อียิปต์ มี EL-Baradei ไทยมีศุภชัย พานิชภักดิ์


บทความแนวหน้าฉบับวันเสาร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554

อียิปต์ มี EL-Baradei ไทยมีศุภชัย พานิชภักดิ์

            สัปดาห์ที่แล้วผมเขียนเรื่อง เส้นทางเดินของผู้นำโลก 3 คน : หู จินเทา 2013, Obama 2012, อภิสิทธิ์ 2011 มีผู้อ่านสนใจส่งข้อเสนอแนะดีๆ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง คุณประทีป เขียนว่า…

            เรียน ท่านอาจารย์ ผมน้องใหม่ เพิ่งนำเสนอแนวคิด เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก แต่อย่างน้อยมีแนวร่วม มีดาวดวงใหม่ จุดพลังไว้บ้าง ความสว่างในด้านต่าง ๆ อาจจะเกิด ขึ้น เมื่อเราพยายามเดินหน้ากันจนมิลืมหู มิลืมตา เรากลับทบทวนใหม่ แล้วถอยหลังก็น่าจะมีแนวทาง ผมเกรงใจท่านมาก เพราะท่านมีแนวคิด อะไรไว้มากมาย หากมองเห็นความคิดของผมสักน้อยนิดก็ยังดี มีข้อคิดฝากบ้างเป็นพระคุณยิ่ง

            ผมได้เรียนคุณประทีปไปว่า ผมเขียนเพื่อดูว่าอนาคตทางการเมืองของ 3 คนจะเป็นอย่างไร? ไม่ใช่ประสบความสำเร็จหรือไม่ คุณประทีปแนะนำให้มองย้อนหลัง แน่นอนครับถ้าได้เป็นแล้วก็ต้องมองกลับว่า ทำอะไรสำเร็จหรือล้มเหลวจะต้องเรียนรู้จากอดีตแน่นอน

            ผมคิดว่าคุณประทีปเป็นคนรุ่นใหม่ อายุไม่น่าจะเกิน 30 ปี แต่อ่านบทความและกล้าหาญสนใจส่งข้อมูลกลับมาซึ่งเป็นวิธีที่ดี ผมเป็นอาจารย์มานานแล้ว พร้อมรับฟังความเห็นของคนรุ่นใหม่ๆ เสมอ ได้แบ่งปันความรู้กัน ผมเรียนรู้จากคนรุ่นใหม่ตลอดเวลาครับ

            สัปดาห์นี้ มีเหตุการณ์ใหญ่ๆ 2 เรื่อง

เรื่องแรก คือ กลุ่มพันธมิตรรุกหนักขึ้น นำเรื่องกัมพูชามาเป็นข้อต่อรอง มีประเด็นที่สำคัญหลายเรื่อง

  • ปัญหากัมพูชาจะลุกลามไปไกลแค่ไหน?
  • พันธมิตรจะเปิดสงคราม เรื่อง คอรัปชั่น เพิ่มขึ้น จะเป็นประเด็นใหญ่ทางการเมืองหรือเปล่า?
  • คุณอภิสิทธิ์มีความผิดเป็นหัวหน้ารัฐบาลควบคุมพรรคร่วมได้ไม่ดีพอในเรื่องคอรัปชั่น
  • ถ้าพันธมิตรจะเล่นเกมส์นี้ เหมือนไปสร้างพลังให้คุณทักษิณกลับมาหรือเปล่า?

ประเด็นคือ พันธมิตรต้องการพิสูจน์ว่าพลังกลุ่มสนับสนุนยังมีมากที่จะสร้างอำนาจต่อรองทางการเมือง หรือเพื่อไปสู่การปฏิวัติหรือสร้างปัญหาความไม่สงบให้ประเทศ

ผู้นำอย่างคุณอภิสิทธิ์ยังมีคุณประโยชน์ต่อชาติได้ในปัจจุบันและอนาคตตัวเลือกอื่นๆก็ดูมีคุณภาพอ่อนกว่าอย่างเห็นได้ชัด

กระแสปฏิวัติจึงเป็นเรื่องที่ประมาทไม่ได้ ถ้าเหตุการณ์รุนแรงควบคุมไม่ได้คนอย่างคุณจำลองก็เคยทำสำเร็จมาแล้ว นายกฯอภิสิทธิ์ก็ต้องรีบเจรจา อย่าประมาท ยกย่องให้เกียรติฝ่ายพันธมิตร

หรือเมื่อผ่านการแก้รัฐธรรมนูญแล้วก็รีบยุบสภาฯ

ส่วนการแก้รัฐธรรมนูญเป็น 375 + 125 ก็ต้องยอมรับว่าอธิบายเหตุผลได้ลำบาก จริงอยู่พรรคใหญ่ได้ปาร์ตี้ลิสมากขึ้น แต่ก็ทำให้คนในประเทศมีความไม่สบายใจ โปรดอธิบายให้กระจ่างครับ

ส่วนเรื่องประเทศอียิปต์ ผมพูดใน Blog  : www.chiracademy.comมาหลายครั้ง

  • ผู้นำอยู่นานไป
  • ผู้นำต้องการสร้างทายาททางการเมือง
  • อำนาจมีนานๆ ก็ถอยไม่เป็น

แต่ข้อดีของประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัก ก็คือ

  • เป็นมุสลิมหัวไม่รุนแรง
  • เป็นมิตรกับอิสราเอล
  • เป็นมิตรกับอเมริกัน
  • ถ้ามูบารักออกรัฐบาลใหม่เป็นอย่างไรจะคล้ายๆ อิหร่านได้รัฐบาลหัวรุนแรง แอนตี้อเมริกาสุดๆ สร้างความไม่สงบในตะวันออกกลาง

วันนี้ผมมีประเด็นหนึ่งที่จะเปรียบเทียบวิเคราะห์ผู้นำที่อาจจะเกิดทั้งในไทยและอียิปต์

ในอียิปต์รัฐบาลชุดใหม่อาจจะนำโดยคุณ EL-Baradei ก็ได้ ส่วนในเมืองไทยอีก 4 ปี ก็อาจจะเป็นยุคคุณศุภชัย พานิชภักดิ์ที่จะกลับมารับใช้ประเทศในระดับนายกรัฐมนตรี

สองท่านมีอะไรคล้ายๆกัน

  • มีความรู้ดีมากทั้งคู่
  • ทำงานระดับโลกเป็นที่ยอมรับในตำแหน่งสูงใน UN
  • EL-Baradei เป็นหัวหน้าหน่วยงานควบคุมการแพร่กระจายของอาวุธนิวเคลียร์ของ UN  กว่า 3 สมัยได้รางวัล Nobel ด้วย
  • คุณศุภชัยเป็น WTO 3 ปีและเป็น UNCTAD อีก 2 สมัย
  • อายุไล่เลี่ยกัน EL-Baradei อายุ 68 ปี คุณศุภชัย 65 ปี
  • คุณ EL-Baradei ต้องการกลับมารับใช้ชาติ เพราะเขาเห็นปัญหาความยากจน เขามีโอกาสสูงเพราะมีภาพลักษณ์ที่ดีในระดับสากล
  • คุณศุภชัย เมื่อจบวาระ UNCTAD แล้วอีก 3 ปีก็อาจจะกลับสู่การเมืองได้เพราะได้สร้างบารมีชื่อเส่ยงไว้ที่ต่างประเทศมากมาย

ข้อแตกต่าง 

  • คุณศุภชัยเคยเป็นนักการเมืองระดับรองนายกฯมาก่อน คุณ EL-Baradei ไม่เคยเป็นนักการเมือง
  • คุณ EL-Baradei มีคนรู้จักในอียิปต์น้อยมากโดยเฉพาะระดับรากหญ้าเพราะอยู่ต่างประเทศเกือบตลอดเวลา
  • คุณศุภชัยออกไปทำงานต่างประเทศไม่ถึง 10 ปี คนไทยยังจำได้

ประเด็นก็คือน่าสนใจว่า ผู้นำดังกล่าวทั้งอียิปต์และประเทศไทย อาจจะเป็นผู้นำเคยทำงานระดับโลกและมีชื่อเสียงแล้วก็กลับมาช่วยประเทศบ้านเกิดได้

จึงเป็นแนวโน้มใหม่ของโลกว่าผู้นำที่เกิดใหม่ต้องผ่านเวทีโลกมาก่อน

 

 

หมายเลขบันทึก: 424098เขียนเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2011 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 17:25 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท