๖๘.ปิดทองหลังพระ นาขั้นบันไดที่เปียงซ้อ


        “ปิดทองไปข้างหลังเรื่อย ๆ แล้วทองจะล้นออกมาที่หน้าพระเอง”  พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๐  งานพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำนายตำรวจและนายทหารเรือ วังไกลกังวล

        การสืบสานแนวพระราชดำริใน ๖ มิติลงสู่ชุมชน ได้แก่ดินปรับปรุงดินโดยปลูกหญ้าแฝก เกษตร ทฤษฏีใหม่และเกษตรรูปแบบที่เหมาะสมกับพื้นที่  พลังงานทดแทน ไบโอดีเซลเชื้อเพลิงสีเขียว  ป่า การอนุรักษ์ ดูแลรักษา และได้ประโยชน์จากป่าอย่างถูกวิธีเพื่อให้มนุษย์กับธรรมชาติอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข  สิ่งแวดล้อมกำจัดขยะและน้ำเสีย น้ำ การพัฒนาแหล่งน้ำ การเก็บน้ำให้อยู่ในประเทศได้นานที่สุด การใช้น้ำทุกหยดให้เกิดประโยชน์สูงสุด 

      ทำไมต้องน่าน ? น่านเป็นพื้นที่ซึ่งมีความสำคัญเชิงภูมิศาสตร์  เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำน่าน  ซึ่งเป็นร้อยละ ๔๕  ของแม่น้ำเจ้าพระยา  การพัฒนาลุ่มแม่น้ำน่านย่อมทำให้เห็นผลผลิตของการแก้ไขปัญหาตามแนวพระราชดำริที่เป็นรูปธรรมชัดเจน

        พื้นที่เป้าหมายแห่งแรกของการพัฒนาคืออำเภอสองแควและอำเภอท่าวังผาบริเวณลุ่มแม่น้ำยาวยอดและลุ่มแม่น้ำสบสาย  ตามหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ดำริให้เริ่มทำจากจุดเล็ก ๆ

       เกณฑ์การเลือกพื้นที่น่าน ประการแรกสามารถแก้ปัญหาได้ในเชิงระบบเริ่มต้นที่อำเภอสองแควและอำเภอท่าวังผา  และขยายผลสู่ทุกพื้นที่ในจังหวัดน่าน  ประการที่สอง มีพื้นที่ทางระบบนิเวศมีอุทยานถึง ๗ แห่งและหน่วยการจัดการต้นน้ำ  ๕๑ หน่วย  ประการที่สาม  มีข้อมูลเพียงพอเป็นระบบ ข้อมูลแผนชุมชน ๙๙  ตำบลและข้อมูลงานวิจัย สกว. และ สปสช.  ประการที่สี่ มีสภาพปัญหา เกิดน้ำท่วม ดินถล่มเป็นประจำทุกปี  การบุกรุกป่าทำไร่ข้าวโพด  มีสารพิษในเลือดสูงอยู่ในระดับ ๓ และ ๔  ประการที่ห้า อปท.เข้มแข็ง  อปท. จำนวน ๑๐๐  แห่งมีความพร้อมในการร่วมมือสนับสนุนการทำงานของชุมชน  ประการที่หก องค์กรชุมชนเข้มแข็งมีกลุ่มเครือข่ายที่เชื่อมโยงการทำงานร่วมกัน ๑๒๘ องค์กรทั่งจังหวัด

       บ้านเปียงซ้อ อำเภอเฉลิมพระเกียรติ  สูงกว่าระดับน้ำทะเล ๑๓๔๐ เมตร  ได้ดำเนินโครงการปิดทองหลังพระ

        การพัฒนาแหล่งน้ำ  สร้างฝายน้ำการเกษตร และฝายอนุรักษ์น้ำ  จำนวน ๙๘๓ ฝาย

       การพัฒนาที่ทำกิน  ขุดนาขั้นบันได  ๔๙๐ ไร่

       การส่งเสริมอาชีพ  กองทุนปลา  กองทุนเมล็ดพันธุ์ข้าว/พืชไร่/เมล็ดพันธุ์พืชผัก 

      การส่งเสริมการเกษตรระยะสั้น/ระยะยาว ไผ่เปาะ ไผ่ซางนวล ไผ่ตง หวาย ต๋าวและกล้วยเหลืองนวล

       กองทุนพลังงานทดแทน  เครื่องบดข้าวโพดและเตาเผาเศรษฐกิจ

       การปศุสัตว์ กองทุนสุกร กองทุนยา และสุขภาพสัตว์

 

           “การขุดนาขั้นบันไดที่บ้านเปียงซ้อ”  คุณจอห์นได้ให้ความอนุเคราะห์อธิบายเกี่ยวกับการขุดนาขั้นบันไดว่า แต่ละครอบครัวจะมีที่ทำกิน ๖๐ ไร่  และแบ่งออกเป็นพื้นที่ ๓ ส่วนคือ

           ป่าเหล่าที่ ๑ มีพื้นที่ ๒๐ ไร่ เพื่อฟื้นฟูความสมบูรณ์ของดิน ๒ ถึง ๓ ปี โดยทิ้งพื้นที่ให้เกิดหญ้าและต้นไม้ปกคลุม  ฝนตกดินชุ่มน้ำ

           พื้นที่ทำกิน ป่าที่ ๒ มีพื้นที่  ๒๐ ไร่  ขุดเป็นนาขั้นบันได และปลูกข้าวประมาณ ๑ ถึง ๓ ปีแล้วแต่ความลาดชันของพื้นดิน  อาจสลับการปลูกข้าวโพด  แล้วทิ้งไว้ให้เป็นป่าเหล่าต่อไปอีก ๒ ถึง ๓ ปี

           ย้ายไปทำนาขั้นบันไดและปลูกข้าวป่าแห่งที่ ๓  ซึ่งมีพื้นที่ ๒๐ ไร่ โดยพัฒนาขึ้นมาจากป่าเหล่าที่สมบูรณ์แล้ว  ประมาณ ๒ หรือ ๓ ปี  ก็วนไปยังพื้นที่ทำกินในป่าที่ ๑ ทิ้งพื้นที่ทำกินให้กลับเป็นป่าเหล่าเช่นนี้วนเวียนกันไป

          เนื่องจากภูมิประเทศเหล่านี้จะเป็นที่อยู่ของชาวเขาเผ่าต่าง ๆ อาจทำให้ความเชื่อดั้งเดิมเป็นอุปสรรคในการพัฒนา   การสร้างแรงจูงใจในการทำนาขั้นไดโดยแจกเครื่องมือและจอบขุด  จัดทำระบบน้ำให้  แจกเมล็ดพันธุ์ มีผู้เชี่ยวชาญจากโครงการหลวงดอยตุงมาให้ความรู้  ปราชญ์ชาวจีนมาอบรมแนะนำ และส่งผู้นำหมู่บ้านไปดูงานที่ประเทศบาหลี  ให้ค่าเสียเวลาไร่ละ ๑๐๐๐  บาท  และถ้าหากผลผลิตไม่ถึง ๕๐๐ กก./ไร่  โครงการยินดีจ่ายข้าวให้ทดแทนตามจำนวน

           ความเชื่อของชนเผ่าชาวเขายังเชื่อว่า “ห้ามขุดที่ทำกินจะทำให้ผิดผีผิดประเพณี” โครงการจึงมีกุศโลบาย “แจกหมูฟรีให้สำหรับเลี้ยงผี”  ในวันสำคัญคือวันสมเด็จย่า ๒๑ ตุลาคม ของทุกปี

            “โครงการปิดทองหลังพระ”  มีความสำคัญและความเป็นมาอย่างไร นักเรียนโรงเรียนบ้านเปียงซ้อกลุ่มที่เข้าค่ายสามารถอธิบายได้เป็นเหตุเป็นผลมากที่สุด  และสามารถอธิบาย “การขุดนาขั้นบันได” ได้อย่างภาคภูมิใจ  รวมทั้งมีความเชื่อและตระหนักต่อการปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

ร่องถนนคือเส้นทางทรงงานของสมเด็จพระเทพฯ

คุณจอห์นและครูโจ

ภาพจากเว็ปโรงเรียน

บ้านพัก (เจ้าหน้าที่)คนปิดทองหลังพระ

หมายเลขบันทึก: 425126เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2011 20:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

เห็นภาพชัดเจน ครับ ขอบคุณพี่คิมครับ

การทำนาขั้นบันไดเป็นการช่วยกันการพังทลายของดินด้วยนะคะ

ภาพสวยและได้ประโยชน์สูงสุดสำหรับคนที่อยู่บนที่สูง

โครงการนี้เป็นโครงการในพระราชดำริที่ทรงมองเห็นการณ์ไกลดีจริงเลย...ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

...นอกเรื่องนิ๊ด..ขำเรื่องปิดทองหลังพระดีกว่าปิดทองก้นพระ...คิดแล้วนั่งยิ้มอยู่นะนี่

สวัสดีค่ะ

ขอขอบพระคุณ Ico24 krugui Chutima และ Ico24 พระมหาแล อาสโย ขำสุข.

ที่กรุณามามอบดอกไม้ให้เป็นกำลังใจค่ะ

สวัสดีครับ

  • ขอบพระคุณสำหรับมิตรภาพและกำลังใจตลอดมา
  • ระลึกถึงเสมอ
  • โชคดีมีสุขนะครับ
  • เยี่ยมมากเลยครับพี่คิม
  • ถั่วพี่ครูคิมผมเอาไปฝากชาวบ้านหลายหมู่บ้านแล้วครับ
  • พี่คิมครับ
  • น้ำในบ่อพอเลี้ยงนาขั้นบรรไดได้ไหมครับ

เข้ามาลงทะเบียนเรียนต่ออีกค่ะ

ขอบคุณข้อมูลดีๆ ที่ทำให้ได้เห็นการทำงาน

ของกลุ่มปิดทองหลังพระ เพื่อพัฒนาชาติตามโคงการพระราชดำริค่ะ

เป็นเรื่องที่น่าชื่นชมจริงๆค่ะ..พี่คิม

เหมือนยอดดอยแต่ละลูก  ไม่มีต้นไม้ใหญ่เลยนะคะคุณครู

สวัสดีค่ะพี่ครูคิม

  

     มาชมธรรมชาติงามๆ โครงการดีๆค่ะ

     นาขั้นบันได ได้พัฒนาที่ทำกิน

     ขอบคุณสำหรับความรู้ที่แบ่งปันค่ะ

     ชอบภาพนี้ค่ะพี่คิม

  

    ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะต้นกล้า

พี่คิมเขียนบันทึกแล้วเตลิดเลยค่ะ  เพิ่งจะเข้ามาติดตามตอบเม้นท์เป็นเรื่องเป็นราววันนี้เองค่ะ  ไม่ใช่อะไรหรอกนะคะ "มีหนังสือดีน่าอ่าน" หลายเล่มค่ะ เลยมุ่งจดจ่ออยู่กับหนังสือเสียมากกว่า

สวัสดีค่ะkrugui Chutima

ถ้าจะให้ดีต้องไปชมหน้าฝนที่เขาทำนากัน  ดังภาพข้างล่างคงจะเป็นบรรยากาศที่สวยงามมากนะคะ

ปิดตรงไหนก็ทองค่ะน้องรัก

สวัสดีค่ะKRUJOY (ครูจ่อย)

พักผ่อนหายเหนื่อยหรือยังคะ   ที่กาฬสินธ์อากาศคงเริ่มร้อนแล้วนะคะ

ขอขอบคุณที่แวะมาติดตามอ่านเรื่องเล่าค่ะ

เห็นแล้วสวยงามดีจัง

แต่ว่าเหมือนจะแล้งไปหน่อย

อยากได้แบบป่าเขียวขจีมากกว่า

ถ้าเป็นไปได้

สวัสดีค่ะน้องขจิต ฝอยทอง

ดีแล้วหละฝากไปให้ขยายพันธุ์กันเยอะ ๆ อาจารย์แฮนดี้ก็อยากได้  ยังไม่มีให้เลยค่ะ  เพราะที่มีอยู่มันเก่าเกินไป  กลัวไม่งอก

สระน้ำที่เห็นในภาพลึกมาก  แต่เขามีหลายร้อยสระค่ะ  เพียงแต่สงสัยว่าผืนยางพาราที่รองก้นบ่อนำเข้าจากประเทศจีน  มีอายุการใช้งานหลายสิบปี  สงสัยว่ามันจะย่อยสลายไหมนั่น

สวัสดีค่ะอาจารย์mee_pole

การเล่าในบันทึกนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่มีโอกาสไปเรียนรู้เพียงครึ่งวันเองค่ะ  กำลังตั้งหลักว่าจะกลับไปเรียนรู้อีกค่ะ  เพราะยังมีสิ่งหลงเหลือให้เก็บเกี่ยวอีกมากมาย

การไปจัดค่ายครั้งนี้คุ้มค่าทั้งสองฝ่ายค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์กุลมาตา

แค่เพียงได้ไปเห็นไปชม  ก็ชื่นอกชื่นใจค่ะ  ปิดทองหลังพระ...มีคุณค่าและความหมายที่เป็นอมตะค่ะ

ถ่ายภาพมามากมาย  ยังมีภูเขาที่โอบล้อมลิบลับอีกหลายพันลูกค่ะ  และอีกไม่กี่ก้าวก็เป็นเขต สปป.ลาวค่ะ

สวัสดีค่ะnamsha

ต้นไม่ใหญ่แทบไม่เหลือค่ะ  ผู้ที่ได้ประโยชน์การนำต้นไม้ใหญ่ไปใช้ไม่ใช่ชาวเขาที่อยู่บนดอยหรอกนะคะ

ทำให้พวกเขาทำไร่เลื่อนลอยไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีการทำนาขั้นบันไดนี่แหละสามารถแก้ปัญหาที่วิกฤติจากธรรมชาติได้

สวัสดีค่ะถาวร

ขอบคุณค่ะ  ที่บอกว่าชอบ

เพื่อแสดงให้เห็นว่าไม่เอาภาพของคนอื่นมาลงบล็อก  นี่คะ  ถ้าเราไปฤดูทำนา เราก็จะได้เห็นภาพสดชื่นกว่านี้นะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์โสภณ เปียสนิท

เช่นกันค่ะอาจารย์ แต่คงรออีกระยะยาวค่ะ

ป่าเหลืออยู่เท่าที่เห็นในภาพ  เพราะเป็นป่าช้าของชาวเขาเผ่าลั๊วะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท