แลกเปลี่ยนเรียนรู้...เรียนรู้จากการแลกเปลี่ยน 1


นี่อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความคิดในการพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแต่การนำสู่การปฏิบัตินั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจึงจะเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน ทั้งจากการทำงาน การศึกษาดูงาน หรือแม้แต่การท่องเที่ยวก็เป็นการโลกทัศน์ของผู้คนให้กว้างขึ้น

โดยส่วนตัวผู้เขียนคิดว่า การได้เห็น ได้รู้จักและเข้าใจสิ่งต่างๆ จะก่อให้เกิดความคิด และแรงบันดาลใจให้คนทำงานสามารถสร้างสรรค์งานใหม่ๆ หรืออาจช่วยให้มีแนวคิดในการปรับปรุงงานเดิมที่ทำอยู่ให้ดียิ่งขึ้น

ในรอบปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน วิถีการดำเนินชีวิตของผู้เขียนได้เปลี่ยนไป การเข้าร่วมงานวิจัยในโครงการ SHA ซึ่งผู้เขียนสนใจศึกษาเกี่ยวกับความทุกข์ยากของผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง ทำให้ผู้เขียนต้องเรียนรู้เกี่ยวกับโรคไตวายและการล้างไตทางช่องท้อง กระบวนการดูแลรักษาทั้งที่โรงพยาบาลจนถึงที่บ้าน วิถีชีวิตรวมไปถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้ป่วย ครอบครัวผู้ป่วย ผู้คนในชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ รวมทั้งบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลทุกระดับทั้งแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ สอ./ อปท. รวมทั้งระบบทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง

การออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยร่วมกับทีมพทย์ พยาบาล CAPD ถือเป็นส่วนหนึ่งในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลวิจัย และเป็นโอกาสดีที่จะสร้างความคุ้นเคยกับผู้ป่วยกลุ่มตัวอย่างและทีมทำงาน

แต่ก็น่าแปลกใจตัวเอง ที่ผู้เขียนไม่เคยรู้สึกเบื่อหน่ายเลยสักครั้งที่จะต้องออกไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเหล่านี้ ทุกครั้งที่ออกไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้าน ทำให้ผู้เขียนได้เกิดการเรียนรู้วิถีชีวิตจริงๆของผู้ป่วย ซึ่งหากเราไม่ได้ออกไปดูก็ไม่มีวันได้รู้ความเป็นจริงในชีวิตแลยังได้ความคิดในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยไตวายที่ล้างไตทางช่องท้อง(จากมุมมองของคนนอก) และมีโอกาสสะท้อนข้อค้นพบและเสนอแนวคิดต่อทีมทำงาน ซึ่งทีมก็รับฟังเป็นอย่างดี 

แต่..กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จภายในวันเดียวฉันท์ใด ปัญหาต่างๆ ในการทำงานก็คงไม่สามารถแก้ไขได้เพียงลัดนิ้วมือฉันท์นั้น ยิ่งปัญหาในระบบสุขภาพด้วยแล้วไม่มีทางที่จะแก้ปัญหาได้โดยคนๆ เดียว คนกลุ่มเดียว หรือทีมเดียวแน่ๆ ...ดังนั้นทุกอย่างจึงต้องรอเวลา...แต่ไม่ได้รอเฉยๆ การขับเคลื่อนในการแก้ปัญหาของทีมยังดำเนินต่อไปเรื่อยๆ ทำเท่าที่พอจะทำได้...ทำจากง่ายๆ ไปหายากในลักษณะทำไป เรียนรู้ไป แล้วนำปัญหาจากการทำงานมาแก้

แม้ว่าทีมได้พยายามอย่างเต็มกำลังความสามารถที่มีในการให้ข้อมูล การTraining จนแน่ใจว่าผู้ป่วยและครอบครัวสามารถทำได้แล้วจึงเริ่มให้ทำเองที่บ้าน แต่ในการออกเยี่ยมบ้านครั้งสุดท้ายของทีมก่อนสิ้นปี การปฏิบัติได้ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานที่ได้แนะนำไปในการสร้างห้องล้างไตทางช่องท้องของป้าปรานอม การทิ้งขยะไม่ถูกวิธี และอีกสารพัดปัญหาที่พบ ทำให้ทีมได้กลับมาทบทวนกันอีกครั้งว่าเกิดรอยต่ออะไรในระบบ และในบริบทเช่นนี้ ควรทำเช่นไร...

หลังการเยี่ยมบ้านป้าปรานอม ทีมได้ข้อสรุปร่วมกันว่า

  1. ต้องจัดทำคู่มือในการเตรียมห้องล้างไตทางช่องท้อง สำหรับผู้ป่วยและญาติ

  2. ต้องพาผูป่วยไปดูบ้านตัวอย่าง คุณสิทธิโชค ผู้ป่วยโรคไตและภรรยา ซึ่งบ้านอยู่ใกล้โรงพยาบาล ทำได้ดีและยินดีที่จะเปิดบ้านตัวเองเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้สำหรับผู้ป่วยอื่นๆ

 3. ต้องคืนข้อมูลและเพิ่มศักยภาพของทีมสุขภาพชุมชนในพื้นที่ ทั้ง รพช./รพ.สต/PCU ให้สามารถช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย CAPD เบื้องต้นได้ โดยมีแนวทางการดูแลผู้ป่วย CAPDต่อเนื่องที่บ้านสำหรับ รพช./รพ.สต/PCU

แนวทางการแก้ปัญหาเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ร่วมกันของทีมทำงาน การเปิดใจรับฟังปัญหาจากทุกฝ่าย ทั้งจากผู้ป่วย ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับและการช่วยกันคิดหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ...

นี่อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความคิดในการพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแต่การนำสู่การปฏิบัตินั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจึงจะเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้

หมายเลขบันทึก: 421386เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2011 22:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 กันยายน 2012 06:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดี ชาหวานเจี๋ยบ

ขอบคุณข้อมูลที่สรุปหลังการเยี่ยมบ้าน

(หลังการเยี่ยมบ้านป้าปรานอม ทีมได้ข้อสรุปร่วมกันว่า

  1. ต้องจัดทำคู่มือในการเตรียมห้องล้างไตทางช่องท้อง สำหรับผู้ป่วยและญาติ

  2. ต้องพาผูป่วยไปดูบ้านตัวอย่าง คุณสิทธิโชค ผู้ป่วยโรคไตและภรรยา ซึ่งบ้านอยู่ใกล้โรงพยาบาล ทำได้ดีและยินดีที่จะเปิดบ้านตัวเองเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้สำหรับผู้ป่วยอื่นๆ

  3. ต้องคืนข้อมูลและเพิ่มศักยภาพของทีมสุขภาพชุมชนในพื้นที่ ทั้ง รพช./รพ.สต/PCU ให้สามารถช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย CAPD เบื้องต้นได้ โดยมีแนวทางการดูแลผู้ป่วย CAPDต่อเนื่องที่บ้านสำหรับ รพช./รพ.สต/PCU

แนวทางการแก้ปัญหาเหล่านี้เกิดจากการเรียนรู้ร่วมกันของทีมทำงาน การเปิดใจรับฟังปัญหาจากทุกฝ่าย ทั้งจากผู้ป่วย ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับและการช่วยกันคิดหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน ...

นี่อาจเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของความคิดในการพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องแต่การนำสู่การปฏิบัตินั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายจึงจะเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้)

"เป็นแนวทางที่ทีมงานเยี่ยมบ้าน จะได้เรียนรู้ร่วมกัน"

สวัสดีค่ะ ท่านวอญ่า กลับเข้าบ้านหลังจากห่างหายไปเกือน 2 ปี ด้วยแรงกระตุ้นจากเรื่องเล่าการชงชาที่ รพ.กระบี่ของท่าน ...เกือบ 2 ปี ที่ผ่านมา ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยการลงมือทำในสถานการณจริง มีเรื่องราวที่ผ่านเข้ามาในชีวิตมากมาย มีเรื่องเล่าที่ยังไม่ได้เล่าให้ใครๆ ฟัง ที่คิดว่าน่าจะถึงเวลาเปิดเผยเสียที...ขอบคุณสำหรับแรงบันดาลใจจากท่านวอญ่าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท