เดินทางไกลไปเปียงซ้อ (ประวัติศาสตร์ชุมชน คนลัวมาจากไหน) 5.


เด็กเกิดความภาคภูมิใจในชาติพันธ์ของความเป็นลัว

            ทุกเวทีที่ออกค่ายไร้กรอบแต่ไม่ไร้ใจ ของพวกเราชาวgotoknow   กิจกรรมที่ผู้เขียนถนัดคือการสืบค้นประวัติศาสตร์ชุมชน ที่โรงเรียนเปียงซ้อก็เช่นกัน  หลังจากน้องหนานเกียรติได้สอนให้เด็กคิดในการตั้งคำถามในการออกเก็บข้อมูลชุมชน พร้อมทั้งเรื่องที่เด็กสนใจในชุมชน ก็ได้ประเด็นในการเก็บข้อมูล 4 กลุ่ม 

คือประวัติศาสตร์ชุมชน

ประเพณีวัฒนธรรมชุมชน

อาชีพชุมชน

ป่าชุมชน

และโครงการปิดทองหลังพระ

 

กำลังใจคนทำงานสัมผัสได้ด้วยความจริงใจ

         ผู้เขียนลงพื้นที่ไปสังเกตุการณ์ ในการเก็บข้อในการที่นักเรียนออกไปสัมภาษณ์  ในชั้นต้นเด็กได้ข้อมูลจากการบอกเล่าความเป็นมา ของชุมชนเปียงซ้อ  แต่ยังไม่ครอบคลุม จึงให้เด็กนัดผู้เฒ่าหรือผู้ที่พอจะเล่าความเป็นมาให้สืบค้นเพิ่มเติม 

          ณ.บ้านผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านที่นัดกันไว้ ได้ข้อมูลเรื่องชื่อบ้านเปียงซ้อ มาจากคำว่า"เปียง หมายถึงที่ราบ  ส่วน ซ้อ คือต้นไม้ใหญ่ที่ขึ้นอยู่ในเปียง แต่ไม่สามารถสืบถามค้นเพิ่มจากผู้ช่วยได้ แต่ได้บอกเบาะแสเพิ่มเติมว่าข้างโรงเรียนเดิมมีวัดอยู่ และมีต้นไม้ใหญ่ที่เป็นที่เสี่ยงทายกราบไหว้บูชาของคนในชุมชน ทุกปีจะมีการจัดงานบวงสรวง  ให้ทวดที่นี้ 

ผู้เฒ่าในบ้านเปียงซ้อ

      กลุ่มประวัติศาสตร์จึงได้ออกจากหมู่บ้านมาดูของจริง ณ.บริเวณที่ศักดิ์สิทธิ์ ภานุเดช หัวหน้ากลุ่ม บอกเล่าให้ทุกคนเงียบห้ามใช้เสียงรบกวนความสงบของทวด ไกล้ๆกับที่ศักดิ์สิทธิ์ มีอาศรมอยู่ ได้รับการบอกเล่าว่ามีพระอยู่ หนึ่งองค์ ผู้เขียนจึงมีความคิดให้เด็กได้ไปกราบพระ เพื่อเป็นศิริมงคล กว่าจะขึ้นจากห้วยได้ก็ทุลักทุเลถึงขั้นหอบเหนื่อย เจ้าโต้พลัดตกจากการปีนภู หัวหน้ากลุ่มตามลงไปอุ้มขึ้นมา ผู้เขียนเป็นผู้ใหญ่เพียงคนเดียว แต่ไม่สมารถลงไปอุ้มเจ้าโต้ขึ้นมาได้ เห็นน้ำใจของเด็กแล้วนึกอายในหลายสิ่งหลายอย่างที่ยังหยาบในชีวิตจิตใจ  

เดินทางหลายภูเพื่อสืบค้นประวัติศาสตร์ โตโต้พลัดตกภู มีโชคในเคราะห์ ไม่ต้องปีนขึ้นเอง

           นำเด็กเข้าไปในอาศรมบอกความประสงค์พร้อมทั้งแนะนำตัว ว่าเป็นใครมาจากใหนมาทำอะไร ได้คุยกับพระอาจารย์ ทราบว่าท่านเป็นนักพัฒนา และทำงานเครือข่ายองค์ชาวบ้านมาแทบทุกเรื่อง พร้อมทั้งถามคราวถึงคนทำงานทางภาคใต้  ซึ่งผู้เขียนก็ได้บอกเล่าให้ฟังยังมีใครกลุ่มใหนที่ยังเคลื่อนไหวอยู่ 

          จากนั้นพระอาจารย์ ได้บอกกรุณา เล่าความเป็นมาของ"ลัว"เมืองน่านให้ฟังว่าเป็นใครมาจากไหน พร้อมทั้งแนะนำให้ไปอ่านงานวิจัย ของอาจารย์ "ชลธิชา สัตยารักษ์" แห่งมหาวิทยาลัยประสานมิตร

พระอาจารย์ต้นบุญ แห่งอาศรมเปียงซ้อ

        จากนั้น ท่านสจ.น้อยก็เข้ามาคุยมาถามก็ได้ความว่า เคยขับเคลื่อนงานภาคประชาชน ร่วมกับคุณกำหราบ พานทอง เอกชัย อิสระทะ แห่งสงขลา ซึ่งปัจจุบันก็ยังขยันขันแข็งในเรื่องชุมชนชาวบ้าน สจ.น้อยเรืองเดช จอมเมือง ได้เล่าประวัติลัวให้เด็กฟังว่า 

       "ลัวคือคนถิ่นที่อพยพมาจากทางลาวทางพม่า มาตั้งถิ่นฐานเป็นเจ้าของบ้านเกิดเมืองนอนของอาณาจักรน่าน  ลัวเป็นพี่ ญานเป็นน้อง ลื้อเป็นหลาน ขอให้ลูกหลานลัวภูมิใจในความเป็นลัว ...คนลัวรูปลักษณ์ไม่หล่อ ตัวดำ ม่อต้อ เก่งในการต่อสู้ มีคาถาอาคม  ชอบสุราและสตรี อาณาจักรจึงล่มสลาย ด้วยสุราและสตรี ขุนวิมังขระ ผู้นำลัว ต้องพ่ายแพ้แก่พระนางจามเทวี จึงสลายอาณาจักรต้องหนีตายย้ายอพยพไปอยู่ในหลายจังหวัด

ลุยกันเต็มที่ค้นประวัติ

         สุดท้าย สจ.น้อยได้ให้ข้อคิดว่า ลูกผู้ชายลัว อย่ายอมพ่ายแพ้แก่สตรีและสุรา  ด้วยความสนุกที่ได้รับรู้เรื่องราวของพวกเขา เด็กเกิดความภาคภูมิใจในชาติพันธ์ของความเป็นลัว  ของความกล้า ได้ข้อมูลมารวบรวมเป็นการสืบค้นด้วยตนเองที่มีคุณค่า ทางประวัติศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องของตัวเอง"ลัว เมืองน่านบ้านเปียงซ้อ"

ต่างศาสนา ต่างลัทธิ ต่างความเชื่อ ล้วนนำไปสู่การปฎิบัติตนเป็นคนดี

ฟืนเป็นปัจจัยในการอยู่รอดให้พ้นฤดูกาล

หมายเลขบันทึก: 427444เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2011 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

หวัดดีหัวเช้าค่ะพี่บัง

บายดีนะคะ งานยุ่งหม้าย บันทึกนี้มีมุมชาติพันธุ์น่าสนใจค่ะ

เช้านี้รีบแว้บมาทายทักก่อนจะต้องไปประจำการบนเขาหลาว

 

 

 

สวัสดีครับปู โดนอากาศเมืองน่าน ยังไอไม่หายเลย

ว่าแต่ปูไปทำอะไรบนเขา บนควน

วันนี้ที่พงงา คนปากยูนไป ดะวะห์ที่กั่วทุ่ง  มีคนชวนด้วยแต่ติดงานสวัสดิการชุมชน

สวัสดีค่ะ

ไม่เห็นรู้เรื่องเจ้าโต้ตกเขา ฮา ๆ ๆ น่าจะผอมได้นะ

วันนี้ไปทำงานกับน้องต้นกล้า สนุกมากค่ะ ได้ขับรถปลูกข้าวดำนาด้วย

สวัสดีครับเกลอ

ยุ่งๆอยู่กับการประชุมสามัญประจำปีของกลุ่มเกษตร

แต่ก็ผ่านการประชุมเรียบร้อยดี ไม่มีข้อสังเกตุทางเงินของคณะทำงาน จาก สำนักผู้ตรวจบัญชี  โชคดีไป  วันนั้นเจ้าโต้รองเท้าหลุด พลัดตามลงไป  ภาณุเดชตามลงไปเก็บทั้งคนทั้งรองเท้า

สวัสดีค่ะพี่หวอหญ่า...

ตามมาเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชุมชนค่ะ...^_^

เป็นอะไรที่ประทับใจ...นะคะ...ยังคิดถึงเปียงซ้ออยู่เลยค่ะ...:_)

สวัสดีน้องเทียนน้อย ประทับใจไข่ กับสะเดามากๆๆๆๆ

แต่อยากชิมส้มตำครูรรพล มากกว่า

อิอิอิ..ได้เลยค่ะ...เทียนน้อยมือโปรส้มตำ...:)

ไปค้นหาอ่านงานวิจัยของอาจารย ชลธิรา ได้ความรู้มากมาย เสียดายที่ไม่สามารถนำมาบันทึกได้หมด เพราะยาวเกินไป  อ่านแล้วเข้าคนลัวะมาก เขาคือเจ้าของประเทศ แนะนำให้อ่าน นวนิยาย พระนางจามเทวี หรือเรื่องเจ้าจันทร์ ผมหอม จะเข้าใจวิถีชุมชนคนภูดอยได้ดี

ผมก็เป็นคนลัวะเมืองน่าน ยายผมเป็นคนเปียงซ้อ ผมเองก็พยายามศึกษาที่มาที่ไปของชาติพันธุ์ลัวะอยู่เหมือนกัน และประทับใจกับความตั้งใจของผู้เขียนที่ทุ่มเท ทั้งแรงกาย แรงใจ ในการค้นหาข้อมูล เพื่อเผยแพร่ซึงอ่านแล้วก็เกิดความประทับใจเป็นอย่างยิ่งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท