การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ


การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ

 

                                                                          โดย  สุจิตรา  จินดานิล

                                                       นักศึกษา ป.บัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา

                                                                              รหัส 5346701078

          การจัดการ หมายถึง กระบวนการกิจกรรมหรือการศึกษาเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ในอันที่จะเชื่อมั่นได้ว่ากิจกรรมต่างๆ ดำเนินไปในแนวทางที่จะบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่ในอันที่จะสร้างและรักษาไว้ซึ่งสภาวะที่จะเอื้ออำนวยต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ด้วยความพยายามของกุล่มบุคคล (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2540 : 110)

           นวัตกรรมมีรากศัพท์มาจากคำว่า in + novaare = tovenew, to modify แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า “ทำใหม่, เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่เข้ามา”

         Innovation จึงหมายถึง การทำสิ่งใหม่ๆ ทำขึ้นมาใหม่ ซึ่งการนำสิ่งใหม่ๆ อาจเป็นแนวความคิด  การปฏิบัติหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยให้ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

        สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้

        การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ  จึงหมายถึง การรวบรวมคน เครื่องคอมพิวเตอร์ ความคิด และกิจกรรมต่างๆ เพื่อประมวลผลข้อมูลให้ออกเป็นสารสนเทศที่ต้องใช้ในองค์กรทุกระดับของการจัดการภายในองค์กร

     นวัตกรรมและสารสนเทศ  จึงมีความสำคัญเป็นเครื่องมือในการบริหารงานการศึกษา  ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล  และเป็นหน้าที่รับผิดชอบของผู้บริหารโรงเรียนต้องพัฒนานวัตกรรมและสารสนเทศ  เพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจในบริหารจัดการศึกษา ซึ่งสามารถสรุปถึงประโยชน์ของ  

นวัตกรรมและสารสนเทศ ได้ดังนี้     

           1. ช่วยให้ติดต่อสื่อสารระหว่างกันอย่างสะดวกรวดเร็ว โดยใช้โทรศัพท์  คอมพิวเตอร์หรือในรูปของ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ

            2. ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาล ซึ่งผลิตออกมาในแต่ละวัน

            3. ช่วยให้เก็บสารไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

            4. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานทั้งของบุคคล และในภาพรวมขององค์กร                  

             5. ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารนิเทศ

            6. อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงสารนิเทศดีกว่าสมัยก่อน ทำให้ผู้ใช้สารสนเทศมี ทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า

            8. ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทางระหว่างประเทศ

 

---------------------------------------------------------------------------

อ้างอิง

"สารสนเทศ.".  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จากhttp://www.bcoms.net/temp/lesson1.asp

ศิวนิต อรรถวุฒิกุล. “ การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ” [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก

                http://www.pck1.go.th/bkthonburi/data/Innovation.pdf

พิแชนทร์ จันทร์ปุ่ม. “ การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ” [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก

                 www.snru.ac.th/tblog/wp-content/uploads/2010/03/Week2.ppt

หมายเลขบันทึก: 426923เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2011 13:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2012 14:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แวะมาเยี่ยมชมแล้วครับ ขอเป็นกำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท