เสวนา...เหลียวหลัง แลหน้า การแก้ไขปัญหาความไม่สงบชายแดนใต้


ภาครัฐมีความจริงใจในการแก้ปัญหาในพื้นที่มากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญภาครัฐจะทำให้คนในพื้นที่เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจภาครัฐได้อย่างไร...

             มีโอกาสได้เข้าร่วมการสัมมนาเรื่อง "เหลียวหลังแลหน้าการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้"เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ทั้งที่จัดขึ้นที่รัฐสภา และอีกครั้งที่โรงแรมโรยัลริเวอร์ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมสัมนาจากหลาย ๆ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาชายแดนใต้ ซึ่งสำหรับผมแล้วเป็นการเปิดมุมมองใหม่ ๆ จากการได้เห็นทัศนะที่หลากหลายจากภาคส่วนต่าง ๆ...

 

             ทั้งภาครัฐฝ่ายการเมือง การปกครอง ทหาร ตำรวจ ภาควิชาการ ตลอดจนภาคประชาชนและสื่อมวลชน ซึ่งแต่ละภาคส่วนก็มองปัญหา วิธีการและแนวทางการแก้ไขปัญหาในมุมมองที่แตกต่างกัน แต่ทุกภาคส่วนก็ยอมรับร่วมกันอย่างหนึ่งว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากประชาชนในพื้นที่...

 

                  

 

            ซึ่งสิ่งที่ถูกพูดถึงและหยิบยกขึ้นมาเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงสภาพปัญหา คือความไม่เป็นธรรม ปัญหาเรื่องของสิทธิมนุษยชน ปัญหาเรื่องกฏหมายและการบังคับใช้กฏหมายในพื้นที่ของภาครัฐ รวมทั้งปรากฏการณ์จริงที่เกิดขึ้นในพื้นที่ก็จะเกี่ยวข้องกับ ภาษา วัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา และอัตลักษณ์ของคนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์เป็นคนไทยมุสลิมหรือไทยมลายูมุสลิม...

 

            ซึ่งประเด็นต่างๆเหล่านี้เชื่อมโยงและเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ของพื้นที่ในคาบสมุทรมลายูแห่งนี้มาอย่างยาวนาน ซึ่งการจะพูดถึงเรื่องของประวัติศาสตร์นี้จะเป็นความกังวลของภาครัฐหรือหลาย ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเนื่องจากเป็นเรื่องที่ sensitive แต่หลาย ๆ คนที่เข้าร่วมการสัมนาต่างก็สะท้อนให้เห็นว่า ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องของความภาคภูมิใจ ความมีศักดิ์ศรีในตนเอง รวมถึงเรื่องราวของบรรพบุรุษที่เป็นวีรบุรุษในใจของลูกหลาน...

 

           ความกังวลหรือความระมัดระวังต่อประเด็นที่ sensitive เหล่านี้มากเกินไป ย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อคนในพื้นที่ เป็นการเลือกปฏิบัติ และทำให้เกิดความขับข้องใจของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็เป็นชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดความไม่สงบมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน...

 

                  

 

            มีหลาย ๆ คำถามที่เกิดขึ้นจากการสัมนาในวันนั้น...

          เด็กและเยาวชนในพื้นที่จะมีความภาคภูมิใจในศักดิ์ศรีของตนเองได้อย่างไร ในเมื่อวีรบุรุษของเขาเป็นคนละคนกับวีรบุรุษในตำราที่เขาเรียน...

           ทำไมการใช้ภาษามลายูจึงเป็นเรื่องที่ถูกจำกัด ในขณะที่หลาย ๆ จังหวัดในประเทศมีป้ายหรือข้อความที่เขียนด้วยภาษาพม่าได้...

            เราสามารถพูดถึง "นครแม่สอด" หรือนครอื่น ๆ ได้ แต่เป็นเรื่องลำบากหากจะพูดถึง "นครปัตตานี" ...      

             บทสรุปจากหลาย ๆ ฝ่ายในวันนั้น เป็นโจทย์ที่สำคัญให้ทุก ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาครัฐได้นำไปคิดต่อคือ ภาครัฐมีความจริงใจในการแก้ปัญหาในพื้นที่มากน้อยแค่ไหน และที่สำคัญภาครัฐจะทำให้คนในพื้นที่เกิดความไว้เนื้อเชื่อใจภาครัฐได้อย่างไร เพราะหาก 2 สิ่งนี้ไม่เกิดขึ้น ก็ยากที่จะแก้ไขปัญหาความสงบที่เกิดขึ้นได้นะครับ...

            

หมายเลขบันทึก: 424595เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2011 17:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

หลากมุมคิดที่มองมายังพื้นที่...ผมว่า ณ วันนี้หลายคนเข้าใจมากขึ้นและมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นเหมือนกันมากขึ้น คำถามอยู่ที่ว่า "แล้วรัฐมองเห็นเหมือนผู้คนที่เขามองเห็นไหม๊ หรือยังใช้แว่นเดิมในการมอง" วัลลอฮฺอะลัม

หากหลายฝ่ายช่วยกันคิด ช่วยกันมอง...

เสียงสะท้อนมีมากขึ้น ก็ดังมากขึ้น ยังงัยรัฐก็คงต้องปรับเปลี่ยนท่าทีและมุมมองของตัวเองบ้าง...

ส่งใจสู่แดนใต้ให้เกิดความสงบร่มเย็นในเร็ววันด้วยนะคะ

ด้วยความระลึกถึง

ด้วยความระลึกถึงเช่นกันครับ...พี่อุ้มบุญ

ขอบคุณมากครับ...

สวัสดีครับ

แวะมาเยี่ยมด้วยความระลึกถึงครับ

ครับ...พี่หนาน

^___^ ระลึกถึงเช่นกันครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท