จังหวัดสุรินทร์เร่งฟื้นฟูอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม โดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ สุรินทร์


ฟื้นฟูอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
 
ข่าวสารหม่อนไหมสุรินทร์

 

จังหวัดสุรินทร์เร่งฟื้นฟูอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 

     นายพิชัย เชื้องาม ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ (สุรินทร์)  พร้อมด้วยนักวิชาการเกษตร ร่วมประชุมสมาชิกผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านโนนสง่า อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ และเลือกตั้งคณะกรรมการกลุ่ม เพื่อรื้อฟื้นและพัฒนาอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหม เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา

          จังหวัดสุรินทร์ มีวิสัยทัศน์การพัฒนาจังหวัดไว้ว่า “เกษตรอินทรีย์เป็นเลิศเปิดประตู่สู่สากล” โดยมียุทธศาสตร์ของจังหวัด 5 ด้าน คือ 1.ด้านพัฒนาเกษตรอินทรีย์    2.ด้านการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ 3.ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 4.ด้านการพัฒนาสังคม 5.ด้านความมั่นคงชายแดน

          ในยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มศักยภาพการแข่งด้านเศรษฐกิจได้กำหนดกลยุทธ์ “การส่งเสริมการผลิตสินค้าผ้าไหมสินค้าชุมชนและสินค้าท้องถิ่น ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตรงกับความต้องการของตลาดด้วยกระบวนการเครือข่ายองค์ความรู้ ”        เป็นกลยุทธ์หลักในการพัฒนาหม่อนไหมของจังหวัด

          จังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดที่ผลิตผ้าไหมชั้นดีและมีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 10,198 ราย พื้นที่ปลูกหม่อน 5,619 ไร่ เฉลี่ย 2 งานต่อราย ผลิตเส้นไหมปีละ 55,524 กิโลกรัม เฉลี่ย 5.44 กิโลกรัมต่อราย นอกจากนี้ยังมีเกษตรกรทอผ้าไหมมากถึง 16,065 ราย สามารถผลิตผ้าไหมได้ 917,194 เมตร ต่อปี เฉลี่ย 57 เมตรต่อรายต่อปี

          ดังนั้น จังหวัดสุรินทร์ โดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (สุรินทร์) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้มีนโยบายในการฟื้นฟูอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ให้มีคุณภาพ   และยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายกรมหม่อนไหม ในปี 2554 นี้ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ สุรินทร์ ได้รับ งบประมาณพัฒนาจังหวัด 2 โครงการ คือ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเลียงไหม และโครงการพัฒนาคุณภาพเส้นไหมหัตถกรรมจังหวัดสุรินทร์ เกษตรกรเข้าร่วมโครงการละ 200 ราย รวม 400 ราย งบประมาณ 1,583,100 บาท โดยมี กิจกรรมฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร ,สนับสนุนห้องเลี้ยงไหมแบบประหยัด และเครื่องสาวแก่เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ ซึ่งกำหนดจัดอบรมระหว่าง วันที่ 7-26 กุมภาพันธ์ 2554 ณ หมู่บ้านซึ่งขณะนี้ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ สุรินทร์ ได้จัดทำประชาวิจารณ์คัดเลือกเกษตรกรและ หมู่บ้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว

          นอกจากนี้ยังได้รับความเห็นชอบให้ดำเนินโครงการ “จัดตั้งศูนย์วิชาการและเทคโนโลยีผลิตสินค้าผ้าไหม” ซึ่งเป็นงบพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (กลุ่มนครชัยบุรินทร์) จำนวน     15 ล้านบาท ซึ่งได้ประชุมหารือกับศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ ที่เกี่ยวข้องในกลุ่มจังหวัด (นครราชสีมา,ชัยภูมิ,บุรีรัมย์,สุรินทร์) เพื่อจัดทำกิจกรรมดังกล่าว เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2554 ณ ศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ สุรินทร์ เพื่อขับเคลื่อนงานหม่อนไหมและเร่งฟื้นฟูอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมของพี่น้องเกษตรกรอย่างจริงจัง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาอาชีพความเป็นอยู่ของเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอย่างยั่งยืน ตามนโยบายของกรมหม่อนไหมต่อไป

----------------------------------------------------------------------------------

     ที่ปรึกษา : นายพิชัย เชื้องาม ผู้อำนวยการศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติฯ สุรินทร์

     บรรณาธิการ : นายวิจิตร ชูวา นักวิชาการเกษตรชำนาญการ

     ผู้พิมพ์/ออกแบบ : นางสาวกชพร สำรวมจิตต์ เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพผ้าไหมตรานกยูงพระราชทาน

หมายเลขบันทึก: 426689เขียนเมื่อ 17 กุมภาพันธ์ 2011 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

หากมีตลาดรองรับสินค้าเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หม่อนและไหมมากกว่านี้ก็คงดี ชาวบ้านจะได้มีกำลังใจและกำลังการผลิตที่มากขึ้น

แล้วตอนนี้ กลุ่มนครชัยบุรินทร์ ดำเนินการไปถึงไหนแล้วครับ มีเกษตรกรและผู้ประกอบการด้านหม่อนไหมอย่างไรบ้างครับ

 ขอให้ทางศูนย์ประสบความสำเร็จในการส่งเสริมสนับสนุนการเลี้ยงไหมต่อไปคะ


สหกรณ์การเกษตรปราสาท จำกัด

มีความสนใจส่งเสริมเรื่องการปลูกหม่อนกินผลครับ ขอข้อมูลเพิ่มเติมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท