หมอเจ๊ คนสวย แซ่เฮ
พ.ญ. ศิริรัตน์ เอกศิลป์ สุวันทโรจน์

นักเีีรียนรุ่นเสาร์ ๕ ดูงานในประเทศ (๒๗) : ภาคตะวันออก - เป็นอย่างนี้....จะทำไงละ


ท่านเปรียบเทียบว่าปัญหาในพื้นที่มาบตาพุดที่เกิดขึ้นในช่วงปี-สองปีที่ผ่าน มานั้น เป็นเหมือนอาการสะสมของคนที่ฝีอยู่ในตัว แล้วฝีบ่มตัวมากขึ้นเรื่อยๆจนฝีแตก และเป็นเสมือน “ฝีแตก” ที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว ฉับพลัน ทันที ประชาชนจึงออกมาเคลื่อนไหวแล้วนำไปสู่การประกาศเขตควบคุมมลพิษ....eco industrial town น่าจะเป็นคำตอบ แล้วควรตอบได้อย่างเร่งรัดว่า จะเอามาใช้ได้ไหม คนที่นี่โตมากับอุตสาหกรรม ประเทศได้รับผลประโยชน์ เพียงแต่จะทำอย่างไรไม่ให้เขาได้รับผลกระทบตรง

ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง นายสยุมพร ลิ่มไทย ได้มาเล่าประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับมาบตาพุดให้เราฟังด้วย มุมมองภาครัฐฝ่ายปกครองท่านนี้เล่าให้ฟังว่า

บทบาทที่เข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะผู้ว่าฯนั้นเสมือนเป็นคนกลางที่อยู่ระหว่าง บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในพื้นที่ ที่ผ่านมาเมื่อมารับตำแหน่งผู้ว่าฯ ก็ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไรมาก่อนเท่าไรนัก

มารับตำแหน่งก็ได้รับทราบปัญหา แล้วก็ทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ เอกชน ประชาชน อุตสาหกรรม ประชาสังคม ผู้นำชุมชน ตั้งแต่ ๑๖ มี.ค ๕๒ เป็นต้นมา ช่วงนั้นศาลปกครองประกาศให้พื้นที่นี้เป็นพื้นที่เขตควบคุมมลพิษพอดี

ท่านเปรียบเทียบว่าปัญหาในพื้นที่มาบตาพุดที่เกิดขึ้นในช่วงปี-สองปีที่ผ่านมานั้น เป็นเหมือนอาการสะสมของคนที่ฝีอยู่ในตัว แล้วฝีบ่มตัวมากขึ้นเรื่อยๆจนฝีแตก และเป็นเสมือน “ฝีแตก” ที่ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว ฉับพลัน ทันที ประชาชนจึงออกมาเคลื่อนไหวแล้วนำไปสู่การประกาศเขตควบคุมมลพิษ

ท่านว่า ก่อนรัฐออกแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออกฉบับที่ ๑ เพื่อใช้นั้น ระยองเป็นเมืองที่มีสภาพภูมิสังคมแบบ “เกษตร” และ “ท่องเที่ยว” ประชาชนทำสวนผลไม้ ภูมิประเทศสวยงาม มีหมู่เกาะมากมาย นักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวชมความสวยงามตามธรรมชาติ และเป็นเมืองเก่าที่แทบไม่มีสถานเริงรมย์

ก่อนปี ๒๕๒๕ อุตสาหกรรมในพื้นที่แถบนี้เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก เมื่อมีแก๊ซธรรมชาติและการขยายตัวของอุตสาหกรรม พื้นที่นี้ก็เติบโตและมีการลงทุนมากที่สุดในประเทศ

ข้อดีคือเมื่อเป็นพื้นที่สำหรับการลงทุน ด้านอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวรวดเร็วและมากขึ้นเรื่อยๆ ก็ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจทำให้ประเทศขยายทางเศรษฐกิจดีมาก

ข้อเสียตลอด ๒๕ ปีเศษๆที่เกิดกับคนในพื้นที่ คือ มีปัญหาด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม ทางสังคมมีการเคลื่อนไหวของประชากร ยอดประชากรในทะเบียนมีประมาณ ๖ แสนคน และีประชากรซึ่งอพยพเข้ามาในพื้นที่พร้อมครอบครัวแบบไม่ได้ย้ายทะเบียนบ้าน อีก ๔ แสนคน ทำให้ประชากรมีไม่น้อยกว่า ๑ ล้านคน และมีปัญหาทางสังคมหลายด้าน

ท่านเล่าว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้อง แบ่งงบมาดูแลสาธารณูปโภค สุขภาพ การศึกษา ฯลฯ ได้รับงบตามทะเบียนบ้านแต่ต้องมาแบกภาระกับงานนอกทะเบียนบ้าน  สถานศึกษา เด็กล้นห้อง โรงเรียนต้องเปิดห้องเพิ่มทุกปีขณะที่งบจัดสรรมาตาม “ทะเบียนบ้าน” หน่วยอื่นๆต้องช่วยกันดูแลประชากรแฝง  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นระดับแรงงาน อยู่แคมป์คนงาน เกิดปัญหาทางสังคม ปัญหาแออัดตามมา

บางจุดบางพื้นที่มีมลภาวะเกินกว่ามาตรฐานที่กำหนด บางจุดมีการอ้างว่ามีประชาชนที่ได้รับความเจ็บป่วยจากมลภาวะ

ในเชิงการพัฒนา การขยายตัวของอุตสาหกรรมทำให้โครงสร้างเมืองระยองเปลี่ยนแปลงไป การพัฒนาอุตสาหกรรม (ของรัฐบาล ภาคนอกและภาคเอกชนที่ลงมา) ทำให้การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมมีมูลค่ามากอันดับ ๑ ขณะที่ฐานเมืองเกษตร ท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมเฉพาะถิ่น ผลิตภัณฑ์มวลรวมอยู่บนพื้นฐานของเศรษฐกิจ ๓ ขาเดิมของที่นี่ เปลี่ยนเป็นเกิดสภาพ “เศรษฐกิจขาเดียว” อันไม่ใช่ผังของเมือง เพราะการพัฒนาที่ไม่สมดุล

ท่านพูดตรงๆว่า ในช่วง ๒๐ กว่าปีนั้น รัฐบาลพุ่งเป้าไปที่เศรษฐกิจ ขาดการมองพื้นที่สังคมเพื่อให้พัฒนาคู่ขนาน การพัฒนาที่ผ่านมาซึ่งไม่ได้พุ่งเป้าไปที่ส้งคม ทำให้ “สังคมถูกทอดทิ้ง”

ส่วนมุมมองของท่านเรื่องปัญหาท่านกล่าวว่า มีปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย เขตอุตสาหกรรมแบ่งเป็นพื้นที่เขตนิคม (๘ แห่ง) อีกส่วนอยู่พื้นที่นอกโซนอุตสาหกรรม พื้นที่โซนอุตสาหกรรมเป็นพื้นที่กลุ่มทุนใหญ่ มีระบบอย่างดี ลงทุนเป็นร้อยล้าน ปัญหาอยู่ที่กลุ่มเล็กๆซึ่งไม่ค่อยดูแลการแก้ปัญหาชุมชน สิ่งแวดล้อมและทำให้ภาพโดยรวมเสียได้

ท่านเล่าว่าี การกำกับดูแล และนำไปบังคับใช้ให้เป็นไปตามกฎหมาย จำเป็นต้องมีเจ้าหน้าที่และหน่วยงานต่างๆดูแลให้ทั่วถึง ซึ่ง
ตัวอย่างในพื้นที่อุตสาหกรรมที่นี่คือมีคนดูแลแค่ ๑๙ กว่าคน การตรวจเน้นการสุ่มตรวจ การนิคมก็อาจเป็นหนึ่งที่คนดูแลอาจคิดไม่ถึง

ในเรื่องของมลภาวะ ท่านว่าคนเข้าใจ แต่ไม่ได้คำตอบ ท่านโยนคำถามว่าที่ลงทุนเดิมมากเกินไปหรือเปล่า ระบบอุตสาหกรรมให้ระบบมลภาวะได้แต่ทำแค่กฎหมาย ดังนั้นพวกนี้ไม่ได้ทำตามอัตราที่กำหนด กระบวนการตรวจวัดก็ใช้เวลานานเกินไปและยังหาข้อยุติไม่ได้ ไม่รู้ว่าสภาวะสับสนแล้วหรือยัง ก็ยังปล่อยให้มีการขยายตัวไปเรื่อยๆ

ท่านว่าอีกเรื่องที่ประชาชนพูดมากๆและนำไป ถกเถียง คือ แนวกันชน (buffer zone) ชาวบ้านสงสัยว่าทำไมทำไม่ได้ ทั้งๆที่เรื่องผังเมืองก็อยากให้มีแนวกันชนเพิ่มขึ้น  เมืองอุตสาหกรรมขยาย แต่ไม่ได้มีแนวกันชน จึงเป็นอีกปัญหา

ท่านกล่าวอีกว่า ปัญหาสะสมที่ไม่ได้แก้อย่างจริงจังอีกเรื่องคือ ปัญหาน้ำ ที่จะมีการเตรียมการเพื่อให้เกิด supply สำหรับอุตสาหกรรมเฉพาะ รัฐบาลบางสมัยไม่ได้เตรียมการ แต่ต้อง supply เข้าไปในภาคอุตสาหกรรม และจำเป็นต้องหาน้ำที่ชลประทานอันทำให้ต้องดึงน้ำจากอ่างเก็บเพื่อเกษตรและ อุปโภคมาใช้ในอุตสาหกรรมด้วย  หากไม่มีปัญหา ประชาชนก็ OK แต่ถ้าเกิดปัญหาวิกฤตน้ำ (ปี ๔๘) น้ำภาคเกษตรก็ถูกดึงไปใช้ในภาคอุตสาหกรรม

ในมุมมองของท่านต่อการแก้ปัญหา ท่านสนับสนุนการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างสันติวิธี มีระยะสั้นและระยะยาว

ข้อคิดต่อไปนี้ของท่านเป็นมุมมองของข้าราชการในจังหวัดซึ่งหนุนการสร้างธรรมาภิบาลกลุ่มและการดูแลกันอย่างใกล้ชิด

ท่านว่าที่รัฐบาลปัจจุบันเห็นความสำคัญกับ การประกาศเขตควบคุมมลพิษ หลังจากประชาชนร้องศาลปกครองแต่นายกฯไม่อุธร กลับเห็นด้วยกับการประกาศแนวทางแก้ไขเขตมลพิษนั้น ทำให้มีแนวทางการแก้ไขเกิดขึ้น การแก้ปัญหาระยะสั้น จังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถื่นร่วมกันทำแผน เห็นในกรรมการสิ่งแวดล้อมแล้วและกำลังส่งเข้าครม.

ท่านเล่าว่าการเยียวยา (การแก้ปัญหาความเดือนร้อนของประชาชน) ได้มีการอนุมัติงบเร่งด่วน ๙๐๐ ล้านบาท อาทิ การปรับปรุงโรงพยาบาล จัดรถไปตรวจสิ่งแวดล้อมในพื้นที่มลพิษ  เรื่องประปาซึ่งก่อนหน้าคนกลัวสารปนเปื้อนในน้ำ ชาวบ้านเจอน้ำไหลบ้าง ไม่ไหลบ้าง และขุ่นข้น ไม่มีคุณภาพ ระบบท่อใช้มานาน ทำให้มีปัญหาต่อคุณภาพชีวิต รัฐบาลก็อนุมัติแล้ว

ท่านกล่าวว่าแผนลด/กำจัดมลพิษ ภาคประชาชน/ท้องถิ่นเสนอเข้าไปอีก ๗,๐๐๐ โครงการ แต่แม้จะมีแผนงาน/มีการให้ความเห็นชอบ แต่ก็ยังมีปัญหา “การเคลื่อนตัวของรัฐ” เป็นปัญหาในด้านการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ

ซึ่งท่านขยายความว่าในช่วงเร่งด่วน นายกฯให้ใช้เงินงบกลาง ๓๐ ล้านบาททำก่อน มีปัญหาทางปฏิบัติคือเงินไม่ออก เพราะต้องเสนอไปที่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง เสนอต่อสำนักงบประมาณ เพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี เรื่องอยู่ที่กรม ๗-๘ เดือน เป็นปัญหากลไกการปฏฺิบัติของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นและกระทรวง ทรัพยฯ (สำนักงานปลัด) วิธีการเอางบมาใช้คือ ขอให้กรม-กระทรวงที่เกี่ยวข้องตั้งงบประมาณในแต่ละปีสนับสนุน

ท่านบอกว่าปัญหา คือ จะบังคับกันอย่างไรเพราะเขาจะตั้งงบตามพันธกิจ/หน้าที่  ๗๑ โครงการ กับ งบ ๒,๐๐๐ ล้าน กว่าจะหลุดมาได้ อาจเหลือไม่ถึง ๕% เรื่องนี้สะท้อนว่า นโยบาย OK แต่ปัญหาคือ policy implementation

ในมุมมองต่อชาวบ้าน ท่านว่าชาวบ้านจะค้านหรือไม่ อยู่ทำให้เขามั่นใจว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่มีผลกระทบต่อเขา

ท่านว่าวันนี้ eco industrial town น่าจะเป็นคำตอบ แล้วควรตอบได้อย่างเร่งรัดว่า จะเอามาใช้ได้ไหม  คนที่นี่โตมากับอุตสาหกรรม ประเทศได้รับผลประโยชน์ เพียงแต่จะทำอย่างไรไม่ให้เขาได้รับผลกระทบตรง

ท่านมีมุมมองว่า พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ “เสียสละ” ประชาชนต้องแบกภาระมลภาวะ สิ่งแวดล้อม และปัญหาสังคม

ท่านเล่าว่าทุกเวทีจะถามว่า “มีอะไรกลับคืนระยองหรือพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ” เพราะที่ผ่านมาคือไม่ต่าง สิ่งที่รัฐบาลจัดสรรคืนก็ตามจำนวนห้ว และมีสิ่งที่คนระยองเรียกร้อง อาทิ ภาษีธุรกิจ เพราะโรงงานที่นี้จดทะเบียนกรุงเทพฯ เป็นส่วนใหญ่ ทำให้ภาษีอยู่ที่กทม. แต่หากย้ายมาที่นี่ก็จะทำให้ได้อัตราภาษีเพียงพอ

ท่านยังเล่าด้วยว่าเมื่อท่านมารับงาน ข่าวคราวต่างๆที่เป็นปัญหา ท่านได้รับรู้ล่าช้าเสมอ และส่วนใหญ่ท่านบังเอิญได้รับรู้เอง แต่ปัญหานี้ได้รับการแก้ไขบ้างแล้ว แต่ก็ยังมีเหตุการณ์บางเหตุการณ์ที่ท่านพูดว่า “ผู้ว่าฯไม่ได้รับรายงาน” ยังเกิดขึ้น

ผู้ว่าราชการจังหวัดท่านนี้ได้บอกด้วยว่า ท่านเหลืออายุราชการสำหรับทำงานอยู่ที่นี่อีกเพียง ๑ ปีเท่านั้น  น่าสนใจตรงที่ท่านทำงานต่อเนื่องอยู่ในพื้นที่เป็นเวลาปีเศษๆแล้ว ดูเหมือนหลายๆเรื่องของการแก้ปัญหาที่ท่านเข้าไปเกี่ยวข้อง ท่านทำได้แค่เชื่อมคนให้ได้คุยกันเท่านั้นเอง ไม่น่าเชื่อเนอะ

๑๕ กันยายน ๒๕๕๓

หมายเลขบันทึก: 421396เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2011 23:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

"...นักเีีรียนรุ่นเสาร์ ๕ ดูงานในประ..."

Now, we know you use a "Windows" machine ;-)

Typos like that does not happen on Linux or Mac.

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท