว่า Google translate นี่ก็ไม่ได้ห้ามใช้ แต่เวลาใช้ให้ระวัง
ว่ามันให้ประโยคอะไรมา ที่สอนไปในห้องยังต้องเอาไปใช้เสมอ
ไม่งั้นแล้วเขาก็ซื้อเครื่องแปลภาษามาสอนนิสิตแล้วสิ
ไม่มาจ้างครูตัวเป็นๆ อย่างนี้หรอก ฮิฮิ

 

ในกรณีวิชาการอ่านก็เหมือนกัน ค่อนข้างจะสะดวกคือ วางเรื่องที่เป็นภาษาอังกฤษลงไปแล้วก็จะได้คำแปลมาทั้งหมด แต่พออาจารย์ถามว่า What is the main idea of the paragraph? ก็หงายตึงไปตามๆกัน ถึงแปลเป็นไทยทั้งหมดก็ไม่ได้หมายความว่าจะหา main idea ได้

งานนี้นิสิตต้องระวังการใช้ให้ดี อย่าลืมว่าเทคโนโลยีทำให้อะไรๆสะดวกขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าจะช่วยให้ความสามารถภาษาอังกฤษเราดีขึ้นไปด้วยจ๊ะ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 420125เขียนเมื่อ 13 มกราคม 2011 16:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีอาจารย์น้องอ้อม ผมเจอบ่อยๆๆ บางคำแปลออกมาหวานเสียว ฮ่าๆๆ

หวาดเสียวขนาดไหนค้าา วานท่านพี่ยกตัวอย่างมาด่วนค่ะ

ผมเคยให้แปลมันชื่อเมื่อนานมาแล้วพบว่าผมชื่อ

Devil Spirit

ชื่อไทยออกมงคล ชื่ออังกฤษซาตานชัดๆ

Google Translate เป็นเพียงเครื่องมือใช่ไหมครับอาจารย์ ;)...

แต่อย่างไรก็ต้องอาศัยการควบคุมและดูแลจากบุคคลหรือผู้ใช้อยู่ดี

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ Wasawat Deemarn

นิสิตบางคนใช้กูเกิลทรานสเลท แล้วเอาไปเช็คแกรมม่าใน Spellchecker Plus แล้วเอามาเกลาเองอีกที

ก็มีความพยายามมาก เพราะเขารู้แล้วว่าเครื่องแปลมันไม่มีทางแปลถูก 100 %

งานนี้นิสิตได้ระวังในการใช้เครื่องมือที่ว่านี้เพิ่มขึ้นด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะที่แวะมาอ่าน :-)

Google translate มีประโยชน์กับนิสิตในระดับ lexicon และใช้ศึกษา collocation ครับ

แต่ในระดับ syntax ต้องมีองค์ประกอบอย่างอื่นอีกหลายอย่างครับ หุหุหุ

- เข้ามาทักทายและเรียนรู้จากอาจารย์ภาษาอังกฤษคนเก่งครับ

- ปัญหาการใช้ Google translate สำหรับนักศึกษาไทยที่เรียนภาษาอังกฤษ คือ ไม่เข้าใจเรื่องการเรียบเรียงคำตามหลักไวยากรณ์ ทำให้แปลตรงตามตัวจึงอ่านภาษาอังกฤษไม่ได้ใจความ ผมก็เคยพบกับปัญหานี้ในช่วงที่กำลังเรียนภาษาอังกฤษระดับมัธยมศึกษา

- การเรียนวิชาการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย หรือ การแปลภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ สำหรับผมแล้วเป็นการเรียนภาษาและไวยากรณ์ทางอ้อม ทำให้เราสามารถถ่ายทอดความคิดออกเป็นภาษาหนึ่งได้ถูกต้องตามหลักภาษา

  • ประมาณว่า scramble egg
  • มันแปลว่า กวนไข่ ก๊ากๆๆ
  • ครั้งก่อนมันแปลว่า ไข่เบียดเสียด ฮ่าๆๆ
  • ไม่ได้คุยกับอาจารย์ Snea นาน
  • น้องอ้อมจำอาจารย์ได้ไหม
  • http://thinsan.org/

สวัสดีค่ะ
ขอบคุณครูออมสินค่ะที่มาแวะเยี่ยม

อาจารย์ขจิตคะ
หนูเป็นลูกศิษย์อาจารย์เสน่ห์ค่ะ จำได้สิคะ ^_^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท