289 : การจำลองการทรงกลดแบบ ซันด็อก ตอนที่ 1


 

 

การทรงกลดแบบซันด็อก (sundog) เกิดจากการที่แสงหักเหผ่านผลึกน้ำแข็งรูปแผ่น (plate crystal) ที่วางตัวในแนวนอน

 

 

แต่จะเกิดอะไรขึ้น หากระนาบของแผ่นเอียงไปมาได้?

 

ผมทดลองใช้โปรแกรม HaloPoint 2.0 จำลองเหตุการณ์ โดยใช้เงื่อนไขดังนี้ครับ

ให้เส้นสีแดงแทนแนวดิ่งตั้งฉากกับพื้นโลก

ให้เส้นประสีฟ้าตั้งฉากกับระนาบผลึก

มุมระหว่างเส้นแดงกับเส้นประสีฟ้า คือ มุมเอียงของผลึก

 

 

ในการจำลองเหตุการณ์ สมมติว่ามุมเอียงกระจายแบบเกาส์ (Gaussian distribution)

โดย A เป็นค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation)

กำหนดมุมเงยของดวงอาทิตย์ 10 องศา

 

ได้ผลดังนี้ครับ

 

 

เริ่มพอเข้าใจแล้วว่า เหตุผลหนึ่ง (อาจมีเหตุผลอื่น) ที่ทำให้ ซันด็อก (sundog) มีลักษณะเป็นแถบบางๆ ในแนวดิ่ง

เกิดจากการที่ผลึกจำนวนมากในเมฆเอียงแกว่งกวัดไม่อยู่ในระนาบขนานกับพื้นนั่นเอง!

 

ลองดูตัวอย่างภาพซันด็อกที่เคยมีผู้ถ่ายไว้ได้ แล้วจินตนาการถึงเงื่อนไขที่ทำให้เกิดภาพเหล่านี้

 


ที่มา

 


ที่มา


คำสำคัญ (Tags): #halo#simulation#sundog
หมายเลขบันทึก: 427879เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2011 00:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ

แวะมาบอกว่า ได้เล่าเรื่องราวของอาจารย์ให้นอง "นุ้ย" ได้รับรู้แล้วนะครับ...

และยังมีความสุขกับการยึดโยงเรื่องท้องฟ้าผ่านความเป็นวิทยาศาสตร์และภูมิปัญญาของชาวบ้าน หากสักวันหนึ่งมีเวทีเสวนาทำนองนี้ขึ้นจริงๆ ผมจะไม่พลาดในการเข้าร่วมอย่างแน่นอน..

 

สวัสดีครับ อาจารย์พนัส

        ขอบคุณครับ หวังอย่างยิ่งว่า จะได้มีโอกาสไปเยี่ยมคารวะอาจารย์ที่มหาสารคามนะครับ ^__^

ขอบคุณครับ ตามมาดู ต้องลองของจริงมั่งแล้ว

ส่งรูปมาให้อาจารย์ครับ

พระจันทร์เต็มดวงวันมาฆบูชา ๒๕๕๔

ภาพเมฆ ไม่ค่อนเห็นบ่อยๆ เวลายามเย็นตอนฤดูร้อน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท