PMQA


PMQA หมวด 2

หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์

2.1 การจัดทำยุทธศาสตร์

ก.   กระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์

(1) ส่วนราชการมีกระบวนการในการวางแผนยุทธศาสตร์โดยรวมอย่างไร ให้ระบุ

                   - ขั้นตอนและผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญ

                   - กรอบเวลาที่ใช้ในการวางแผนระยะสั้นและระยะยาว และเหตุผลที่ใช้ในการกำหนดกรอบเวลาเช่นนั้น

                   - แสดงให้เห็นถึงกิจกรรมในกระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับกรอบเวลาที่กำหนดไว้

แนวทางการดำเนินการ

1. การกำหนดยุทธศาสตร์ต้องมีความชัดเจน

1.1 Strategic Analysis

                    1.2 Strategic Direction Setting

                    1.3 Strategy Development

                    1.4 Strategy Communication and Translation

2.  ผู้บริหาร บุคลากรภายในองค์กร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ควรเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ

3.  การกำหนดเป้าประสงค์เชิงกลยุทธ์ตามแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว ควรได้รับการทบทวนเป็นประจำทุกปี

  1.  กำหนดกรอบระยะเวลาที่ใช้ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์อย่างชัดเจน ล่วงหน้า
  2.  นำข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลตามยุทธศาสตร์ ไปใช้ปรับปรุงกระบวนกาวางแผนยุทธศาสตร์ให้เหมาะสมต่อไป

(2) ส่วนราชการได้นำปัจจัยต่อไปนี้มาประกอบการวางแผนยุทธศาสตร์อย่างไร

                    - ความต้องการ ความคาดหวัง ทั้งระยะสั้นและระยะยาวของผู้รับบริการ

                    - สภาพการแข่งขันทั้งภายในและภายนอกประเทศของส่วนราชการ

                    - นวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางด้านเทคโนโลยีและด้านอื่น ๆ

                    - จุดแข็งและจุดอ่อน รวมถึงทรัพยากรบุคคล และทรัพยากรอื่น ๆ

                    - การศึกษาวิเคราะห์ถึงโอกาสในการปรับเปลี่ยนทรัพยากรที่มีอยู่ไปใช้กับบริการ หรือกิจกรรมที่มีความสำคัญกว่า

                    - ความเสี่ยงในด้านการเงิน สังคมและจริยธรรม กฎหมาย ข้อบังคับ และด้านอื่น ๆ

                    - การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจระดับประเทศหรือระดับโลก

                    - ลักษณะเฉพาะของส่วนราชการ

                    - จุดแข็ง จุดอ่อนของส่วนราชการหรือองค์กรอื่นที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกัน

แนวทางการดำเนินการ

  1. รวบรวมและวิเคราะห์ปัจจัยต้องครอบคลุมทั้งภายในและภายนอก
  2. องค์กรต้องมั่นใจว่าข้อมูลปัจจัยต่าง ๆ มีระบบการจัดเก็บและการนำมาใช้ที่เชื่อได้และเป็นปัจจุบัน
  3. การวิเคราะห์ข้อมูลสามารถทำได้หลายวิธี เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและได้ประโยชน์

ข. เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์

(3)     – ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์หลักมีอะไรบ้าง

- ระบุเป้าหมายและระยะเวลาที่จะบรรลุเป้าประสงค์นั้น

          - ระบุลำดับความสำคัญของเป้าประสงค์เหล่านั้น

(4)     - ในการกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์หลัก ส่วนราชการได้ให้ความสำคัญกับความท้าทายต่อองค์กรที่ระบุไว้ในลักษณะสำคัญอย่างไร

          - ส่วนราชการมั่นใจได้อย่างไรว่า ประเด็นยุทธศาสตร์ เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์หลัก

                   * มีความสมดุลของโอกาสและความท้าทายในระยะสั้นและระยะยาว

                   * มีความสมดุลของความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญทั้งหมด

แนวทางการดำเนินการ

  1. กำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน แลชะกำหนดค่าเป้าหมายสำหรับตัวชี้วัดแต่ละตัว
  2. ควรพิจารณาปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้ไม่บรรลุเป้าประสงค์ที่ต้องการ
  3. ควรนำผลการดำเนินการของหน่วยงานเทียบเคียงมาประกอบ
  4. การกำหนดระยะเวลา ควรสอดคล้องกับเวลาในการทบทวนผลการดำเนินการของผู้บริหาร
  5. ต้องคำนึงถึงการตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม

2.2 การถ่ายทอดกลยุทธ์หลักเพื่อนำไปปฏิบัติ

ก.   การถ่ายทอดแผนปฏิบัติการไปสู่การปฏิบัติ

          (5) ส่วนราชการมีวิธีการอย่างไรในการ

                   - ถ่ายทอดแผนปฏิบัติการเพื่อนำไปปฏิบัติให้บรรลุเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์และกลยุทธ์หลัก

                   - จัดสรรทรัพยากรเพื่อให้มั่นใจว่าสามารถปฏิบัติตามแผนได้สำเร็จ

                   - ทำให้ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแผนมีความยั่งยืน

แนวทางการดำเนินการ

1.  ภายหลังจากการจัดทำยุทธศาสตร์ กำหนดกลยุทธ์ และแผนที่ยุทธศาสตร์

1)    การพิจารณาและวิเคราะห์โครงการต่าง ๆ จะต้องพิจารณาทั้งในด้านผลผลิต ความเสี่ยง ความเกี่ยวเนื่องกับโครงการอื่น ๆ และงบประมาณที่ต้องใช้

2)    พิจารณาว่าจะต้องมีการปรับเปลี่ยน หรือปรับปรุงกระบวนการในการดำเนินงานในบ้าง

3)    ควรต้องมีการพิจารณาว่าตำแหน่งงานไหนเป็นตำแหน่งงานหลัก

4)    จะต้องมีการวิเคราะห์ว่าการที่จะบรรลุเป้าประสงค์แต่ละประการ อะไรคือความรู้ที่องค์กรควรจะมี มีอยู่แล้วหรือไม่

5)    ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าอะไรคือวัฒนธรรมหรือค่านิยมในการทำงานที่ต้องการ

6)    ผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมี่ข้อมูลหรือสารสนเทศใดบ้างที่จะช่วยในการตัดสินใจ

  1. 2.      การจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้บรรลุความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ คำนึงถึง

- ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง

- ความสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการที่สำคัญ

- ความเชื่อมโยงกับแผนหลักด้านทรัพยากรบุคคล

(6)     - แผนปฏิบัติการที่สำคัญของส่วนราชการมีอะไรบ้าง

              - หากมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการให้บริการ รวมทั้งผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่วนราชการจะดำเนินการอย่างไรเพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

แนวทางดำเนินการ

     ใช้การบริหารความเสี่ยงเข้ามาร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการ

     - ระบุปัจจัยเสี่ยง วิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยง

     - กำหนดหลักเกณฑ์ประเมินความเสี่ยง

     - วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง

     - จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง

     - ระบุผู้รับผิดชอบ

     - จัดสรรทรัพยากรที่เหมาะสม

(7)    -  แผนหลักด้านทรัพยากรบุคคลที่ตอบสนองเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ กลยุทธ์หลัก และแผนปฏิบัติการมีอะไรบ้าง

แนวทางการดำเนินการ

              1. การจัดทำแผนพัฒนาทรัพยากรบุคคล

              2.  การติดตามผลของการปฏิบัติตามแผนทรัพยากรบุคคล

(8) – ตัวชี้วัดสำคัญที่ใช้ติดตามความก้าวหน้าของแผนปฏิบัติการมีอะไรบ้าง

              - ส่วนราชการมีวิธีการอย่างไรในการทำให้ระบบการวัดผลสำเร็จของแผนปฏิบัติการโดยรวมเสริมให้ส่วนราชการมุ่งไปในแนวทางเดียวกัน

แนวทางการดำเนินการ

              1.  กำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญที่ใช้ในการติดตามความก้าวหน้าของแผนปฏิบัติการ

              2. คาดการณ์ผลการดำเนินการเพื่อกำหนดค่าเป้าหมาย

              3.  กำหนดค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด

              4.  แปลงเป้าประสงค์ระดับองค์กร ไปสู่เป้าประสงค์ระดับหน่วยงาน และระดับบุคคล

     ข.  การคาดการณ์ผลการดำเนินการ

(9)        - เป้าหมายการดำเนินการของแผนปฏิบัติการตามตัวชี้วัดที่ระบุในข้อ 2.2 ก. (8) มีอะไรบ้าง

                 - เป้าหมายการดำเนินการของแผนปฏิบัติการเป็นเช่นใดเมื่อเปรียบเทียบกับ

                        * เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์

                        * ผลการดำเนินการที่ผ่านมา

                        * ผลการดำเนินการที่คาดไว้ของคู่แข่ง

                        * ระดับเทียบเคียงที่สำคัญ (Benchmark)

แนวทางการดำเนินการ

              1.  กำหนดตัวชี้วัดที่สำคัญที่ใช้ในการติดตามความก้าวหน้าของแผนปฏิบัติการ

              2.  เมื่อได้เป้าประสงค์และตัวชี้วัดในระดับองค์กรแล้ว ต้องมีการแปลงเป้าประสงค์และตัวชี้วัดไปสู่เป้าประสงค์ของแต่ละหน่วยงาน และถึงระดับบุคคล

              3.  การถ่ายทอดตัวชี้วัดและเป้าหมายระดับองค์กรสู่ระดับบุคคล (Individual Scorecard)

                        1) การจัดทำแผนที่ยุทธศาสตร์ระดับสำนัก/กอง ให้สอดคล้องกับระดับองค์กร

                        2) สำนัก/กอง กำหนดตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และเกณฑ์การประเมินผลสำเร็จ

                        3) จัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ระดับสำนัก/กอง

                        4) ระบุผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน

                        5) สำนัก/กอง ชี้แจงรายละเอียดคำรับรองฯ เพื่อให้บุคลากรได้รับทราบและร่วมมือกันทำงานให้บรรลุเป้าประสงค์

              4. ควรมีการคาดการณ์ผลการดำเนินการในอนาคต เปรียบเทียบคู่แข่งขัน คู่เทียบเคียง

 

หมายเลขบันทึก: 425352เขียนเมื่อ 10 กุมภาพันธ์ 2011 21:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 18:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท